การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

การปลูกเมล่อนคุณภาพ ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพฯ

วันที่ 28/2/2561 ได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการปลูกเมล่อนที่โรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักพัฒนาสังคม


ใช้เวลาประมาณ 3 ชม. รวมถึงการบรรยาย ถามตอบ และโชว์การเพาะเมล็ดลงถาดให้ดู

มีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 50 คน ได้รับความสนใจมากเกินกว่าที่คาดไว้
มีการแอดไลน์กันไว้ เพื่อถามรายละเอียดการปลูกนอกรอบทีหลัง ซึ่งเราก็ยินดีมากๆ
บางท่านถามละเอียดมาก คงจะตั้งใจไปทดลองปลูกจริงๆ
อยากรู้เหมือนกันว่ามี Feedback ยังไง ฟังเข้าใจมั้ย หรือเราต้องปรับปรุงอะไรเพิ่มมั้ย

ดีใจที่ได้แชร์ประสบการณ์ที่มี มันอาจจะไม่ใช่วิธีปลูกที่ถูกต้องที่สุด หรือดีที่สุด
แต่มันก็คือวิธีของเรา ที่เราพยายามปรับปรุงทุกครั้ง ทุกรอบ

ถ้าได้ไปบรรยายครั้งหน้า ก็อาจจะไม่ใช่วิธีนี้แล้ว
แต่มันก็คงเป็นวิธีที่ดีกว่าเดิมแน่นอน

เอกสารประกอบการบรรยายวันนั้น Download ได้ที่นี่ค่ะ

  1. เทคนิกการปลูกเมล่อนคุณภาพ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. บันทึกการปลูกเมล่อน โดย For Love & Melon Farm