โรงงานเห็ด Refung Mushroom farm

เป็นฟาร์มเห็ดที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงาน TARI (Taiwan Agricultural Research Institute)

ทำการเพาะเห็ดมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี เห็ดที่ผลิตปัจจุบัน คือ เห็ด King Oyster ทางฟาร์มจะจำหน่ายเห็ดสด ก้อนเห็ดพร้อมเปิดดอก และจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดที่เปิดดอกแล้วสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์

 

การผลิตเห็ด

วัสดุที่ใช้ทำก้อนเห็ด ประกอบด้วย ขี้เลื่อย รำข้าว แกนข้าวโพดป่น ปูนขาวเพื่อปรับ pH

IMG_8394

ขั้นตอน

  1. ตากแดดขี้เลื่อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงจะนำมาใช้ได้ และนำมาผสมในถังผสมขนาด 1 ตัน ต่อรอบกันผสม ผสมครั้งละ 50 นาที ใช้ขี้เลื่อย 70% มีการปรับ pH ให้เหมาะสม ซึ่ง King Oyster ชอบ pH =5.6
  2. นำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว นำมาบรรจุใส่ถุง ถุงละ 2 kg โดยใช้เครื่องมือแบบกึ่งอัติโนมัติ เมื่อกรอกขี้เลื่อยลงถุงแล้ว จะใช้แรงงานในการปิดฝาถุง จากนั้นจึงนำไปใส่ตะกร้า 10 ถุงต่อตะกร้าหนึ่งใบ หลังจากนั้นก็ผ่านเครื่องเจาะรูสำหรับใส่สปอร์ เจาะลงไปถึงกลางถุง จากนั้นจึงอุดด้วยสำลี และปิดตะกร้าด้วยแผ่นพลาสติกสีดำ นำไปวางบนชั้นเพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายเข้าสูงถังอบไอน้ำ
    • IMG_8400
  3. อบไอน้ำ ในถังี่มีท่อต่อมาจากเครื่องทำไอน้ำ อบที่อุณหภูมิมากกว่า 120องศา อบได้ครั้งละ 2ตัน  2,400 ถุง แล้วทิ้งไว้ให้เย็นลงมาที่ 25 องศา ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 ชม.
  4. ย้ายมาอีกห้องสำหรับเขี่ยเชื้อ
  5. ย้ายมาเก็บที่ห้องบ่มเชื้อ อุณหภูมิ 22 องศา ระยะเวลา 1 เดือน
    • IMG_8404
  6. ย้ายมาที่ห้องเปิดดอก อุณหภูมิ 20 องศา ความชื้นต่ำประมาณ 70% มีการตรวจสอบการเดินของเส้นใยต้องเต็มถุง ต้องมีคุณภาพที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ถ้าติดเชื้อจะมีสีเขียวหรือดำก็จะนำออกไปทำลาย ระยะเวลา 1 อาทิตย์จึงจะออกดอก ในช่วงนี้จะมีการขายด้วย ก้อนเห็ดของที่นี่จะได้คุณภาพดีไม่มีการปนเปื้อน 95%
    • การวางก้อนเห็ด จะวางที่มุม 45องศาจากพื้น
    • IMG_8405
  7. ย้ายมาอีกห้อง ที่ลดอุณหภูมิลงมาที่ 16องศา ความชื้อสัมพัทธ์ 80% ปรับความชื้อโดยการสเปรน้ำจากด้านบน เก็บไว้ในห้องนี้ประมาณ 10 วัน ที่นี่ไม่มีปัญหาในการติดเชื้ออื่นด้านนอก เพราะมีการควบคุมความสะอาดอย่างดีทั่วบริเวณ และเห็ดของที่นี่จะแข็งแรง ไม่ติดเชื้อได้ง่ายๆ
    • IMG_8416
  8. ย้ายมาที่ห้องเก็บผลผลิตอีก 1 อาทิตย์ อุณหภูมิ 16 องศา ความชื้น 90% และเก็บผลผลิดเพียงแค่ครั้งเดียว 1 ก้อนสามารถเก็บผลผลิตได้ 250-280g ขนาดที่ได้จะยาวประมาณ 15 ซม.
  9. ย้ายมาที่ห้องคัดเกรด ซึ่งแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
  10. ตัดแต่ง
  11. แยกขนาด แบ่งเป็น 4 เกรด A,B,C,D โดยเกรด A,B นำไปขายที่ Super market ส่วน C,Dขายตามโรงแรมและร้านอาหาร ตลาดทั่วไป
  12. บรรจุถุงให้ได้น้ำหนักถุงละ 1 กก.

ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่บรรจุก้อนจนถึงเก็บเกี่ยว ระยะเวลา 2เดือน

หลังจากศึกษาดูงานที่ฟาร์มเห็ด Refung Mushroom farm ได้ศึกษาดูงานกลุ่มงานรับผิดชอบเรื่องการผลิตเห็ด ของหน่วยงาน TARI ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เห็ด แสดงตัวอย่างเห็ดชนิดต่างๆ พร้อมอธิบายสรรพคุณและการใช้ประโยชน์

IMG_8429

ในปี 2016 ประเทศไต้หวันมีการส่งออกเห็ดและมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 430 ล้าน NTD เห็ดที่สำคัญของประเทศไต้หวัน ได้แก่

  1. เห็ดชิตาเกะ
  2. King Oysters
  3. เห็ดเข็มทอง
  4. Oyster
  5. เห็ดหูหนู

ภายในศูนย์วิจัยของ TARI มีการวิจัยการเพาะเห็ด แบบ Plant factory โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีระบบควบคุมและมี Sensor ควบคุมสภาพอากาศภายในตู้ เชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปที่โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ ด้านบนตู้คอนเทนเนอร์จะมีแผงโซล่าเซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้ภายในตู้

DCIM101GOPROGOPR7482.

ข้อดีของการเพาะเห็ดแบบนี้ คือ สามารถเคลื่อนย้ายนำไปเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้

IMG_8539

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

แก้วมังกร ของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ไต้หวัน

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0043

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตแก้วมังกร Yuh – Tay Farm เป็นแปลงของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ปลูกแก้วมังกรอายุประมาณ 3 ปี ตามมาตรฐาน GAP พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ของประเทศไต้หวัน ชื่อพันธุ์ Big Red เนื้อมีสีแดง ซึ่งเป็นสีที่มงคลทำให้สามารถขายได้ราคาดี ประมาณกิโลกรัมละ 80 – 100 NTD

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0042

พื้นที่ 1 เฮกตาร์ สามารถให้ผลผลิต 60,000 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต (1 รอบการผลิตเวลาประมาณ 6 เดือน) ระยะปลูก ระยะระหว่างร่องประมาณ 200 เซนติเมตร ระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร

การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยใช้ต้นพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ปลูกลึกลงไปในดินประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร

Yuh – Tay Farm จะแบ่งแปลงปลูกแก้วมังกร ออกเป็น 2 โซน คือ โซนแปลงที่ปลูกแก้วมังกรที่ให้ผลผลิตในฤดู และนอกฤดู แต่แปลงจะให้ผลผลิตเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นจะมีการพักต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน แก้วมังกร 1 กิ่งจะไว้ผล จำนวน 1 ผล โดยปกติแก้วมังกร 1 กิ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 16 ผล แต่ทางสวนมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจึงมีการไว้ผลสลับ เพราะฉะนั้น 1 กิ่ง จะให้ผลผลิตจำนวน 8 ผลเท่านั้น

หลังจากที่แก้วมังกรออกดอกเป็นระยะเวลา 30 วัน ผลแก้วมังกรจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง การตัดแต่งกิ่งจะไว้กิ่งแต่ละกิ่งยาวจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร และไว้ต้นแขนงให้ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อให้ธาตุอาหารต่างๆ เพียงพอในการเลี้ยงลำต้น และเป็นการช่วยเร่งการออกดอก

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0046

การทำผลิตแก้วมังกรนอกฤดู จะไม่ไว้ผลในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม และมีการเพิ่มแสงเพื่อยืดระยะเวลาในการออกผลให้ยาวออกไป โดยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผิตในตลาดมีจำนวนน้อย ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่ในบางครั้งถ้าอากาศหนาวเกินไปผลผลิตจะได้ไม่ถึง 3 ครั้ง

ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช คือ โรคแคงเกอร์ (Canker) โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) และโรครากเน่าในช่วงฤดูฝน มีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคประมาณ 3 ครั้งต่อปี ประโยชน์ของการปลูกแก้วมังกรในโรงเรือน เพื่อให้ประหยัดแรงงานในการห่อผล ป้องกันแมลงวันผลไม้ที่มาเจาะผล และเมื่อต้นแก้วมังกรมีอายุประมาณ 10 ปี จะมีการรื้อแปลงและปลูกใหม่ เนื่องจากต้นที่แก่จะเกิดโรคได้ง่าย ปลูกไปแล้วประมาณ 10 ปีจะปลูกใหม่

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0020

การผลิตมะละกอของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)ไต้หวัน

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตมะละกอ เป็นแปลงปลูกมะละกอในโรงเรือนของเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 0.2 เฮกตาร์ รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 500,000 NTD

IMG_7810

พันธุ์มะละกอที่ใช้ คือ สายพันธุ์ Tainung 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดย Taiwan Agricultural Research Institute, Council of Agriculture, Executive Yuan (TARI) เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ก้านยาว ข้อดีของมะละกอที่มีก้านยาวนั้นจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากผลไม่เบียดกัน และมะละกอไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (Non – GMO) ปลอดโรคจากเชื้อไวรัส เนื่องจากมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

IMG_7811

ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมจะลงปลูกในแปลงจะมีอายุประมาณ 6 เดือน ความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร มีใบ จำนวน 4 – 5 ใบ ราคาต้นกล้า 25 NTD ต่อต้น

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0001

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0056

สาเหตุที่เกษตรกรปลูกมะละกอในโรงเรือนตาข่ายเพื่อป้องกันผลกระทบจากไต้ฝุ่น และป้องกันเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบจุดวงแหวน (Papaya ring spot) ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะสร้างโรงเรือนที่มีความสูงประมาณ 4 เมตร ในบางพื้นไม่มากจะสามารถสร้างโรงเรือนสูงได้ถึง 5 เมตร

มะละกอจะมีอายุประมาณ 4 – 5 ปี โดยใน 1 ปี มะละกอจะให้ผลผลิตจำนวน 3 รุ่นๆ ละ 30 ลูก ระยะปลูก ปลูกมะละกอบนร่องแบบสลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.50 เมตร คลุมดินด้วยพลาสติก 2 ชั้น เพื่อรักษาความชื้น พลาสติกชั้นล่างจะเป็นสีดำและชั้นบนเป็นสีเทา

เนื่องจากประเทศไต้หวันได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่นจึงจำเป็นต้องปลูกมะละกอในโรงเรือน แต่ด้วยมะละกอเป็นไม้ผลที่มีลำต้นสูงจึงมีการโน้มลำต้นให้เตี้ยลง การโน้มต้นจะทำให้ต้นเตี้ยลงไม่ชนหลังคาโรงเรือน ลำต้นที่เตี้ยจะลดแรงต้านลม และการโน้มต้นจะทำให้มะละกอออกดอกเร็วขึ้นด้วย

เมื่อต้นมะละกอสูงจนติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 1 จะมีการโน้มต้นมะละกอลงมา และเมื่อต้นมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 2 จึงตัดต้นมะละกอครึ่งต้นเพื่อให้มะละกอแตกใหม่ และเมื่อมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 3 ถอนต้นมะละกอออกทั้งหมดแล้วจึงปลูกมะละกอต้นใหม่ เมื่อปลูกมะละกอ 2 รอบ (8 – 10 ปี) จึงทำการรื้อแปลงและไถพลิกหน้าดิน ลึกประมาณ 2 เมตร

อุณหภูมิในโรงเรือนจะสูงกว่าภายนอกโรงเรือนประมาณ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้มะละกอมีความหวานมากกว่าการปลูกนอกโรงเรือนประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) ความหวานของมะละกอที่ปลูกในโรงเรือนความหวานจะอยู่ที่ 13 – 15 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิตประมาณ 100 ตันต่อรุ่น

วิธีการโน้มต้นมะละกอ

ชมคลิป https://youtu.be/-kwlSbQ4qUE

  1. กรีดลำต้นมะละกอตามแนวตั้งจำนวน 2 รอยให้ตรงข้ามกัน ตัดเนื้อเยื่อมะละกอด้านที่จะเอียงออก เพื่อให้สามารถเอียงต้นมะละกอได้สะดวก

2. จากนั้นดึงต้นมะละกอให้เอียงประมาณ 45องศา ใช้เชือกผูกยึดไว้กับลวดเหล็กเพื่อไม่ให้ต้นมะละกอล้ม

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0040

3. ใช้ CaCo3 ผสมกับยาป้องกันเชื้อราทาบริเวณรอยกรีด เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและให้แผลมะละกอประสานกัน

 

 

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0049

การให้น้ำใช้ระบบน้ำหยดภายในแปลงปลูกมะละกอมีเครื่องวัดความชื้นในดิน จำนวน 2 อัน วัดความชื้นที่ระดับความลึก 30 และ 60 เซนติเมตร การให้น้ำจะพิจารณาจากเครื่องวัดความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร เมื่อเครื่องมีความชื้นต่ำกว่า 30 กิโลปาสคาล (kPa) จะต้องมีการให้น้ำ ในฤดูร้อน จะให้น้ำทุก 3 – 4 วัน และในฤดูหนาวจะให้น้ำทุก 7 วัน

IMG_7819

การให้ปุ๋ยสูตร 20 – 20 – 20 จำนวน 3 ครั้งต่อเดือน ร่วมกับการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด การไว้ผลมะละกอจะมีการเด็ดดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออก เหลือไว้แต่ดอกกะเทย เนื่องจากดอกกระเทยจะให้ผลที่มีความสมบูรณ์ เนื้อหนา เมล็ดน้อย ในแต่ละรุ่นจะมีการไว้ผลประมาณ 30 ผลต่อต้น ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่พบ คือ ไรแมงมุม (Spider mite) จัดการโดยใช้น้ำฉีด

IMG_7886.JPG

Agricultural Engineering Division: TARI

Agricultural Engineering Division ของศูนย์วิจัย TARI เป็นที่วิจัยเรื่อง Plant Factory

ที่นี่กำลังวิจัยอะไรหลายๆอย่างให้เราดูกัน เช่น..
1. การทดสอบความแตกต่างระหว่างการใช้แสง LED และ Fluorescence ในการปลูกพืชระบบ Plant Factory พบว่าประสิทธิภาพของแสงทั้ง 2 ชนิด ไม่แตกต่างกันเนื่องจากมีต้นทุนและพลังงานที่ใช้ใกล้เคียงกัน แต่ LED จะดีกว่าตรงที่สามารถปรับความเข้มแสง และสีของแสงให้เหมาะสมกับชนิดพืชได้

IMG_7686

IMG_7693

 

2. ทางสถานีวิจัยได้ทดลองทำ Plant Factory ระบบรางเลื่อน โดยใช้กล้าพืชที่อายุ 14 วัน ย้ายปลูกในบนชั้น ระหว่างที่ต้นกล้าค่อยๆเติบโต รางก็จะค่อยๆเลื่อนไปจนถึงจุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี มีระบบไฮโดรลิคยกถาดออกมาด้านนอก สำหรับนำไปบรรจุใส่ถุงต่อได้
มีตัววัดค่า EC และ pH เสียบอยู่ที่ถาดปลูกเพื่อส่งข้อมูลไปประมวลที่คอมพิวเตอร์ และ pH ผักที่ปลูกจาก Plant Factory นี้สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องล้าง

DCIM101GOPROGOPR7111.

IMG_7695

3. ทดลอง Plant factory ในรูปแบบตู้กระจก Show Case สำหรับติดตั้งในร้านอาหาร เพื่อแสดงวิธีการปลูกพืชผักระบบนี้ให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลผลิต

DCIM101GOPROGOPR7107.

4. Mini Garden เป็นชุดปลูกพืชผักระบบ Plant factory 3ชั้น มีขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อยเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ถังน้ำและปุ๋ยตั้งอยู่ด้านล่าง โดยมีปั๊มส่งน้ำขึ้นไปข้างบน และไหลลงมาสู่ชั้นล่างๆ

ชุดปลูกสำหรับปลูกในบ้าน

Mini Garden