Floriculture Research Center

ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนกล้วยไม้ ของศูนย์วิจัยการปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือน

IMG_7658

ภายในศูนย์วิจัยนี้ มีโรงเก็บเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น แบ่ง 2 ถัง คือถังน้ำเย็นและถังน้ำร้อน (ในถังน้ำร้อนถ้ามีอุณหภูมิสูงเกิน จะระบายออกไปอีกถังหนึ่งที่มีน้ำไหลFlowออกมานอกถัง)

DCIM101GOPROGOPR7094.

เมื่อทำน้ำร้อนน้ำเย็นแล้วจะถูกปั๊มเข้าไปเก็บไว้ในถังพัก และส่งไปใช้ในโรงเรือนโดยผ่านท่อใต้ดิน
ใช้solar cell เป็นแหล่งพลังงานประมาณ 10 % ของพลังงานที่ใช้ทำน้ำร้อนน้ำเย็น

อีกส่วนนึงคือ โรงเรือนปลูกกล้วยไม้ ด้านหนึ่งของโรงเรือนเป็น Cooling pad ขนาด 60×180ซ.ม. ใช้ 2 ชิ้นซ้อนกันในแนวตั้ง การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนจะใช้น้ำร้อนและน้ำเย็นที่ส่งผ่านท่อใต้ดินเข้ามา ผ่านเครื่องปล่อยอากาศร้อนเย็นออกมาด้านล่างของโต๊ะปลูก

IMG_7662

เมื่อต้องการปรับอุณหภูมิให้ลดลงจะส่งน้ำเย็นเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ต่ำสุด ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ในทางกลับกัน เมื่อต้องการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะส่งน้ำร้อนเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนได้ ประมาณ 55 – 100 องศาเซลเซียส
และเมื่อส่งน้ำเย็นพร้อมกับน้ำร้อนจะใช้ปรับความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ภายในโรงเรือน

DCIM101GOPROGOPR7098.

 

Ox Orchid ศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวัน

Ox Orchid เป็นศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวันเป็นโรงเรือนระบบ Evaporation มีพื้นที่ขนาด 200 เฮกตาร์ (1,250 ไร่) ส่งขายทุกระยะของกล้วยไม้ ทั้งแบบยังไม่มีดอกและออกดอกแล้ว

IMG_7639

โรงเรือนหลังคา 2 ชั้น ทำหน้าที่คนละอย่างกันคือ
– สีดำ เพื่อพรางแสงและกันแสงแดด
– สีเงิน สะท้อนความร้อนที่ขึ้นไปบนหลังคาให้ตกลงมาในโรงเรือน เพื่อกักเก็บความร้อนในฤดูหนาว

IMG_7634

ภายในโรงเรือนมีแถบกาวดักแมลงที่มีสารล่อแมลงให้มาเกาะ และเครื่องดักแมลง ล่อแมงด้วยแสงUV เปิดตอนกลางคืน ด้านล่างจะเป็นถุงให้แมลงตกลงไปแล้วออกมาไม่ได้ ส่วนวัสดุปลุกที่ใช้สำหรับปลุกกล้วยไม้ คือ Sphagnum moss

IMG_7629DCIM101GOPROGOPR7076.

โรงเรือน แบ่งเป็น 3 โซน ตามระยะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้และควบคุมอุณหภูมิแตกต่างกัน
1) ระยะต้นกล้า
2) ระยะเตรียมออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส
3) ระยะออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส

การวางตำแหน่งใบกล้วยไม้ Y Shape เพื่อให้ลมผ่านทั่วถึง ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดแรงงานในการเคลื่อนย้ายกล้วยไม้ การให้ปุ๋ยจะให้พร้อมกับการให้น้ำโดยใช้แรงงานคนทั้งหมด ให้คนรดน้ำที่โคนละต้น ในขณะเดียวกันก็ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกล้วยไม้ทีละต้นอย่างใกล้ชิดไปด้วย

IMG_7626

มีเครื่องทำน้ำร้อน และน้ำเย็น โดยจะปล่อยน้ำเข้ามาในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาล สามารถทำความเย็นได้ขนาดพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และทำความร้อนได้ขนาดพื้นที่ 5,200 ตารางเมตร การตั้งโรงเรือนกล้วยไม้จะหันด้าน Cooling Pad เข้าหากัน เพราะว่าอีกด้านของโรงเรือนจะมีพัดลมดูดอากาศร้อนออกมา

งานนำเสนอ1

IMG_7636

Sunpride กล้วยไม้ในโรงเรือน

เป็นบริษัทที่ปลูกกล้วยไม้ Phalaenopsis เพื่อการส่งออก ในพื้นที่ของบริษัทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และโรงเรือนปลูกกล้วยไม้

IMG_7516

 

ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ 50 unit มีการตรวจสอบการปนเปื้อนในระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5 ครั้ง ตลอดช่วงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยไม้ที่ผลิตจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งหมด ประเทศที่ส่งออก ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป

ที่บริษัทจะจัดแสดงรางวัลต่างๆที่เคยได้รับมา เป็นเครื่องยืนยันให้แก่ลูกค้าว่ากล้วยไม้จากที่นี่มีคุณภาพ สวยงาม

IMG_7461

บริษัท Sunpride มีห้องทดลองสำหรับคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยไม้ที่จะนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป เช่น
–             การหา Shelf Life ของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อทดสอบความทนทานของกล้วยไม้ มาตรฐาน Shelf Life ของกล้วยไม้ที่ดี คือ ไม้ตัดดอกต้องมี Shelf Life ประมาณ 1 เดือน ไม้กระถางต้องมี Shelf Life ประมาณ 3 เดือน หากสายพันธุ์ใดไม่สามารถอยู่ได้ครบตามกำหนดอายุที่กำหนด บริษัทจะไม่ผลิตเพื่อจำหน่าย
–             การทดสอบความแข็งแรงทนทานของกล้วยไม้ต่อการสั่นสะเทือนในระหว่างการขนส่ง มีเครื่องทดลองการสั่นสะเทือน โดยจะนำกล้วยไม้ไปวางที่เครื่องสั่นสะเทือนเป็นระยะเวลา 3 วัน (ระยะเวลา 3 วัน คือระยะเวลาที่บริษัทขนส่งกล้วยไม้ไปยังสถานที่ที่บริษัทขนส่งไกลที่สุด คือมอสโค)

1

โรงเรือนปลูก Phalaenopsis มีพื้นที่ 18,000 ตร.ม. (11.25ไร่) ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดการใช้แรงงานในการเคลื่อนย้ายกระถางปลูก เพราะเวลาส่วนใหญ่ที่คนงานใช้ จะหมดไปกับการเคลื่อนย้ายกระถาง 30 % จึงคุ้มค่าต่อการติดตั้งรางเลื่อน การเปิดลมภายในโรงเรือนจะเปิดพัดลมให้ไปทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดวางต้นไม้
ให้เหมาะกับทิศทางการเคลื่อนไหวของลม ลมที่เป่าเข้ามาปรับอุณหภูมิในโรงเรือนจะส่งผ่านเข้ามาทางท่อพลาสติกใส เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซ.ม. เจาะรูเป็นระยะ วางตามแนวยาวไปตามพื้น

สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเนื้อเยื่อจะปลูกแยกไปอีกโซน มีมีดสำหรับตัดเนื้อเยื่อของแต่ละกระถางโดยเฉพาะ จะไม่ใช้มีดร่วมกัน เพื่อลดการกลายพันธุ์ และลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

IMG_1898

Successful business model of annual production in greenhouse

โดย Dennis Wang จากหน่วยงานTainan District Agricultural Research and Extension Station, COA

นำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในโรงเรือน ซึ่งรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในช่วงฤดูร้อนจะปลูกพืชผัก และฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก ซึ่งในฤดูร้อนปลูกพืชผักเพราะเป็นพืชอายุสั้น ราคาสูง จะได้กำไร เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ในฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก เช่น เบญจมาศ (Spray mums) Eustoma และมีการปลูกข้าว ข้าวโพด หรือพืชปุ๋ยสด ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว

IMG_7451

การปลูกมะเขือเทศนั้นจะเจริญเติบโตได้ดีในเดือนมีนาคม แต่ถ้าปลูกในช่วงเดือนเมษายนจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากผลผลิตขาดตลาด ราคาสูง สำหรับไม้ตัดดอกส่วนใหญ่จะส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

การปลูกพืชหมุนเวียนระบบนี้ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าปกติ และสามารถป้องกันการเกิดโรคพืชได้

1

ภาพที่ 11  รูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในฤดูร้อนและฤดูหนาวของประเทศไต้หวัน

Floral Industry of Taiwan

การบรรยายเรื่อง Floral industry of Taiwan โดย Ting En จาก Floriculture Research Center (FRC) Taiwan Agricultural Research Institute ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ Council of Agriculture, Executive Yuan ได้นำเสนอว่า Floriculture Research Center เป็นศูนย์วิจัยที่มีภารกิจในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ มีการใช้โรงเรือนสำหรับการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ประมาณ 10,000 ตารางเมตรพืชหลักที่สำคัญ มี 4 พืช คือ

  1. Cut Flowers, Cut leaves ไม้ตัดดอกและไม้ใบ เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ ลิลลี่ ซ่อนกลิ่นฝรั่ง (gladiolus)

ไม้ตัดดอกตัดใบ มักเอาไปประดับในพิธีกรรมทางศาสนา และตามวัด ทำช่อดอกไม้

  1. Pot plant, Foliage Ornament ต้นไม้กระถาง เช่น เฟิร์น, lucky bamboo, cattleya
  2. Ornamental tree ต้นไม้ใหญ่ไม้ยืนต้นสำหรับประดับสวน เป็นชนิดที่มีมากที่สุด สร้างเป็นที่พักผ่อน ทำกิจกรรมกรีนๆ
  3. Bedding Plant เช่น หญ้าสนาม คอสมอส ทานตะวัน ใช้ในสวน ที่สาธารณะ ตกแต่งพื้น บางทีก็เอาไปประดับกำแพงตึก เป็นสวนแนวตั้ง หรือทำเป็นรั้ว

 

Reference: รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Floral Industry of Taiwan” โดย Ting En จาก Floriculture Research Center (FRC) ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

งานนำเสนอ1

สำหรับอุตสาหกรรมไม้ดอกของไต้หวัน ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ประมาณ 590 ล้าน NTD ต่อปี มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ จำนวน 86 ประเทศ

ไม้ดอกเป็นไม้ที่เพิ่มมูลค่าได้มากที่สุด
และดอกที่มูลค่ามากที่สุดคือกล้วยไม้ ถูกเรียกว่าเป็น “Money Plant, but not easy money”
ก็คือไม่ได้ปลูกกันง่ายๆ ไม่ได้เงินมาง่ายๆ