สวนผักออแกนิก Taoyuan

เยี่ยมชมสวนผัก ที่เป็นหนึ่งในสวนผักออแกนิกที่ส่งผักให้ Taoyuan City Farm Association

เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่นี่เป็นทุ่งรกร้างมานาน จึงไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ เกาตรกรเจ้าของที่แห่งนี้คิดว่าเหมาะแก่การเพาะปลูกแบบออแกนิก จึงเริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน ต้นทุนในการสร้างโรงเรือน โรงละประมาณ 60,000บาท ใช้เงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด 10ล้าน และค่าเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆอีก 2 ล้าน

ขนาดโรงเรือน 5×20 เมตร (100ตร.ม.) มีทั้งหมด 86 โรงเรือน มีคนทำงาน 8 คน (รวมเจ้าของ)

มีแผ่นพลาสติก PEดำ กั้นด้านข้างโรงเรือนบริเวณพื้น เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก และป้องกันดินไม่ให้ไหลออกมาด้านนอก บริเวณด้านนอกโรงเรือน มีการปูพื้นด้วย PEสีดำป้องกันวัชพืชที่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงได้

การเพาะปลูก

25600914ออแกนนิก_๑๗๑๐๐๙_0039

ช่วงก่อนปลูกมีการกำจัดหญ้าวัชพืช โดยใช้ไฟเผาที่ความร้อน 700 องศา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะนำไก่เข้ามาช่วยเก็บกินเมล็ดพืชและแมลง ช่วยคุ้ยเขี่ยพรวนดิน แล้วยังได้ขี้ไก่มาเป็นปุ๋ยในดินด้วย

ที่นี่จะเพาะเมล็ดเอง เพราะไม่กล้าซื้อต้นกล้าจากที่อื่น เกรงว่าจะไม่ออแกนิกจริงๆ
ระบบน้ำเป็นแบบสเปรย์ด้านบน ไม่มีการให้น้ำบนพื้น
ในช่วงที่มีหญ้ารกร้าง จะใช้แรงงานคนมาถอนออก ไม่ใช้ยาใดๆ

IMG_8474

เครื่องให้ปุ๋ยที่สามารถจ่ายปุ๋ยได้ครั้งละ 100 กก.

1

ป้องกันและกำจัดแมลง

  • ใช้ BT
  • การปลูกพืชหมุนเวียนสลับไปในแต่ละโรง เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง ลดการสะสมโรค
  • ใช้กำดักกาวเหนียวในการดักแมลง

ผลผลิตของที่นี่จะขนส่งไปยังสหกรณ์(ซึ่งจะนำไปส่งต่อไปยังโรงเรียน)ด้วยรถเย็น และที่เหลือก็ส่งขายที่ Super Market ได้ราคากก.ละ 100 บาท

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์ให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้การปลูก สาธิตให้เด็กใช้เครื่องมือต่างๆ วิธีการลงปลูก และยังเป็นที่อบรมของกลุ่ม Young Farmer

IMG_8497IMG_8542

Taoyuan City Farm Association สหกรณ์ผักอินทรีย์เพื่อโรงเรียน

Taoyuan City Farm Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งให้โรงเรียน และจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน

IMG_8464

มีสมาชิก 46 ราย พื้นที่ปลูกผักจำนวน 32.2 เฮกตาร์ โรงเรือน จำนวน 3,220 โรงเรือน

ทางกลุ่มจะรวบรวมผักจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเข้ามาคัดแยก ทำความสะอาด และตัดแต่งก่อนส่งไปจำหน่าย โดยโรงงานจะรับผักจากเกษตรกร 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 45 ตันต่อสัปดาห์

ผักของทางกลุ่มมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำ ผักบุ้ง ผักขมผักกาดขาว ฟักทอง และแรดิช (Radish) ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะมีการปลูกผักพื้นบ้านแล้วแต่ฤดูกา สำหรับในช่วงไต้ฝุ่นเข้า จะมีการวางแผนการผลิตให้มีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นๆ

คนชอบกินผักหลายแบบ เขาจึงต้องรวบรวมผักหลายชนิดมาขาย ที่สหกรณ์จะมีการวางแผนการปลูก ตามความต้องการของโรงเรียนต่างๆ และกำหนดไปว่าจะให้เกษตรกรปลูกอะไร เมื่อไหร่บ้าง

ที่โรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 15 ราย แบ่งหน้าที่กันทำต่างๆกันไป ได้แก่

  • ควบคุมเกษตรกร ไปดูตามสวนต่าง 1 คน
  • จัดการเกี่ยวกับการส่งไปยังโรงเรียน 2 คน
  • ควบคุมpackaging 1คน
  • ตรวจสอบสารเคมี คุณภาพ 1 คน
  • ตัดแต่งผัก ล้างผัก ในโรงงาน 10 คน

ทุกๆสัปดาห์จะมีการสุ่มเช็ดคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรจำนวน 10 % จากเกษตรกรทั้งหมด

IMG_8459

ผลผลิตของทางกลุ่มได้รับมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรคนไหน

ผลผลิตที่เข้าโรงงานนี้จะส่งไปที่โรงเรียนเท่านั้น สำหรับผลผลิตจากแปลงเกษตรกรที่เหลือจะส่งไปจำหน่ายที่อื่น ถ้ามีการตรวจพบสารเคมีตกค้าง จะหยุดรับผลผลิตจากเกษตรกรคนนั้น จะไม่มีการปรับ แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการผลิตผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ขั้นตอนการจัดการผลผลิต

  1. นำผักที่มาจากเกษตรกรส่งเข้ามาในโรงงาน ใช้ตะกร้าสีน้ำเงิน และคัดคุณภาพโดยคน
    • IMG_8543
  2. นำมาเข้าเครื่องสับ
    • IMG_8446
  3. ล้างด้วยน้ำ 3 ขั้นตอนคือ ล้างดิน ล้างน้ำแรงๆเพื่อให้คราบที่ติดหนาแน่นออก และจึงล้างน้ำเย็น 4 องศา และพ่นด้วยน้ำคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้ออิโคไล และเป็นการลดกระบวนการออกซิเดชั่นของพืช
  4. เป่าลมและ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคน
    • 4
  5. นำใส่ตะกร้าสีเขียว มีถุงพลาสติกห่อหุ้มผัก เตรียมส่งไปยังโรงเรียน ตะกร้าละ 20 kg
  6. นำไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรอส่งในเช้าวันต่อไป ผลผลิตจะต้องถึงโรงเรียนก่อนตี 4 เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทำอาหารในเวลา 6 โมงเช้า

จะมีเครื่องล้างตะกร้า ที่อุณหภูมิ –7องศา หลังจากการใช้งาน โดยมีตะกร้าสีน้ำเงิน ใช้สำหรับขนผักจากแปลงเกษตรกรมายังโรงงาน และตะกร้าสีเขียวสำหรับขนผักจากโรงงานไปยังโรงเรียน

5

ทางกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายผลผลิตราคากิโลกรัมละ 75 NTD เกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 66 NTD จะจ่ายเงินให้เกษตรกรหลังจากรับผลผลิตมาแล้วประมาณ 7 – 10วัน ส่วนต่างของราคาจำหน่ายทางกลุ่มจะใช้ในการบริหารจัดการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งเข้าโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าผักให้โรงเรียนกิโลกรัมละ 60 NTD และโรงเรียนจ่ายเองกิโลกรัมละ 15 NTD โดยคิดเป็นมูลค่าที่รัฐบาลสนับสนุนปีละ 50 ล้าน NTD

นอกจากนั้นทางกลุ่มเกษตรกร ก็มีการสอนและให้ความรู้เรื่องการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนด้วย

 

ข้อดีของระบบนี้คือ

  • โรงเรียนได้ผักที่ส่งมานี้จะสะอาด พร้อมปรุง (ล้างและหั่นเรียบร้อยจากโรงงาน ประหยัดแรงงานในโรงครัว)
  • เด็กได้กินผักที่ดี ปลอดภัยและสะอาดจากสวน
  • แก้ปัญหาสุขภาพของเมือง
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย