Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

Hiking Farm

Hiking Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ชื่อคุณเฉิน อายุ 26 ปี มีพื้นที่จำนวน 8 เฮกตาร์ ซึ่งมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาของครอบครัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตร โดยเริ่มทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ระหว่างการสร้างที่พัก ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

IMG_0604.JPG

คุณเฉิน มีความสนใจในการทำการเกษตรและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สาเหตุที่เกษตรกรคนนี้มาทำการเกษตรเพราะเขาคิดว่า “ถ้าคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครริเริ่มมาทำการเกษตร ต่อไปประเทศไต้หวันก็จะไม่มีอะไรเหลือ”

การทำการเกษตรทำคนเดียว จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการผลิตและการจัดการที่ดี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ไผ่ มันเทศ

การปลูกไผ่ ปลูกแบบยกร่องสูงเพื่อให้รากลงลึก ถ้ามีรากขยายออกด้านข้างจะตัดออก เพื่อบังคับให้รากหยั่งลงลึก การให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด

สำหรับมันเทศทางฟาร์มจำหน่ายผลผลิตทางอินเตอร์เน็ต ราคากิโลกรัมละ 100 NTD ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีเกษตรกรมาฝากขายผลผลิตแต่ไม่รับฝาก เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพ การนำผลผลิตของคนอื่นมาจำหน่ายในแบรนด์ของตนเองอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสินค้าตนเองในอนาคต

IMG_0634.JPG

ในพื้นที่ของเกษตรกรมีค้างคาวมาอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว ค้างคาวเข้ามากินแมลงเป็นอาหาร ทางฟาร์มจึงใช้ค้างคาวเป็นจุดเด่นของฟาร์ม มีการนำมูลค้างคาวมาใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในฟาร์มมีอายุประมาณ 15 – 20 ปี ค้างคาวจะมีการคลอดลูกปีละครั้ง

IMG_0610.JPG

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ค้างคาวจะอพยพไปที่เมืองPingtung เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวจะอพยพกลับมาที่ฟาร์ม ในอนาคตจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ค้างคาว ให้เด็กนักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามาเรียนรู้

เกษตรกรคนนี้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ไล่ค้างคาว เนื่องจากคิดว่าค้างคาวมาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อน เวลากลางคืนค้างคาวออกไปหาอาหาร เกษตรกรจะเข้ามาเก็บมูลค้างคาว เพื่อจะได้ไม่รบกวนค้างคาวในเวลากลางวัน และเกษตรกรยังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ค้างคาว ในการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมของค้างคาว

IMG_0602.JPG

เกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้เป็นเกษตรกรที่รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ มีการนำจุดเด่นของค้างคาวที่มาอยู่อาศัยในพื้นที่ เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ

 

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

Bitter gourd nursery and production โรงเพาะต้นกล้า

โรงเพาะต้นกล้า ที่จะจำหน่ายต้นกล้าภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล โรงเพาะกล้าในประเทศไต้หวันที่อยู่ภายใต้รัฐบาลมีประมาณ 100 แห่ง รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดชนิดพืชแบ่งตามแหล่งปลูกพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกันระหว่างโรงเพาะกล้า ลดปัญหาการแย่งลูกค้า โดยโรงเพาะกล้าจะต้องพิจารณาในการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม  ตามปริมาณความต้องการของแต่ละพื้นที่

927organicFarm_๑๗๑๐๐๙_0029.jpg

การที่รัฐบาลควบคุมดูแลโรงเพาะ ทำให้รัฐบาลสามารถประมาณการณ์ผลผลิตในแต่ละช่วงเวลา และเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรทราบก่อนการตัดสินใจปลูกพืช เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ

IMG_0344.JPG

สำหรับโรงเพาะกล้าที่ศึกษาดูงานเป็นโรงเพาะกล้าพืชผักสวนครัว และพืชตระกูลแตง เช่น ฟัก มะเขือ ผักใบ มะระ เมล่อน แตงไทย พริกหยวก พริก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ต้นกล้าทั้งหมดจะจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน สำหรับพืชบางชนิดจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด พืชบางชนิดจะใช้วิธีการเสียบยอด เช่น มะระขาว เมล่อน ราคาจำหน่ายต้นกล้าที่มีการเสียบยอดจะมีราคาสูงกว่าต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด

วิธีการเสียบยอดมะระ

VDO Clip การเสียบยอดของที่นี่

  1. ใช้ต้นพันธุ์(Stock)เป็นฟักทอง คัดเลือกต้นกล้าฟักทองที่มีใบเลี้ยงสมบูรณ์ไม่หงิกงอ นำมาเด็ดยอดออกให้หมด เหลือแต่ใบเลี้ยง
  2. นำเหล็กปลายแบนมาจิ้มเข้าไปกลางยอด แล้วนำยอดต้นอ่อนมะระมาตัดปลายเป็นฉลาม แล้วเสียบลงไปบนยอดฟักทอง แล้วหนีบด้วยกิ๊บ
    • IMG_0361.JPG
  3. นำถาดไปเก็บไว้ในอุโมงค์ ที่พลางแสงด้วยแสลนดำ และปิดด้วยพลาสติกใส เมื่อผ่านไป1อาทิตย์ จะเริ่มมียอดเจริญออกมา (ถ้ามียอดของฟักทองออกมา ต้องเด็ดทิ้ง) จึงเริ่มเอาพลาสติกออก เหลือแต่แสลน
    • 1.png
  4. ผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์จะค่อยๆเปิดแสลนออก เพื่อให้ต้นกล้าเริ่มปรับตัวกับแสงแดดธรรมชาติ ประมาณ 2อาทิตย์(ในหน้าร้อน)จึงให้เกษตรกรนำไปปลูกได้เลย ถ้าเป็นฤดูหนาว 25วัน ก่อนนำไปขาย จะเช็คความสมบูรณ์ของรากด้วย

IMG_0341.JPG

นอกจากนั้น ที่นี่ยังมีเครื่องจักรช่วยกรอกวัสดุปลูกลงถาด และหยอดเมล็ดลงถาดด้วย โดยสามารถช่วยทุ่นแรงงานในการเพาะได้มาก สามารถทำได้ 300ถาด ภายใน 1 ชม. ซึ่งเทียบเท่ากับแรงงานคน 10 คน

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Organic vegetable garden เจียงเชียง

Organic vegetable garden บริษัทเจียงเชียง มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5 เฮกตาร์
พืชที่ปลูก คือ ผักกาดหอม ปลูกในโรงเรือนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

IMG_0310

IMG_0311

ที่นี่มีเครื่องจักรในการเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม เครื่องเพาะเมล็ดจะทำการเจาะหลุมลึก 0.5 เซนติเมตร และใช้ระบบลมดูดเมล็ดขึ้นมาหยอดลงหลุม เครื่องเพาะกล้าราคา 600,000 NTD วัสดุปลูกที่ใช้เป็น peat moss อัตราการงอกของเมล็ด 98 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน จะใช้ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อโรงเรือน (โรงเรือนขนาด 700 ตารางเมตร) คลุมดินด้วยผ้ากำมะหยี่

การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 14 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากย้ายปลูก 21 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการพักแปลงเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยเป็ดไก่เพื่อเข้าไปกินแมลงในแปลงปลูก

การตลาด ผลผลิตในแปลงจะส่งไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม จำนวน 130 โรงเรียน ในเมือง Pingtung โดยจะมีรถโรงเรียนมารับผลผลิตสัปดาห์ละครั้ง ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 50 NTD ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมโครงการกับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย รัฐบาลยังสนับสนุนเงิน 80,000 NTD ในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 20 ตัน

สวนมะระขาวและแตงกวา

สวนมะระขาว ซึ่งเป็นพันธุ์พิเศษของไต้หวัน ผลมีสีขาวส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นสลัด และส่งออกไปจำหน่ายที่ฮ่องกง25600926_๑๗๑๐๐๙_0018

มะระขาวในแปลงนี้ปลูกภายในโรงเรือนตาข่าย (Net house) ความสูงของโรงเรือนประมาณ 2.50 เมตร ขนาดตาข่าย 24 mesh ระยะปลูกระหว่างแปลง 2 เมตร และระยะระหว่างต้น 2 เมตร

IMG_0246

ต้นมะระที่ปลูกใช้ต้นกล้าจากการเสียบยอด (grafting) โดยใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ จากนั้นจึงเสียบยอดด้วยยอดมะระพันธุ์ดี สาเหตุที่ใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ เนื่องจากต้นฟักทองมีรากที่แข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ทนต่อโรคพืชทางดิน

นี่คือรูป ลักษณะโคนต้นมะระที่เสียบยอดบนต้นฟักทอง

25600926_๑๗๑๐๐๙_0019

การให้น้ำเป็นระบบให้น้ำไล่ร่อง ทุก 10 วัน
การให้ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และเมื่อต้นมะระเริ่มติดดอกจะให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม

IMG_0253

ภายในโรงเรือนจะใช้ผึ้งในการผสมเกสร

IMG_0249

การดูแลรักษา จะมีการห่อผลมะระตั้งแต่ผลมีขนาดใหญ่เท่านิ้วโป้ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีดำ เพื่อลดการสังเคราะห์แสงทำให้ผลมะระมีสีขาว หลังจากห่อผลประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1วัน จะนำเอาถุงพลาสติกสีดำที่ห่อผลออก

IMG_0248

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ (1,280 กก. ต่อไร่)

ราคาจำหน่ายผลผลิตภายในประเทศประมาณกิโลกรัมละ 40 NTD (ประมาณ 42บาท)
ราคาส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงกิโลกรัมละ 60 NTD

ต่อจากนั้นเดินทางไปงานแปลงมะระเขียว ซึ่งผลผลิตมะระเขียวจะใช้สำหรับทำน้ำมะระ และส่งโรงแรมเพื่อประกอบอาหาร

IMG_0258.JPG

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะสังเกตจากตุ่มที่ผิวของผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อผล ราคาจำหน่ายมะระเขียวราคากิโลกรัมละ 50 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะระเขียวมากกว่ามะระขาว เนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน มีความต้องการของตลาดมากเพราะคนไต้หวันนิยมบริโภคมะระเขียวมากกว่ามะระขาว และมะระเขียวมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยกว่า การจัดการและการดูแลรักษาง่ายกว่า

ทั้งนี้เกษตรกรจะปลูกมะระสลับกับการปลูกแตงกวา โดยจะปลูกแตงกวาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และปลูกมะระในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สำหรับการปลูกแตงกวา จะใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 4 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง การย้ายปลูกในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุน้อย เป็นการประหยัดแรงงานในการดูแลต้นกล้า และทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ลำต้นจะไม่สูงจนเกินไปและมีข้อที่สั้น

IMG_0261

การดูแลรักษาจะมีการเด็ดยอดที่กิ่งแขนงเพื่อให้น้ำเลี้ยงไปเลี้ยงที่ลูกเท่านั้น โดยจะไว้ผลประมาณ 35 ผลต่อต้น เริ่มเก็บครั้งแรกหลังการย้ายกล้าปลูกไปแล้ว 35 วัน และเก็บผลผลิตได้จนถึงอายุ 60 วันหลังการย้ายปลูก ซึ่งจะเก็บผลผลิตทุกวัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

IMG_0256

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Nice Green Plant Factory

nicegreen

เป็นการปลูกพืชระบบ Plant factory ในตึกร้างที่ไม่ใช้งานแล้ว มีจำนวนห้องสำหรับปลูกพืชผัก จำนวนทั้งหมด 20 ห้อง (ห้องขนาด 70 ตารางเมตร) พื้นที่ 1 ห้อง สามารถปลูกได้ 8,000 ต้น แบ่งการดูแลเป็นโซนละ 6 ห้อง และในแต่ละโซนจะมีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ในการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ อากาศ คาร์บอนไดออกไซด์

ข้อดีของการแบ่งปลูกเป็นห้องเล็กๆ คือง่ายต่อการจัดการ การเก็บเกี่ยวผลผลิต และประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในส่วนที่ไม่ได้ปลูกก็ปิดไฟทั้งหมด

IMG_7408

พืชที่ปลูก ได้แก่ กรีนโอ๊ค (Green Oak) เรดโอ๊ค (Red Oak) เรดคอรอล (Red Coral) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว จะมีการตัดแต่งใบที่ไม่สมบูรณ์ออก และบรรจุในถุงพร้อมส่งผู้บริโภค

IMG_7409

แนวคิดของ Plant Factory คือ “Local to Local” หมายความว่า ผลผลิตพืชผักที่ได้จาก Plant Factory จะส่งขายภายในประเทศเท่านั้น อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สร้าง Plant Factory ก็จะผลิตในประเทศทั้งหมด

ในเมืองไทเป ยังมีร้านอาหาร Nice green เป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ขายพืชผักที่ผลิตจากระบบ Plant factory มีชุดตัวอย่างแสดงการผลิตผักภายในร้านอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่าผักที่ทานเข้าไปผลิตมาด้วยวิธีใด

Environmental friendly Farm of Vegetable

ฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ปลูกผักอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ในเมือง Yilan เป็นจุดรวบรวมผักอินทรีย์จากสมาชิกอีก 35 ราย ก่อนจะนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆ

IMG_8579

รัฐบาลจะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยรับซื้อผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรไปให้เด็กในโรงเรียนรับประทาน และที่เมือง Yilan ในทุกเดือนจะกำหนดให้มีวันกินผักอินทรีย์เพื่อกระตุ้นและประชาสัมพันธ์การบริโภคผักอินทรีย์

9

การผลิตข้าวของเกษตรกรจะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นจึงมีการเก็บรักษาคุณภาพข้าวให้สามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และให้ข้าวมีความสดใหม่น่ารับประทานโดยการเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส

ที่นี่จะมีเครื่องสีข้าว สามารถสีข้าวแบบขัดผิวและไม่ขัดผิว มีเครื่องบรรจุสุญญากาศ

เกษตรกรมีการปลูกพืชแบบผสมผสานในโรงเรือน มีทั้งพืชผักและไม้ผล เช่น มีมะเดื่อฝรั่ง แก้วมังกร โดยมีแนวคิดว่าไม่ปลูกพืชชนิดเดียวปริมาณมาก แต่จะปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด

สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ในโรงเรือน หลังการเก็บเกี่ยวจะปล่อยให้ไก่เข้าไปกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช โดยระยะเวลาในการปล่อยให้ไก่อยู่ในโรงเรือนนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่และปริมาณอาหารที่ไก่สามารถกินได้ในโรงเรือน นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้จาก๘ไก่ ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้พืชผักด้วย สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้มาก

8

การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์และเข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล ทางรัฐบาลจะช่วยออกค่าปุ๋ยส่วนหนึ่ง สามารถซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ในราคากิโลกรัมละ 7 NTD จากราคาปกติกิโลกรัมละ 15 NTD (ถูกกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการ)

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0051

นอกจากการสนับสนุนเรื่องปุ๋ยอินทรีย์แล้ว รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เรื่องเครื่องจักรกลทางการเกษตร และค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

เกษตรกรท่านนี้ได้ให้แนวความคิดกับการผลิตพืชอินทรีย์ว่า

“การทำเกษตรอินทรีย์เราต้องทราบปริมาณความต้องการของตลาด และผลิตให้เพียงพอกับความต้องการไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ควรผลิตในปริมาณที่สม่ำเสมอ เมื่อใดที่ผลิตเกินความต้องการของตลาดผลผลิตจะล้นตลาดส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ”

 

Green Onion Production การปลูกต้นหอมใน Yilan

Yilan เป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่มีชื่อเสียงและพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไต้หวัน

IMG_8628

ที่นี่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอม (Green onion) และมีศูนย์จำหน่ายผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร โดยวิธีการปลูกของกลุ่มเกษตรกร Yilan จะปลูกแบบยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเนื่องจากมีความต้านทานเชื้อราได้ดี โดยจะปลูกต้นหอมลึกลงไปในดินประมาณ 15 เซนติเมตร

การปลูกต้นหอมลึกจะทำให้ลำต้นของต้นหอมมีสีขาวและยาวกว่าปกติ เนื่องจากคนไต้หวันนิยมบริโภคส่วนของลำต้นสีขาว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่นิยมบริโภคส่วนใบสีเขียว
ที่ Yilan เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน เนื่องจากได้ต้นที่ส่วนสีขาวยาวกว่าที่อื่นๆ

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0026

ในการปลูกต้นหอมจะใช้ฟางข้าวคลุมบนแปลง ปกติเกษตรกรจะปลูกต้นหอมได้ 4 ครั้งต่อปี และสลับกับการปลูกข้าวอย่างละปี และนำฟางข้าวมาคลุมแปลงต้นหอมในรอบการผลิตถัดไป

IMG_8640

การปลูกต้นหอมในเมือง Yilan มีทั้งปลูกในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ปลูกในโรงเรือนเพื่อกันลมและแมลง บางโรงเรือนจะมีแค่มุ้งด้านข้างเพื่อป้องกันลมอย่างเดียว เพราะที่ไต้หวันมีไต้ฝุ่นบ่อยๆ (ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เพราะไม่มีไต้ฝุ่น)

ผลผลิตที่ได้ประมาณ 30 ตันต่อเฮกตาร์ (4.8 ตัน ต่อไร่) การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้แรงงานคน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแปลงจะนำต้นหอมมาล้างน้ำและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 1 – 5 องศาเซลเซียส โดยจะมัดต้นหอมมัดละ 1 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายทั่วประเทศไต้หวันราคากิโลกรัมละ 200 NTD