Cactus Farm

Fu Hsiang Cactus Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) อายุ 31 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ และปริญญาโท สาขา MBA เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นแรกของประเทศไต้หวัน

IMG_0972.JPG

ได้สืบถอดธุรกิจมาจากครอบครัว พื้นที่ปลูกจำนวน 5 เฮกตาร์ มีแคคตัสมากกว่า 8,000 สายพันธุ์ มีคนงานจำนวน 7 คน ปัจจุบันทำโรงเรือนอัตโนมัติ หลังคาโรงเรือน 2 ชั้น มีระบบเปิดปิดหลังคาอัตโนมัติเพื่อควบคุมแสง

IMG_0960.JPG
มีการใช้สารฟีโรโมนล่อแมลง ใช้ผึ้งในการผสมเกสรพันธุ์ผึ้งนำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ แคคตัสเป็นพืชที่ไม่ชอบความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 37 องศาเซลเซียส

มีการศึกษาผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์
ในการประเมินความชอบของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลจากอายุ ประเทศ สี โดยใช้การจัดนิทรรศการเป็นเป็นเก็บข้อมูล ทางรัฐบาลได้ส่งไปศึกษาดูงานในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศฮอลแลนด์ เยอรมนี อิสราเอล หลังจากไปศึกษาดูงานกลับมาเกษตรกรจะต้องถ่ายทอดให้เกษตรกรไต้หวันอย่างน้อย 100 ราย

ปัจจุบันทางฟาร์มได้ปรับปรุงฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเก็บพันธุ์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือประเทศไทย และญี่ปุ่น เกษตรกรมีการนำความรู้จากการเรียนมหาวิทยาลัยมาปรับใช้ในการแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการจะมอง 5 ด้าน คือ การผลิต การตลาด ทรัพยากรบุคคล วิจัยและพัฒนาสินค้า และการเงิน

Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

Organic vegetable garden เจียงเชียง

Organic vegetable garden บริษัทเจียงเชียง มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5 เฮกตาร์
พืชที่ปลูก คือ ผักกาดหอม ปลูกในโรงเรือนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

IMG_0310

IMG_0311

ที่นี่มีเครื่องจักรในการเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม เครื่องเพาะเมล็ดจะทำการเจาะหลุมลึก 0.5 เซนติเมตร และใช้ระบบลมดูดเมล็ดขึ้นมาหยอดลงหลุม เครื่องเพาะกล้าราคา 600,000 NTD วัสดุปลูกที่ใช้เป็น peat moss อัตราการงอกของเมล็ด 98 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน จะใช้ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อโรงเรือน (โรงเรือนขนาด 700 ตารางเมตร) คลุมดินด้วยผ้ากำมะหยี่

การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 14 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากย้ายปลูก 21 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการพักแปลงเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยเป็ดไก่เพื่อเข้าไปกินแมลงในแปลงปลูก

การตลาด ผลผลิตในแปลงจะส่งไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม จำนวน 130 โรงเรียน ในเมือง Pingtung โดยจะมีรถโรงเรียนมารับผลผลิตสัปดาห์ละครั้ง ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 50 NTD ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมโครงการกับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย รัฐบาลยังสนับสนุนเงิน 80,000 NTD ในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 20 ตัน

Green Onion Production การปลูกต้นหอมใน Yilan

Yilan เป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่มีชื่อเสียงและพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไต้หวัน

IMG_8628

ที่นี่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอม (Green onion) และมีศูนย์จำหน่ายผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร โดยวิธีการปลูกของกลุ่มเกษตรกร Yilan จะปลูกแบบยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเนื่องจากมีความต้านทานเชื้อราได้ดี โดยจะปลูกต้นหอมลึกลงไปในดินประมาณ 15 เซนติเมตร

การปลูกต้นหอมลึกจะทำให้ลำต้นของต้นหอมมีสีขาวและยาวกว่าปกติ เนื่องจากคนไต้หวันนิยมบริโภคส่วนของลำต้นสีขาว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่นิยมบริโภคส่วนใบสีเขียว
ที่ Yilan เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน เนื่องจากได้ต้นที่ส่วนสีขาวยาวกว่าที่อื่นๆ

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0026

ในการปลูกต้นหอมจะใช้ฟางข้าวคลุมบนแปลง ปกติเกษตรกรจะปลูกต้นหอมได้ 4 ครั้งต่อปี และสลับกับการปลูกข้าวอย่างละปี และนำฟางข้าวมาคลุมแปลงต้นหอมในรอบการผลิตถัดไป

IMG_8640

การปลูกต้นหอมในเมือง Yilan มีทั้งปลูกในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ปลูกในโรงเรือนเพื่อกันลมและแมลง บางโรงเรือนจะมีแค่มุ้งด้านข้างเพื่อป้องกันลมอย่างเดียว เพราะที่ไต้หวันมีไต้ฝุ่นบ่อยๆ (ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เพราะไม่มีไต้ฝุ่น)

ผลผลิตที่ได้ประมาณ 30 ตันต่อเฮกตาร์ (4.8 ตัน ต่อไร่) การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้แรงงานคน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแปลงจะนำต้นหอมมาล้างน้ำและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 1 – 5 องศาเซลเซียส โดยจะมัดต้นหอมมัดละ 1 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายทั่วประเทศไต้หวันราคากิโลกรัมละ 200 NTD

สวนผักออแกนิก Taoyuan

เยี่ยมชมสวนผัก ที่เป็นหนึ่งในสวนผักออแกนิกที่ส่งผักให้ Taoyuan City Farm Association

เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่นี่เป็นทุ่งรกร้างมานาน จึงไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ เกาตรกรเจ้าของที่แห่งนี้คิดว่าเหมาะแก่การเพาะปลูกแบบออแกนิก จึงเริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน ต้นทุนในการสร้างโรงเรือน โรงละประมาณ 60,000บาท ใช้เงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด 10ล้าน และค่าเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆอีก 2 ล้าน

ขนาดโรงเรือน 5×20 เมตร (100ตร.ม.) มีทั้งหมด 86 โรงเรือน มีคนทำงาน 8 คน (รวมเจ้าของ)

มีแผ่นพลาสติก PEดำ กั้นด้านข้างโรงเรือนบริเวณพื้น เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก และป้องกันดินไม่ให้ไหลออกมาด้านนอก บริเวณด้านนอกโรงเรือน มีการปูพื้นด้วย PEสีดำป้องกันวัชพืชที่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงได้

การเพาะปลูก

25600914ออแกนนิก_๑๗๑๐๐๙_0039

ช่วงก่อนปลูกมีการกำจัดหญ้าวัชพืช โดยใช้ไฟเผาที่ความร้อน 700 องศา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะนำไก่เข้ามาช่วยเก็บกินเมล็ดพืชและแมลง ช่วยคุ้ยเขี่ยพรวนดิน แล้วยังได้ขี้ไก่มาเป็นปุ๋ยในดินด้วย

ที่นี่จะเพาะเมล็ดเอง เพราะไม่กล้าซื้อต้นกล้าจากที่อื่น เกรงว่าจะไม่ออแกนิกจริงๆ
ระบบน้ำเป็นแบบสเปรย์ด้านบน ไม่มีการให้น้ำบนพื้น
ในช่วงที่มีหญ้ารกร้าง จะใช้แรงงานคนมาถอนออก ไม่ใช้ยาใดๆ

IMG_8474

เครื่องให้ปุ๋ยที่สามารถจ่ายปุ๋ยได้ครั้งละ 100 กก.

1

ป้องกันและกำจัดแมลง

  • ใช้ BT
  • การปลูกพืชหมุนเวียนสลับไปในแต่ละโรง เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง ลดการสะสมโรค
  • ใช้กำดักกาวเหนียวในการดักแมลง

ผลผลิตของที่นี่จะขนส่งไปยังสหกรณ์(ซึ่งจะนำไปส่งต่อไปยังโรงเรียน)ด้วยรถเย็น และที่เหลือก็ส่งขายที่ Super Market ได้ราคากก.ละ 100 บาท

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์ให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้การปลูก สาธิตให้เด็กใช้เครื่องมือต่างๆ วิธีการลงปลูก และยังเป็นที่อบรมของกลุ่ม Young Farmer

IMG_8497IMG_8542

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

แก้วมังกร ของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ไต้หวัน

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0043

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตแก้วมังกร Yuh – Tay Farm เป็นแปลงของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ปลูกแก้วมังกรอายุประมาณ 3 ปี ตามมาตรฐาน GAP พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ของประเทศไต้หวัน ชื่อพันธุ์ Big Red เนื้อมีสีแดง ซึ่งเป็นสีที่มงคลทำให้สามารถขายได้ราคาดี ประมาณกิโลกรัมละ 80 – 100 NTD

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0042

พื้นที่ 1 เฮกตาร์ สามารถให้ผลผลิต 60,000 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต (1 รอบการผลิตเวลาประมาณ 6 เดือน) ระยะปลูก ระยะระหว่างร่องประมาณ 200 เซนติเมตร ระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร

การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยใช้ต้นพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ปลูกลึกลงไปในดินประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร

Yuh – Tay Farm จะแบ่งแปลงปลูกแก้วมังกร ออกเป็น 2 โซน คือ โซนแปลงที่ปลูกแก้วมังกรที่ให้ผลผลิตในฤดู และนอกฤดู แต่แปลงจะให้ผลผลิตเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นจะมีการพักต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน แก้วมังกร 1 กิ่งจะไว้ผล จำนวน 1 ผล โดยปกติแก้วมังกร 1 กิ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 16 ผล แต่ทางสวนมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจึงมีการไว้ผลสลับ เพราะฉะนั้น 1 กิ่ง จะให้ผลผลิตจำนวน 8 ผลเท่านั้น

หลังจากที่แก้วมังกรออกดอกเป็นระยะเวลา 30 วัน ผลแก้วมังกรจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง การตัดแต่งกิ่งจะไว้กิ่งแต่ละกิ่งยาวจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร และไว้ต้นแขนงให้ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อให้ธาตุอาหารต่างๆ เพียงพอในการเลี้ยงลำต้น และเป็นการช่วยเร่งการออกดอก

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0046

การทำผลิตแก้วมังกรนอกฤดู จะไม่ไว้ผลในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม และมีการเพิ่มแสงเพื่อยืดระยะเวลาในการออกผลให้ยาวออกไป โดยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผิตในตลาดมีจำนวนน้อย ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่ในบางครั้งถ้าอากาศหนาวเกินไปผลผลิตจะได้ไม่ถึง 3 ครั้ง

ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช คือ โรคแคงเกอร์ (Canker) โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) และโรครากเน่าในช่วงฤดูฝน มีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคประมาณ 3 ครั้งต่อปี ประโยชน์ของการปลูกแก้วมังกรในโรงเรือน เพื่อให้ประหยัดแรงงานในการห่อผล ป้องกันแมลงวันผลไม้ที่มาเจาะผล และเมื่อต้นแก้วมังกรมีอายุประมาณ 10 ปี จะมีการรื้อแปลงและปลูกใหม่ เนื่องจากต้นที่แก่จะเกิดโรคได้ง่าย ปลูกไปแล้วประมาณ 10 ปีจะปลูกใหม่

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0020

การผลิตมะละกอของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)ไต้หวัน

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตมะละกอ เป็นแปลงปลูกมะละกอในโรงเรือนของเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 0.2 เฮกตาร์ รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 500,000 NTD

IMG_7810

พันธุ์มะละกอที่ใช้ คือ สายพันธุ์ Tainung 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดย Taiwan Agricultural Research Institute, Council of Agriculture, Executive Yuan (TARI) เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ก้านยาว ข้อดีของมะละกอที่มีก้านยาวนั้นจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากผลไม่เบียดกัน และมะละกอไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (Non – GMO) ปลอดโรคจากเชื้อไวรัส เนื่องจากมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

IMG_7811

ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมจะลงปลูกในแปลงจะมีอายุประมาณ 6 เดือน ความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร มีใบ จำนวน 4 – 5 ใบ ราคาต้นกล้า 25 NTD ต่อต้น

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0001

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0056

สาเหตุที่เกษตรกรปลูกมะละกอในโรงเรือนตาข่ายเพื่อป้องกันผลกระทบจากไต้ฝุ่น และป้องกันเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบจุดวงแหวน (Papaya ring spot) ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะสร้างโรงเรือนที่มีความสูงประมาณ 4 เมตร ในบางพื้นไม่มากจะสามารถสร้างโรงเรือนสูงได้ถึง 5 เมตร

มะละกอจะมีอายุประมาณ 4 – 5 ปี โดยใน 1 ปี มะละกอจะให้ผลผลิตจำนวน 3 รุ่นๆ ละ 30 ลูก ระยะปลูก ปลูกมะละกอบนร่องแบบสลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.50 เมตร คลุมดินด้วยพลาสติก 2 ชั้น เพื่อรักษาความชื้น พลาสติกชั้นล่างจะเป็นสีดำและชั้นบนเป็นสีเทา

เนื่องจากประเทศไต้หวันได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่นจึงจำเป็นต้องปลูกมะละกอในโรงเรือน แต่ด้วยมะละกอเป็นไม้ผลที่มีลำต้นสูงจึงมีการโน้มลำต้นให้เตี้ยลง การโน้มต้นจะทำให้ต้นเตี้ยลงไม่ชนหลังคาโรงเรือน ลำต้นที่เตี้ยจะลดแรงต้านลม และการโน้มต้นจะทำให้มะละกอออกดอกเร็วขึ้นด้วย

เมื่อต้นมะละกอสูงจนติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 1 จะมีการโน้มต้นมะละกอลงมา และเมื่อต้นมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 2 จึงตัดต้นมะละกอครึ่งต้นเพื่อให้มะละกอแตกใหม่ และเมื่อมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 3 ถอนต้นมะละกอออกทั้งหมดแล้วจึงปลูกมะละกอต้นใหม่ เมื่อปลูกมะละกอ 2 รอบ (8 – 10 ปี) จึงทำการรื้อแปลงและไถพลิกหน้าดิน ลึกประมาณ 2 เมตร

อุณหภูมิในโรงเรือนจะสูงกว่าภายนอกโรงเรือนประมาณ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้มะละกอมีความหวานมากกว่าการปลูกนอกโรงเรือนประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) ความหวานของมะละกอที่ปลูกในโรงเรือนความหวานจะอยู่ที่ 13 – 15 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิตประมาณ 100 ตันต่อรุ่น

วิธีการโน้มต้นมะละกอ

ชมคลิป https://youtu.be/-kwlSbQ4qUE

  1. กรีดลำต้นมะละกอตามแนวตั้งจำนวน 2 รอยให้ตรงข้ามกัน ตัดเนื้อเยื่อมะละกอด้านที่จะเอียงออก เพื่อให้สามารถเอียงต้นมะละกอได้สะดวก

2. จากนั้นดึงต้นมะละกอให้เอียงประมาณ 45องศา ใช้เชือกผูกยึดไว้กับลวดเหล็กเพื่อไม่ให้ต้นมะละกอล้ม

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0040

3. ใช้ CaCo3 ผสมกับยาป้องกันเชื้อราทาบริเวณรอยกรีด เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและให้แผลมะละกอประสานกัน

 

 

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0049

การให้น้ำใช้ระบบน้ำหยดภายในแปลงปลูกมะละกอมีเครื่องวัดความชื้นในดิน จำนวน 2 อัน วัดความชื้นที่ระดับความลึก 30 และ 60 เซนติเมตร การให้น้ำจะพิจารณาจากเครื่องวัดความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร เมื่อเครื่องมีความชื้นต่ำกว่า 30 กิโลปาสคาล (kPa) จะต้องมีการให้น้ำ ในฤดูร้อน จะให้น้ำทุก 3 – 4 วัน และในฤดูหนาวจะให้น้ำทุก 7 วัน

IMG_7819

การให้ปุ๋ยสูตร 20 – 20 – 20 จำนวน 3 ครั้งต่อเดือน ร่วมกับการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด การไว้ผลมะละกอจะมีการเด็ดดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออก เหลือไว้แต่ดอกกะเทย เนื่องจากดอกกระเทยจะให้ผลที่มีความสมบูรณ์ เนื้อหนา เมล็ดน้อย ในแต่ละรุ่นจะมีการไว้ผลประมาณ 30 ผลต่อต้น ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่พบ คือ ไรแมงมุม (Spider mite) จัดการโดยใช้น้ำฉีด

IMG_7886.JPG