Day7 Rain’s factory โรงสีข้าว

เมื่อคืนมี Big Cleaning เสื้อผ้าของเราสามคน แค่เสื้อผ้าพวกเรา ราวตากผ้าบ้านเรนก็เต็มเอี๊ยดละ

ตื่นเช้าขึ้นมา เรนนัดออกจากบ้าน 7 โมง

เราออกมารอก่อนเวลา เลยมีเวลาเดินเล่นหน้าบ้านเรน เป็นบ้านที่ตั้งอยู่บนตีนเขา มีโรงเก็บของ เก็บฟืน

อากงก็ตื่นเช้า พาเราดูสวนดอกไม้ของอากงด้วย

อากงนี่เอง ที่เป็นมาสคอตของข้าวของเรน(เกิดเป็นอากงก็เป็นมาสคอตได้นะ)

เราเคยเห็นรูปอากงบนห่อข้าวที่วางโชว์ในออฟฟิซ

วาดรูปได้เหมือนทีเดียว ดีใจที่ได้เจอตัวจริงค่ะอากง

IMG_9315.JPG

อาหารเช้าวันนี้ เรนพาไปแวะซื้อก่อนจะไปโรงงาน เป็นไชโป้ว ไข่เจียว ปาท่องโก๋ ทุกสิ่งรวมกันห่ออยู่ในข้าว ไม่รู้คนอื่นอร่อยมั้ย แต่เราอร่อยมาก เพราะยัดไส้ด้วยของโปรดเราทุกอย่าง กินคนละก้อน อิ่มเลย

เรนเรียกว่า ซูชิไต้หวัน

IMG_9776.JPG

 

ก่อนจะเริ่มงาน เรนพาไปเจอ จางปาป้า เป็นชาวนาอายุเกือบ60ละ ใช้โดรนโรยปุ๋ยอินทรีย์ โดรนนี้จางปาป้าซื้อเอง ใหญ่กว่าที่หมินจงใช้วันก่อนอีก ทันสมัยมากเลย

IMG_9755

DCIM101GOPROGOPR8091.

วันนี้พวกเราดันยืนอยู่ใต้ลม เลยต้องใส่หน้ากากกันปุ๋ยเข้าจมูก(จางปาป้าแจกให้คนละอัน)

IMG_9762

เรนเป็นภูมิแพ้ ไอหนักมาก แต่ไม่ชอบใส่หน้ากาก และท่าทางจะนอนน้อยทุกวันด้วย

คือเป็นผู้ชายที่ทำงานหนักและยุ่งตลอดเวลาจริงๆ

เรนอยู่ในห้องทำงาน หน้าคอม กินข้าวเสร็จก็รีบกลับไปทำงานต่อเลย

เราแอบนับ ตั้งแต่ออกจากบ้านมา7:30จนถึงที่โรงงาน8โมง เรนรับสายไป6สายแล้ว

DCIM101GOPROGOPR8092.

ที่โรงงานเรน มีเครื่องสีข้าว อลังการมาก (หรือเป็นเพราะเราไม่เคยเห็นโรงสีที่ไหนมาก่อน)

เราเดินเข้ามาในส่วนแพคข้าวใส่ถุง เป็นห้องแอร์ มีคนงานผู้หญิงทำงาน3-4คน ตอนนั้นเค้ากำลังทำแพคเกจจิ้งดีไซน์พิเศษสำหรับลูกค้าธนาคาร สวยน่ารัก เป็นรูปถังไม้หุงข้าว เรนก็ให้พวกเราเข้าไปช่วยเค้าทำหน่อยๆ

แล้วบอกว่า ”วันนี้เธอจะได้ใช้ทุกเครื่องในห้องนี้”

ว้าวววว วันนี้ได้เป็นสาวโรงงานค่า

ส่วนชัยก็ไปดูเครื่องสีข้าวด้านนอก ทำงานเหมาะกับความสามารถจริงๆ

IMG_9782.JPG

หน้าที่ของเราในห้องนี้คือ

เอากระสอบที่ใส่ข้าวขนาด 30kg มาทำสัญลักษณ์ว่าข้าวอะไร ขาวหรือน้ำตาล

ประทับวันที่ผลิต ซึ่งก็คือวันที่สีข้าวนี่เอง และวันหมดอายุ คือนับไปอีก6เดือน แปะสติกเกอร์หมายเลขผู้ผลิต เครื่องหมายออแกนิก

IMG_9804.JPG

เอาข้าวใส่ถุงโดยใช้เครื่องกรอก(กดน้ำหนักข้าวที่ต้องการ ข้าวก็จะออกมาเท่านั้นเอง) โดยข้าวพวกนี้ก็ต่อท่อจากเครื่องสีข้างนอก สีเสร็จปุ้บกรอกใส่ถุง

….เป็นครั้งแรกที่รู้ว่าเค้าทำกันอย่างงี้

 

ชัยก็มาช่วยข้างในบ้าง ตอนรอรับกระสอบหนักๆไปเย็บปิดปาก

(งานหนักให้ผู้ชายทำ งานเบาให้ผู้ชายช่วย)

นี่ก็เพิ่งเคยเห็นว่าเย็บอย่างงี้

พวกถุงเล็กๆ(ขนาด 1kg และ 2kg)ก็จะเอาใส่บล๊อกสี่เหลี่ยมก่อน ให้จัดทรงถุงให้เป็นเหลี่ยมๆ พอเอาข้าวใส่แล้วก็เคาะๆให้แน่นขึ้น แล้วเอาไปซีลดูดอากาศออก เอาไปแพคใส่ลัง

IMG_9801.JPG

พักเที่ยง กินข้าวพร้อมหน้ากันทั้งโรงงาน กินตรงห้องประชุมนี่แหละ ห้องนี้สารพัดประโยชน์จริงๆ

กันกับข้าวที่มีใครบางคนซื้อใส่กล่องมา ซื้อมาแค่กับข้าวนะ ข้าวสวยไม่ต้อง เพราะที่นี่เป็นโรงสีข้าว ฮ่าๆๆๆ

ครัวที่นี่จะทำหน้าที่แค่หุงข้าวและอุ่นซุปร้อนๆ

IMG_9815.JPG

ตอนบ่ายมีรถขนส่งมารับละ ไอ่ที่สีและแพคใส่ถุงกันเมื่อเช้า กำลังจะเอาไปขายหมดแล้ว พวกพี่พนักงานเลยเริ่มทำความสะอาด สะอาดมากๆๆ ใช้ลมเป่าให้พวกเศษข้าว เปลือก ผงต่างๆที่กระจายตามเครื่องออกให้หมด แล้วยังเอาผ้าชุบน้ำมาเช็ดๆอีก เครื่องใหญ่โตเลยต้องดูแลดี ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาด อาจจะพังเร็ว และก็คงมีผลต่อคุณภาพข้าวอีกด้วย

สังเกตได้ว่าที่นี่มีแต่คนงานผู้หญิง ผู้ชายคนเดียวเท่านั้นคือคนที่คอยมอนิเตอร์การทำงานของเครื่องจักร

ซึ่งที่มันเวิร์กมาก เพราะมีงานที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน เช่น ทำแพคเกจสวยงาม ทำความสะอาด อาจหาผู้ชายทำได้ยาก ส่วนงานหนักๆอย่างพวกแบกหามก็ไม่มี เรนมีเครื่องยกมาช่วยหมด แล้วผู้หญิงก็สามารถขับรถยกนั้นได้

ทำความสะอาดอยู่ดีๆก็ได้ยินเพลงปลุกใจ มีคนเปิดไว้ที่คอมฯในห้องแอร์ เราไปยืนดูMVด้วย ในMVเต้นกันสนุกโคตร เห็นละอยากเต้นเรย เราดูนานมาก ติดหูเลย มันคือเพลงนี้

IMG_9830.JPG

ใครเปิดนะ อยากขอบคุณจากใจ เรายกให้มันเป็นเพลงประจำทริปนี้เลย Hoi-Ya-O…..

เลิกงาน 5 โมงตรง (วันนี้เราทำงาน 8 ชม.เป๊ะ) แต่เรนยังไม่เลิก มีคนมาสัมภาษณ์เรนอยู่ที่ห้องประชุม

ระหว่างรอ ปะป๊าของเรนชวนออกไปตัดฝรั่งที่ปลูกอยู่ข้างๆโรงงาน

เป็นฝรั่งออแกนิกที่ปะป๊าปลูกไว้ ตัดมาก็กินเลย นั่งกินตรงเนินชมวิวที่เดิม ..

..อร่อยง่ะ

facebookกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายของเรน : https://www.facebook.com/manna983

 

เย็นนี้กินข้าวที่บ้านเรน ปะป๊าทำอาหารให้ มีอาหารหลายอย่างเลย แน่นอนว่ากินไม่หมด

IMG_9863.JPG

เราชอบอารมณ์นี้อ่ะ ชอบมากกว่าไปกินตามร้าน มันให้ความรู้สึกกินในครอบครัว

IMG_9862.JPG

หมินจงและฟ่านฟ่านตามมาสมทบ ซื้อชานมไข่มุกมาให้ด้วย

ไม่ได้มากันเล่นๆนะ เขามาคุยธุระกัน คือหมินจงจะสมัครเข้าเป็น Young Famer ของไต้หวัน ปีหนึ่งจะได้รับการคัดเลือกแค่ 100คนเท่านั้น หมินจงเลยมาปรึกษาเรน

เรนได้เป็น Young farmer รุ่นที่3 ตอนนี้กำลังเปิดรับรุ่น4

ถ้าได้เป็น จะได้รับการสนับสนุนจากไต้หวัน

เช่น ถ้ามีโครงการจะทำอะไรก็เขียน Proposalไปบอกรัฐ จะได้รับเงินสนับสนุนทุนครึ่งนึง เครื่องจักร เป็นระยะเวลาสามปี แต่กว่าจะได้เป็น 1 ใน 100 มันก็ไม่ง่าย

เราชอบที่รัฐสนับสนุนแบบนี้ คัดเลือกคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดดีจริงๆขึ้นมา แล้วสนับสนุนพวกเค้า มันทำให้เกษตรกรได้ลองคิดทำไรใหม่ๆ ถ้าคิดดีก็ได้เงินช่วย มิน่า เรนถึงบอกว่าต้องเขียน Proposalเยอะมาก เพราะในหัวเรนคงมีโปรเจคเยอะ   ปีหน้าเรนจะได้ไปดูงานที่ญี่ปุ่น แต่ก็ต้องออกเงินเองครึ่งนึง

เรนหันมาถามเราว่า “มีคนที่มาแบบเธอกี่คน” เราก็งงกับคำถามนะ ก็มากันสามคน มานอนบ้านเรนนี่ไง ฮ่าๆๆๆ

เราตอบ  “เกษตรกร 2 เจ้าหน้าที่1”

เรนถาม “ทั้งประเทศ?”

เรา “ใช่”

เรนตกใจมาก สงสัยคิดว่ามีคนอื่นด้วย แต่กระจายไปตามเมืองอื่นมั้ง

แล้วก็ถามเราว่า “เมย์ เธอต้องเขียน Proposalกี่หน้า ถึงได้มาที่นี่”

“กรอกใบสมัครมา 2 หน้า” ตอบไปแล้วก็รู้สึกว่าทำไมมันดูง่ายจัง จริงๆมันไม่ง่ายนะ เราบอกไปว่า นอกจากกรอกใบสมัครแล้ว เราก็ต้องเข้าไปสัมภาษณ์ด้วย

จริงๆก่อนที่พวกเราจะมาถึง Fuli เรนไม่รู้หรอกว่าเราเป็นใคร ได้รับข้อมูลว่ามีเจ้าหน้าที่ชายแก่ๆ 1 คน และเกษตรกรชาย 1 หญิง 1 ฮ่าๆ ข้อมูลมันผิดพลาดกันตอนไหนนะ

ต่อมาก็คุยกันเรื่องพัทยา หมินจงกำลังจะไปพัทยาเดือนหน้า มีสิ่งเดียวที่กังวลคือ กลัวจะแยกสาวประเภทสองออกจากสาวแท้ไม่ออก เพราะสาวประเภทสองที่ไทยบางคนงามกว่าสาวแท้ซะอีก

โถ..หมินจง

กินข้าวเสร็จมาสองชั่วโมงแล้ว แต่ยังคงคุยกันอยู่ ถ้ายังไม่ดึกคนประเทศนี้ก็จะยังคุยกันต่อไป  

เราหันมาถามหมินจงและฟ่านฟ่านว่าชื่อเราในภาษาจีนเขียนยังไง เค้าก็เขียนมาให้ ซึ่งมันอ่านว่าเม แต่แปลว่าพลัม แล้วเราก็ให้สอนเราเขียนชื่อภาษาจีนของพวกเค้าด้วย

ยากมาก ถ้าจะเขียนให้ถูกต้อง ต้องมีลำดับการขีดที่ถูกต้องด้วย

หมินจงสอนว่า ”ดูที่ฉันนะ, บนลงล่าง ซ้ายไปขวา”

 

คืนนี้ เราได้ข้อคิดว่า การมาอยู่กับคนที่นี่ มันไม่ได้มาเรียนแค่การเกษตรนะ

พวกเราได้เรียนรู้ทั้งสังคม วัฒนธรรม และภาษาด้วย

One Comment

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s