สวนผักออแกนิก Taoyuan

เยี่ยมชมสวนผัก ที่เป็นหนึ่งในสวนผักออแกนิกที่ส่งผักให้ Taoyuan City Farm Association

เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่นี่เป็นทุ่งรกร้างมานาน จึงไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ เกาตรกรเจ้าของที่แห่งนี้คิดว่าเหมาะแก่การเพาะปลูกแบบออแกนิก จึงเริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน ต้นทุนในการสร้างโรงเรือน โรงละประมาณ 60,000บาท ใช้เงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด 10ล้าน และค่าเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆอีก 2 ล้าน

ขนาดโรงเรือน 5×20 เมตร (100ตร.ม.) มีทั้งหมด 86 โรงเรือน มีคนทำงาน 8 คน (รวมเจ้าของ)

มีแผ่นพลาสติก PEดำ กั้นด้านข้างโรงเรือนบริเวณพื้น เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก และป้องกันดินไม่ให้ไหลออกมาด้านนอก บริเวณด้านนอกโรงเรือน มีการปูพื้นด้วย PEสีดำป้องกันวัชพืชที่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงได้

การเพาะปลูก

25600914ออแกนนิก_๑๗๑๐๐๙_0039

ช่วงก่อนปลูกมีการกำจัดหญ้าวัชพืช โดยใช้ไฟเผาที่ความร้อน 700 องศา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะนำไก่เข้ามาช่วยเก็บกินเมล็ดพืชและแมลง ช่วยคุ้ยเขี่ยพรวนดิน แล้วยังได้ขี้ไก่มาเป็นปุ๋ยในดินด้วย

ที่นี่จะเพาะเมล็ดเอง เพราะไม่กล้าซื้อต้นกล้าจากที่อื่น เกรงว่าจะไม่ออแกนิกจริงๆ
ระบบน้ำเป็นแบบสเปรย์ด้านบน ไม่มีการให้น้ำบนพื้น
ในช่วงที่มีหญ้ารกร้าง จะใช้แรงงานคนมาถอนออก ไม่ใช้ยาใดๆ

IMG_8474

เครื่องให้ปุ๋ยที่สามารถจ่ายปุ๋ยได้ครั้งละ 100 กก.

1

ป้องกันและกำจัดแมลง

  • ใช้ BT
  • การปลูกพืชหมุนเวียนสลับไปในแต่ละโรง เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง ลดการสะสมโรค
  • ใช้กำดักกาวเหนียวในการดักแมลง

ผลผลิตของที่นี่จะขนส่งไปยังสหกรณ์(ซึ่งจะนำไปส่งต่อไปยังโรงเรียน)ด้วยรถเย็น และที่เหลือก็ส่งขายที่ Super Market ได้ราคากก.ละ 100 บาท

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์ให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้การปลูก สาธิตให้เด็กใช้เครื่องมือต่างๆ วิธีการลงปลูก และยังเป็นที่อบรมของกลุ่ม Young Farmer

IMG_8497IMG_8542

Taoyuan City Farm Association สหกรณ์ผักอินทรีย์เพื่อโรงเรียน

Taoyuan City Farm Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งให้โรงเรียน และจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน

IMG_8464

มีสมาชิก 46 ราย พื้นที่ปลูกผักจำนวน 32.2 เฮกตาร์ โรงเรือน จำนวน 3,220 โรงเรือน

ทางกลุ่มจะรวบรวมผักจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเข้ามาคัดแยก ทำความสะอาด และตัดแต่งก่อนส่งไปจำหน่าย โดยโรงงานจะรับผักจากเกษตรกร 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 45 ตันต่อสัปดาห์

ผักของทางกลุ่มมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำ ผักบุ้ง ผักขมผักกาดขาว ฟักทอง และแรดิช (Radish) ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะมีการปลูกผักพื้นบ้านแล้วแต่ฤดูกา สำหรับในช่วงไต้ฝุ่นเข้า จะมีการวางแผนการผลิตให้มีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นๆ

คนชอบกินผักหลายแบบ เขาจึงต้องรวบรวมผักหลายชนิดมาขาย ที่สหกรณ์จะมีการวางแผนการปลูก ตามความต้องการของโรงเรียนต่างๆ และกำหนดไปว่าจะให้เกษตรกรปลูกอะไร เมื่อไหร่บ้าง

ที่โรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 15 ราย แบ่งหน้าที่กันทำต่างๆกันไป ได้แก่

  • ควบคุมเกษตรกร ไปดูตามสวนต่าง 1 คน
  • จัดการเกี่ยวกับการส่งไปยังโรงเรียน 2 คน
  • ควบคุมpackaging 1คน
  • ตรวจสอบสารเคมี คุณภาพ 1 คน
  • ตัดแต่งผัก ล้างผัก ในโรงงาน 10 คน

ทุกๆสัปดาห์จะมีการสุ่มเช็ดคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรจำนวน 10 % จากเกษตรกรทั้งหมด

IMG_8459

ผลผลิตของทางกลุ่มได้รับมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรคนไหน

ผลผลิตที่เข้าโรงงานนี้จะส่งไปที่โรงเรียนเท่านั้น สำหรับผลผลิตจากแปลงเกษตรกรที่เหลือจะส่งไปจำหน่ายที่อื่น ถ้ามีการตรวจพบสารเคมีตกค้าง จะหยุดรับผลผลิตจากเกษตรกรคนนั้น จะไม่มีการปรับ แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการผลิตผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ขั้นตอนการจัดการผลผลิต

  1. นำผักที่มาจากเกษตรกรส่งเข้ามาในโรงงาน ใช้ตะกร้าสีน้ำเงิน และคัดคุณภาพโดยคน
    • IMG_8543
  2. นำมาเข้าเครื่องสับ
    • IMG_8446
  3. ล้างด้วยน้ำ 3 ขั้นตอนคือ ล้างดิน ล้างน้ำแรงๆเพื่อให้คราบที่ติดหนาแน่นออก และจึงล้างน้ำเย็น 4 องศา และพ่นด้วยน้ำคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้ออิโคไล และเป็นการลดกระบวนการออกซิเดชั่นของพืช
  4. เป่าลมและ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคน
    • 4
  5. นำใส่ตะกร้าสีเขียว มีถุงพลาสติกห่อหุ้มผัก เตรียมส่งไปยังโรงเรียน ตะกร้าละ 20 kg
  6. นำไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรอส่งในเช้าวันต่อไป ผลผลิตจะต้องถึงโรงเรียนก่อนตี 4 เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทำอาหารในเวลา 6 โมงเช้า

จะมีเครื่องล้างตะกร้า ที่อุณหภูมิ –7องศา หลังจากการใช้งาน โดยมีตะกร้าสีน้ำเงิน ใช้สำหรับขนผักจากแปลงเกษตรกรมายังโรงงาน และตะกร้าสีเขียวสำหรับขนผักจากโรงงานไปยังโรงเรียน

5

ทางกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายผลผลิตราคากิโลกรัมละ 75 NTD เกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 66 NTD จะจ่ายเงินให้เกษตรกรหลังจากรับผลผลิตมาแล้วประมาณ 7 – 10วัน ส่วนต่างของราคาจำหน่ายทางกลุ่มจะใช้ในการบริหารจัดการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งเข้าโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าผักให้โรงเรียนกิโลกรัมละ 60 NTD และโรงเรียนจ่ายเองกิโลกรัมละ 15 NTD โดยคิดเป็นมูลค่าที่รัฐบาลสนับสนุนปีละ 50 ล้าน NTD

นอกจากนั้นทางกลุ่มเกษตรกร ก็มีการสอนและให้ความรู้เรื่องการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนด้วย

 

ข้อดีของระบบนี้คือ

  • โรงเรียนได้ผักที่ส่งมานี้จะสะอาด พร้อมปรุง (ล้างและหั่นเรียบร้อยจากโรงงาน ประหยัดแรงงานในโรงครัว)
  • เด็กได้กินผักที่ดี ปลอดภัยและสะอาดจากสวน
  • แก้ปัญหาสุขภาพของเมือง
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

Agricultural Engineering Division: TARI

Agricultural Engineering Division ของศูนย์วิจัย TARI เป็นที่วิจัยเรื่อง Plant Factory

ที่นี่กำลังวิจัยอะไรหลายๆอย่างให้เราดูกัน เช่น..
1. การทดสอบความแตกต่างระหว่างการใช้แสง LED และ Fluorescence ในการปลูกพืชระบบ Plant Factory พบว่าประสิทธิภาพของแสงทั้ง 2 ชนิด ไม่แตกต่างกันเนื่องจากมีต้นทุนและพลังงานที่ใช้ใกล้เคียงกัน แต่ LED จะดีกว่าตรงที่สามารถปรับความเข้มแสง และสีของแสงให้เหมาะสมกับชนิดพืชได้

IMG_7686

IMG_7693

 

2. ทางสถานีวิจัยได้ทดลองทำ Plant Factory ระบบรางเลื่อน โดยใช้กล้าพืชที่อายุ 14 วัน ย้ายปลูกในบนชั้น ระหว่างที่ต้นกล้าค่อยๆเติบโต รางก็จะค่อยๆเลื่อนไปจนถึงจุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี มีระบบไฮโดรลิคยกถาดออกมาด้านนอก สำหรับนำไปบรรจุใส่ถุงต่อได้
มีตัววัดค่า EC และ pH เสียบอยู่ที่ถาดปลูกเพื่อส่งข้อมูลไปประมวลที่คอมพิวเตอร์ และ pH ผักที่ปลูกจาก Plant Factory นี้สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องล้าง

DCIM101GOPROGOPR7111.

IMG_7695

3. ทดลอง Plant factory ในรูปแบบตู้กระจก Show Case สำหรับติดตั้งในร้านอาหาร เพื่อแสดงวิธีการปลูกพืชผักระบบนี้ให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลผลิต

DCIM101GOPROGOPR7107.

4. Mini Garden เป็นชุดปลูกพืชผักระบบ Plant factory 3ชั้น มีขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อยเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ถังน้ำและปุ๋ยตั้งอยู่ด้านล่าง โดยมีปั๊มส่งน้ำขึ้นไปข้างบน และไหลลงมาสู่ชั้นล่างๆ

ชุดปลูกสำหรับปลูกในบ้าน

Mini Garden

Aquaponics

ณ สถานีวิจัย Tainan district Agricultural Research and Extension Station (Tainan DARES) กำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับ Aquaponics ซึ่งเป็นระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา

IMG_7674.JPG

มีการทดลองการปลูกพืชระบบ Aquaponics จำนวน 3 โรงเรือน

โรงเรือนที่ 1 โรงเรือนสำหรับเลี้ยงปลา

IMG_7624 - Copy
โรงเรือนที่ 2 ปลูกพืชผัก ด้วยระบบ DFT โดยใช้น้ำที่มีธาตุอาหารจากการเลี้ยงปลาในโรงเรือนที่ 1

IMG_7616 - Copy
และโรงเรือนที่ 3 เป็นโรงเรือนที่ปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลาโดยใช้ระบบน้ำขึ้นน้ำลง ด้านล่างของกระบะปลูกพืชจะมีถังขนาดใหญ่สำหรับเลี้ยงปลา โดยดึงน้ำจากบ่อปลาขึ้นมาเลี้ยงต้นพืช ซึ่งพืชจะได้รับธาตุอาหารที่อยู่ในขี้ปลานั่นเอง

น้ำขี้ปลาที่ถูกปั๊มขึ้นมา จะผ่านผ้าขาวบางกรองสิ่งสกปรกด้วย

Aquaponic_๑๗๑๐๐๙_0034Aquaponic_๑๗๑๐๐๙_0008 - Copy

วัสดุปลูกที่ใช้ปลูกพืชในกระบะเป็นดินเผา

Aquaponic_๑๗๑๐๐๙_0048 - Copy

พืชที่ปลูก ได้แก่ ผักกาด แก้วมังกร ว่านหางจระเข้ เสาวรส มะละกอ

IMG_7622

 

ใช้เครื่องให้อาหารปลาแบบอัติโนมัติ ปรับเวลาการให้ได้ พืชจะได้รับธาตุอาหารเพียงพอแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณขี้ปลาที่ได้รับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ปลากินเข้าไปนั่นเอง
ผู้ปลูกจะต้องปรับปริมาณอาหารปลาให้เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก

Aquaponic_๑๗๑๐๐๙_0016

 

Benson KUO มะเขือเทศในโรงเรือน

บริษัทBenson KUO ได้มีการนำเข้าโครงสร้างของโรงเรือนจากเนเธอร์แลนด์ (แบบ Venlo Greenhouse) ควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและใช้ระบบน้ำหยด มีระบบแจ้งเตือนในกรณีที่ระบบพบความผิดปกติภายในโรงเรือน

IMG_7456IMG_7457

  1. กระบวนการปลูก
    • เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบคทีเรียและศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดโรคจากภายนอกเข้ามา จึงมีการควบคุมความสะอาดอย่างเข้มงวด และคนงานทุกคนที่เข้าออกจากโรงเรือน จะต้องเปลี่ยนชุด และฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง
    • ติดแถบกาวเหลืองดักแมลง เป็นแนวยาวตลอดทั้งแถวที่ปลูก
    • ความสูงของต้น สูง 3 เมตร คนงานจะคอยเข้าไปตัดแต่งกิ่ง และพันเถามะเขือเทศเลื้อยขึ้นไปตามเชือกในแนวดิ่ง
    • วัสดุปลูกที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ คือ ขุยมะพร้าวฆ่าเชื้ออัดแท่ง นำเข้าจากประเทศศรีลังกา ใน 1 แท่งยาว 2 เมตร สามารถปลูกได้ 3ต้น และใช้ได้นาน 1 ปี (2 Crop)
  2. การมอนิเตอร์และควบคุมสภาพแวดล้อม
    • ระบบควบคุมภายในโรงเรือนด้วยคอมพิวเตอร์จากเนเธอแลนด์ ประกอบด้วย ตัวควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องวัดแรงลม พัดลมช่วยหมุนเวียนอากาศ การเปิดปิดหลังคาโรงเรือนเพื่อระบายอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ เครื่องควบคุมการให้น้ำ เปิดปิดวาล์ว เครื่องฆ่าเชื้อน้ำ
    • ข้อดีคือ ทำงานได้ดีหมดทุกอย่าง แต่ราคาแพง
    • 20170905_7_KUO_Vege. growers of Taiwan - Tomato
  3. การให้ปุ๋ย
    • ให้ปุ๋ยโดยละลายไปพร้อมกับน้ำ และมีการนำน้ำที่เป็นส่วนเกินจากที่พืชไม่ใช้ นำกลับมา Reuseใช้อีกครั้ง โดยผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำกลับเข้ามาในระบบใหม่
    • ใช้ระบบน้ำหยด
    • มีเซนเซอร์วัดความชื้นของวัสดุปลูก และชั่งน้ำหนักวัสดุปลูกเป็นระยะๆ เพื่อคำนวณว่าพืชใช้น้ำไปปริมาณเท่าไหร่ (น้ำที่ให้ – น้ำที่เหลือ = น้ำที่ใช้ไป) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อปรับปริมาณการให้น้ำและสารอาหารให้เหมาะสมต่อไป
  4. การผสมเกสรตามธรรมชาติ
    • ใช้ผึ้ง Bumble Bee นำเข้าจากเบลเยียมเพื่อช่วยผสมเกสรให้มะเขือเทศ
    • 3
  5. การตลาด

ก่อนจะปลูกอะไร ต้องคำนึงถึง
5.1 ความต้องการของตลาด
5.2 แนวทางการทำการตลาด ตลาดเป้าหมาย
5.3 Scaleที่ควรทำ ใหญ่แค่ไหนจึงจะเหมาะสม
5.4 ต้องมีผู้จัดการฟาร์มที่ดีเหมาะสม
5.5 มีเทคโนโลยีที่ดีและเหมาะสม
และที่สำคัญคือต้องมี connectionที่ดีกับ supplier, มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, support team

เมื่อถามถึงปัญหา ว่าเคยมีเหตุการณ์ที่ระบบมันErrorทำงานผิดพลาดบ่อยไหม ก็ได้รับคำตอบว่า

“มีทุกวัน ระบบต่างๆมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด ต้องโทรไปปรึกษาเนเธอแลนด์เสมอ แต่ความจริงแล้ว ถ้าจะใช้ระบบนี้ ควรมีการไปฝึกอบรมที่ประเทศเนเธอแลนด์อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ เมื่อมีปัญหาจะได้สามารถแก้ได้ด้วยตนเอง”

IMG_1733

“ถ้าทั้งโรงเรือนและระบบคอมพิวเตอร์พวกนี้เป็นรถยนต์ เราต้องเป็นคนขับ ต้องขับได้เอง ไม่ใช่แค่จ้างคนขับมาขับให้เรา”

เป็นคำเปรียบเปรยที่เห็นภาพชัดเจน อึ้งไปเลยทีเดียว
แม้เขาจะมีเงินซื้อระบบ จ้างคนมาดูแล แต่เขาก็คิดว่าตัวเขาเองนี่แหละ ต้องทำเองเป็นด้วย

อย่างไรก็ตาม เค้าก็บอกว่าระบบนี้มันเชื่อถือได้สูง ถ้ามีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น มันจะร้องเตือนให้เราเค้าไปตรวจสอบก่อนเสมอ เพื่อให้ไปแก้ไขได้ทันการ จะไม่ปล่อยให้ความมันเสียหายเกิดขึ้นกับต้นไม้ที่เราปลูก

ข้อเสียอย่างเดียวของระบบนี้ก็คือแพง

IMG_7458

Plant Factory ในบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ CAL – COMP

CAL – COMPเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณต่างๆ (มีโรงงานในประเทศไทยอยู่หลายสาขาด้วย)
และได้มีธุรกิจย่อย ผลิตพืชผักระบบ Plant factory ภายในออฟฟิศบริษัทเอง และตึกเก่าของโรงงาน

ผลผลิตพืชผัก ของบริษัทจะส่งจำหน่ายโรงแรมและซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมืองไทเป

IMG_7362

ห้องปลูกผักใช้ระบบ Electronic production line คือชั้นปลูกผักที่จะเลื่อนถาดปลูกจากริมด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า โดยจะนำต้นกล้ามาปลูกที่ด้านนึง แล้วค่อยๆเลื่อนไปอีกฝั่งของชั้นเมื่อผักเริ่มโตขึ้น และจะถึงเวลาเก็บเกี่ยวพอดีเมื่อผักเลื่อนไปจนสุดอีกด้าน

IMG_7367

ที่นี่ผลิตผัก 11 ชนิด โดยจะเน้นที่ผักกินใบ เพราะต้นเตี้ยสามารถปลูกบนชั้นหลายๆชั้นได้ และไม่ต้องผสมเกสร

ได้ผลผลิตประมาณ 1000ต้นต่อวัน ส่งขายไปยังโรงแรมห้าดาว, Premium supermarket และบางส่วนขายออนไลน์
วิธีปลูกแบบนี้จะทำให้ปลูกได้ตลอดปี สภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ไม่มีผลต่อการผลิตใดๆ แต่มีปัญหาอย่างเดียวที่พบคือเมื่อไฟฟ้าดับ เพราะฟังก์ชั่นกรทำงานของระบบ Plant Factory ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งการควบคุมอากาศ แสง ระบบน้ำ ถ้าไฟดับเป็นระยะเวลานาน ผักจะเสียหาย ไม่แข็งแรง หยุดเจริญเติบโต

ราคาขายของที่นี่จะสูงกว่าผักที่ปลูกด้วยระบบ Plant Factoryอื่นๆ 3 เท่า เพราะควบคุมเชื้อโรคอย่างดี ผักสะอาดจนสามารถทนได้ทันที ไม่ต้องล้าง แม้ราคาจะสูงแต่ก็นับว่าคุ้มค่า เพราะ

  1. เมื่อซื้อไปแล้ว สามารถทานได้หมดเลยทุกส่วน ไม่มีใบที่เน่าเสีย
  2. ไม่มีแบคทีเรียอยู่ที่ผัก ทำให้ไม่เน่าเสียเร็ว ช่วยให้เก็บได้ยาวนานกว่าผักทั่วไป
  3. ลดขั้นตอนในการทำอาหารและแรงงานในการล้าง หรือเด็ดใบเสียทิ้ง เช่น พ่อครัวของโรงแรมห้าดาวต่างๆ สามารถแกะผักออกจากห่อแล้วนำไปประกอบอาหาร หรือประดับจานได้ทันที

สุดท้าย เขาอธิบายว่ามีหลายๆบริษัทพยายามมาศึกษาระบบการปลูกของที่นี่
แต่ที่จริงแล้วความยากไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่การขายอย่างไรต่างหากที่ยากกว่า

 

Successful business model of annual production in greenhouse

โดย Dennis Wang จากหน่วยงานTainan District Agricultural Research and Extension Station, COA

นำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในโรงเรือน ซึ่งรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในช่วงฤดูร้อนจะปลูกพืชผัก และฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก ซึ่งในฤดูร้อนปลูกพืชผักเพราะเป็นพืชอายุสั้น ราคาสูง จะได้กำไร เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ในฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก เช่น เบญจมาศ (Spray mums) Eustoma และมีการปลูกข้าว ข้าวโพด หรือพืชปุ๋ยสด ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว

IMG_7451

การปลูกมะเขือเทศนั้นจะเจริญเติบโตได้ดีในเดือนมีนาคม แต่ถ้าปลูกในช่วงเดือนเมษายนจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากผลผลิตขาดตลาด ราคาสูง สำหรับไม้ตัดดอกส่วนใหญ่จะส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

การปลูกพืชหมุนเวียนระบบนี้ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าปกติ และสามารถป้องกันการเกิดโรคพืชได้

1

ภาพที่ 11  รูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในฤดูร้อนและฤดูหนาวของประเทศไต้หวัน