การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Day3 Mud Volcano เต้าหู้

บ่ายวันนี้เพจจะทำเต้าหู้ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมของเค้า แล้วก็สอนเราทำด้วย

ปกติจะเปิดเป็น workshopสอนให้เด็กๆทำ

เต้าหู้นี้เรียกว่าMud Volcanoเต้าหู้ หรือแปลว่า เต้าหู้น้ำโคลนภูเขาไฟ เพราะว่าน้ำที่เอามาต้มทำเป็นเต้าหู้นี้ต้องเอามาจากน้ำโคลนภูเขาไฟ ซึ่งบนภูเขาที่อยู่ใกล้ๆบ้านเพจมีบ่อน้ำนี้อยู่

เป็นของท้องถิ่นจริงๆ

IMG_3793.JPG

IMG_9198.JPG

เพิ่งรู้วันนี้ว่าทำเต้าหู้กันแบบนี้ ทำสดๆ กินสดๆ แล้วก็ได้น้ำเต้าหู้มากินด้วย

แล้วแต่ละขั้นตอนก็ต้องใช้แรงด้วยนะ คือเพจเป็นผู้หญิงที่แกร่งมากจริงๆ

ในขณะที่แม่สอนทำเต้าหู้อยู่นั้น เด็กๆเล่นต่อสู้กัน วิ่งทั่วห้อง

 

เมื่อทำเสร็จเพจก็ชวนถ่ายรูปหมู่ เก็บเป็นที่ระลึกว่าเคยมีชาวไทยมาทำเต้าหู้ที่นี่ด้วย

IMG_9193.JPG

แล้วก็ขับรถพาเราและลูกทั้งสามขึ้นเขาที่อยู่หลังบ้าน เพื่อไปดูที่มาของน้ำโคลนภูเขาไฟ

เหม่เหมร้องไห้ลั่นรถตลอดทาง เพราะอยากให้แม่กอด แต่แม่ต้องขับรถ

แม่กับพี่ชายก็พยายามร้องเพลงให้บรรยากาศมันครึกครื้น

ทุกคนร้องเพลง เหมเหมร้องไห้  นี่มันสถานการณ์ไรกัน

IMG_9203.JPG

พอมาถึงบ่อ mud vocalno ความรู้สึกเหมือนมาเดินสวนหย่อม เป็นสวนบนเขาที่สวยมากๆ มีบ่อน้ำ มีภูเขา และมีหมอก พวกเค้ามากันบ่อยมั้ยไม่รู้ มันดูชิลและมีความสุขมาก เด็กๆด้วย

พวกเราก็ถ่ายรูป เดินเล่นกันกับเด็กๆ

IMG_9218

ตามกำหดการที่เรนอธิบายวันแรก วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายแล้วที่เราจะได้อาศัยอยู่กับครอบครัวนี้ เวลา 4 คืนนี่มันผ่านไปเร็วขนาดนี้เลยหรอ

 

เพจเดินจูงเหม่เหม เป็นภาพที่น่ารักมาก เหม่เหมเดินเก่ง บางทีก็วิ่งนำแม่ไป

IMG_9233.JPG

เพจเรียกให้เราดู “look at my daughter, she’s so happy”

เป็นภาพตลกๆของเด็กตัวจิ๋วเก่งเกินอายุ วิ่งเร็วๆ แกว่งแขนข้างเดียว นั่นเป็นท่าวิ่งปกติของเหม่เหม

กลับมากินข้าวเย็น เจอสมาชิกอีกคนของบ้าน คืออาม่า อาม่าผู้ปลูกผักให้บ้านนี้กิน

คนที่บ้านนี้เยอะจริงๆ เราอยู่มาหลายวันยังเจอไม่ครบทุกคนเลย

เริ่มจะชินกับบรรยากาศกินข้าวของที่นี่ละ เรากินไปก็มองดูเหม่เหมซึ่งนั่งบนเก้าอี้เด็ก สามารถกินเองได้หมด ใช้ตะเกียบเขี่ยถั่วขึ้นมากินได้ แทะไก่ได้ เก่งกว่าเด็กไทยในอายุเท่ากัน

1.jpg.png

เรนพูดไว้ตั้งแต่วันก่อนว่าจะพาไปเดินตลาดนัดกลางคืน แต่ตลาดที่Fuliก็จะเล็กมาก มีร้านอยู่ 10ร้าน!! พอไปถึงสถานที่จริง โอว นี่เล็กกว่ารถเข็นขายของหน้าปากซอยบ้านเราซะอีก

ตลาดนี้อยู่หน้าสถานี Fuli มีอยู่ประมาณ 10ร้านจริงๆ แต่เรนก็บอกว่า มันมีแค่วันจันทร์ ถึงจะเล็ก แต่คนที่นี่ก็อยากมาเดินกันมาก เพราะเมืองมันเล็ก ไม่ค่อยมีไรมีตลาดนี้ก็น่าตื่นเต้นมากแล้ว

วันนี้มาพร้อมเพื่อนอีกคนของเนว ชื่อว่าแจคโก้ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่มีสำเนียงช้าๆ ช้ามากๆ เค้าบอกว่าพูดช้าๆเราจะได้เข้าใจ เพราะเค้าสอนภาษาอังกฤษให้เด็กไง เลยติดพูดช้าๆ

ต่อมาพวกเราก็ติดสำเนียงของแจ็คโก้ไปด้วยเลย ง่ายมากที่จะเลียบแบบ แค่พูดช้าๆยานๆยาวๆ ก็เหมือนแจ็คโก้แล้ว

… Veryyyyyy Goooood naaaaa…..

เรนพาเดินซื้อของกิน เช่น ลูกชิ้น หมึกย่าง ทาโกยากิ ฯลฯ แล้วจะหิ้วไปกินที่ร้านกาแฟของเนว ร้านเดิม

ร้านนี้น่าจะเป็นที่รวม ที่นั่งคุยของพวกเค้าเลยแหละ ต่อมาก็มีหมินจงและฝ่านฟ๊านมาร่วมกินด้วย

ฝ่านฟ๊านมาเร็วมาก เพราะโรงแรมของเค้าอยู่ถัดไป2ตึกเอง

 

แล้วคืนนี้ก็อีกยาวไกล แม้จะไม่มีกิจกรรมอะไรเป็นพิเศษ ก็ต้องมานั่งคุยกันจนดึกแล้วค่อยแยกย้าย

ชัยเอากีตาร์ของร้านเนวมาเล่น โชว์ทักษะการร้องเพลงและเล่นกีตาร์ไปพร้อมกัน

 

อยู่ๆก็คิดถึงไข่เอิน.. ใช่แล้ว ไข่เอินที่ดูแลพวกเราก่อนที่เราจะถูกส่งตัวมาให้เรนและคณะดูแลต่อ

พวกเรายังนึกถึงไข่เอินอยู่ เวลาไข่เอินยิ้มจะค่อยๆฉีกยิ้มช้าๆ จะเหมือนภาพ Slo-mo
แม้จะจากกันมา 3-4วันแล้ว ภาพ Slo-mo รายยิ้มนั้นก็ยังติดตาติดใจอยู่

เรนบอกว่า ไม่เคยรู้จักไข่เอินหรอก เพิ่งรู้วันที่เราจะนั่งรถไฟมา Fuli นี่แหละ เพราะไข่เอินต้องนัดแนะเวลาในการส่งต่อพวกเรา (แอบชื่นชมคนที่จัดการกำหนดการภาพรวมของเรานะ เค้าประสานงานส่งเราเป็นทอดๆไปเรื่อยๆ ไม่มีช่วงเวลาให้เคว้งคว้างเลย)

วันนี้เราได้รู้ว่า พวกเรนมีกรุ๊ปไลน์ ชื่อกรุ๊ปว่า “สวัสดีค่ะ” มีสมาชิก 7คน เอาไว้คุยเรื่องพวกเราสามคนโดยเฉพาะ คือไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่กับใคร ทุกความเคลื่อนไหวของเรา จะถูกแชร์ในกรุ๊ปนี้ตลอดเวลา

อย่างวันนี้ที่เราทำเต้าหู้กับเพจเท่านั้น แต่คนอื่นๆก็จะรู้ไปด้วย เพราะเพจจะรายงาน

Cactus Farm

Fu Hsiang Cactus Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) อายุ 31 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ และปริญญาโท สาขา MBA เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นแรกของประเทศไต้หวัน

IMG_0972.JPG

ได้สืบถอดธุรกิจมาจากครอบครัว พื้นที่ปลูกจำนวน 5 เฮกตาร์ มีแคคตัสมากกว่า 8,000 สายพันธุ์ มีคนงานจำนวน 7 คน ปัจจุบันทำโรงเรือนอัตโนมัติ หลังคาโรงเรือน 2 ชั้น มีระบบเปิดปิดหลังคาอัตโนมัติเพื่อควบคุมแสง

IMG_0960.JPG
มีการใช้สารฟีโรโมนล่อแมลง ใช้ผึ้งในการผสมเกสรพันธุ์ผึ้งนำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ แคคตัสเป็นพืชที่ไม่ชอบความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 37 องศาเซลเซียส

มีการศึกษาผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์
ในการประเมินความชอบของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลจากอายุ ประเทศ สี โดยใช้การจัดนิทรรศการเป็นเป็นเก็บข้อมูล ทางรัฐบาลได้ส่งไปศึกษาดูงานในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศฮอลแลนด์ เยอรมนี อิสราเอล หลังจากไปศึกษาดูงานกลับมาเกษตรกรจะต้องถ่ายทอดให้เกษตรกรไต้หวันอย่างน้อย 100 ราย

ปัจจุบันทางฟาร์มได้ปรับปรุงฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเก็บพันธุ์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือประเทศไทย และญี่ปุ่น เกษตรกรมีการนำความรู้จากการเรียนมหาวิทยาลัยมาปรับใช้ในการแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการจะมอง 5 ด้าน คือ การผลิต การตลาด ทรัพยากรบุคคล วิจัยและพัฒนาสินค้า และการเงิน

Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

Hiking Farm

Hiking Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ชื่อคุณเฉิน อายุ 26 ปี มีพื้นที่จำนวน 8 เฮกตาร์ ซึ่งมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาของครอบครัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตร โดยเริ่มทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ระหว่างการสร้างที่พัก ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

IMG_0604.JPG

คุณเฉิน มีความสนใจในการทำการเกษตรและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สาเหตุที่เกษตรกรคนนี้มาทำการเกษตรเพราะเขาคิดว่า “ถ้าคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครริเริ่มมาทำการเกษตร ต่อไปประเทศไต้หวันก็จะไม่มีอะไรเหลือ”

การทำการเกษตรทำคนเดียว จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการผลิตและการจัดการที่ดี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ไผ่ มันเทศ

การปลูกไผ่ ปลูกแบบยกร่องสูงเพื่อให้รากลงลึก ถ้ามีรากขยายออกด้านข้างจะตัดออก เพื่อบังคับให้รากหยั่งลงลึก การให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด

สำหรับมันเทศทางฟาร์มจำหน่ายผลผลิตทางอินเตอร์เน็ต ราคากิโลกรัมละ 100 NTD ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีเกษตรกรมาฝากขายผลผลิตแต่ไม่รับฝาก เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพ การนำผลผลิตของคนอื่นมาจำหน่ายในแบรนด์ของตนเองอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสินค้าตนเองในอนาคต

IMG_0634.JPG

ในพื้นที่ของเกษตรกรมีค้างคาวมาอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว ค้างคาวเข้ามากินแมลงเป็นอาหาร ทางฟาร์มจึงใช้ค้างคาวเป็นจุดเด่นของฟาร์ม มีการนำมูลค้างคาวมาใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในฟาร์มมีอายุประมาณ 15 – 20 ปี ค้างคาวจะมีการคลอดลูกปีละครั้ง

IMG_0610.JPG

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ค้างคาวจะอพยพไปที่เมืองPingtung เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวจะอพยพกลับมาที่ฟาร์ม ในอนาคตจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ค้างคาว ให้เด็กนักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามาเรียนรู้

เกษตรกรคนนี้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ไล่ค้างคาว เนื่องจากคิดว่าค้างคาวมาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อน เวลากลางคืนค้างคาวออกไปหาอาหาร เกษตรกรจะเข้ามาเก็บมูลค้างคาว เพื่อจะได้ไม่รบกวนค้างคาวในเวลากลางวัน และเกษตรกรยังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ค้างคาว ในการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมของค้างคาว

IMG_0602.JPG

เกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้เป็นเกษตรกรที่รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ มีการนำจุดเด่นของค้างคาวที่มาอยู่อาศัยในพื้นที่ เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ

 

กลุ่มสหกรณ์ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

Guanxi Farmer’s Association, Hsinchu Country กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 100 เฮกตาร์ ในอดีตเกษตรกรปลูกเฉาก๊วยกันมากจนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด เกษตรกรจึงมีรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่แปรรูป คือ ชาเฉาก๊วย และต่อมาก็มีการแปรรูปเป็นวุ้นเฉาก๊วย

สหกรณ์ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 23 ปีแล้ว ปัจจุบันทางสหกรณ์ได้เปิดให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยว ภายในสหกรณ์มีการจัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเฉาก๊วยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีการบรรยายความเป็นมาของกลุ่มสหกรณ์ ข้อมูลข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเฉาก๊วย บรรยายสรรพคุณของเฉาก๊วย ให้คนทั่วไปได้รับรู้

มีการสอนทำวุ้นเฉาก๊วยจากผงสำเร็จรูป

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีการกระตุ้นให้แม่บ้านเข้ามาประกวดทำอาหารจากเฉาก๊วย รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์เฉาก๊วยด้วยการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเฉาก๊วย เฉาก๊วยของสหกรณ์มีตราสินค้าเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ

วิธีการปลูกเฉาก๊วย

ปลูกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 160 – 180 วัน ปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Famer) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ จำนวน 6 ราย การเก็บรักษาเฉาก๊วยนั้น จะนำเฉาก๊วยใส่ในถังเหล็กขนาดใหญ่ ต้มในน้ำเดือดประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จากนั้นจึงผ่านกระบวนการ Freeze Dry แล้วจึงนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า FGA  และ ISO ต่างๆ มากมาย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

Tainan Hsiaying District Farmer’s Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีศูนย์นักท่องเที่ยวเพื่อแสดงของดีประจำท้องถิ่น โดยในท้องถิ่นมีของดี จำนวน 3 คือห่าน ถั่วดำ หม่อนเลี้ยงไหม

จุดประสงค์ที่ก่อตั้งศูนย์ท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ภายในศูนย์จะมีการจัดนิทรรศการต่างๆ ของท้องถิ่น แสดงประวัติและสภาพพื้นที่ทั่วไป สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในท้องถิ่น อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเกษตร ผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของยุวเกษตรกร และมีการสาธิตการทำผ้าห่มจากใยไหม ซึ่งศูนย์ท่องเที่ยวนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และเป็นส่งเสริมลูกหลานของเกษตรกรให้เป็นยุวเกษตรกร

วิธีการทำซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ใช้ถั่วดำที่ผ่านกระบวนการหมักที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนเย็นในถังให้ตกตะกอน เปิดก้นถังเพื่อเอากากถั่วดำทิ้ง จะเหลือน้ำด้านบนนำมากรองอีกครั้ง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวด ปิดฝา ฆ่าเชื้อ ติดฉลากที่บรรจุภัณฑ์ ซอสปรุงรสจากถั่วจะใช้ในการประกอบอาหารเช่นเดียวกับซอสถั่วเหลือง แต่ซอสถั่วดำจะมีคุณค่าทางอาหารดีกว่าซอสถั่วเหลือง

30 Days OJT in Taiwan

รวมลิงค์เนื้อหา On Job Training ที่ไต้หวัน