Floriculture Research Center

ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนกล้วยไม้ ของศูนย์วิจัยการปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือน

IMG_7658

ภายในศูนย์วิจัยนี้ มีโรงเก็บเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น แบ่ง 2 ถัง คือถังน้ำเย็นและถังน้ำร้อน (ในถังน้ำร้อนถ้ามีอุณหภูมิสูงเกิน จะระบายออกไปอีกถังหนึ่งที่มีน้ำไหลFlowออกมานอกถัง)

DCIM101GOPROGOPR7094.

เมื่อทำน้ำร้อนน้ำเย็นแล้วจะถูกปั๊มเข้าไปเก็บไว้ในถังพัก และส่งไปใช้ในโรงเรือนโดยผ่านท่อใต้ดิน
ใช้solar cell เป็นแหล่งพลังงานประมาณ 10 % ของพลังงานที่ใช้ทำน้ำร้อนน้ำเย็น

อีกส่วนนึงคือ โรงเรือนปลูกกล้วยไม้ ด้านหนึ่งของโรงเรือนเป็น Cooling pad ขนาด 60×180ซ.ม. ใช้ 2 ชิ้นซ้อนกันในแนวตั้ง การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนจะใช้น้ำร้อนและน้ำเย็นที่ส่งผ่านท่อใต้ดินเข้ามา ผ่านเครื่องปล่อยอากาศร้อนเย็นออกมาด้านล่างของโต๊ะปลูก

IMG_7662

เมื่อต้องการปรับอุณหภูมิให้ลดลงจะส่งน้ำเย็นเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ต่ำสุด ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ในทางกลับกัน เมื่อต้องการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะส่งน้ำร้อนเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนได้ ประมาณ 55 – 100 องศาเซลเซียส
และเมื่อส่งน้ำเย็นพร้อมกับน้ำร้อนจะใช้ปรับความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ภายในโรงเรือน

DCIM101GOPROGOPR7098.

 

Ox Orchid ศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวัน

Ox Orchid เป็นศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวันเป็นโรงเรือนระบบ Evaporation มีพื้นที่ขนาด 200 เฮกตาร์ (1,250 ไร่) ส่งขายทุกระยะของกล้วยไม้ ทั้งแบบยังไม่มีดอกและออกดอกแล้ว

IMG_7639

โรงเรือนหลังคา 2 ชั้น ทำหน้าที่คนละอย่างกันคือ
– สีดำ เพื่อพรางแสงและกันแสงแดด
– สีเงิน สะท้อนความร้อนที่ขึ้นไปบนหลังคาให้ตกลงมาในโรงเรือน เพื่อกักเก็บความร้อนในฤดูหนาว

IMG_7634

ภายในโรงเรือนมีแถบกาวดักแมลงที่มีสารล่อแมลงให้มาเกาะ และเครื่องดักแมลง ล่อแมงด้วยแสงUV เปิดตอนกลางคืน ด้านล่างจะเป็นถุงให้แมลงตกลงไปแล้วออกมาไม่ได้ ส่วนวัสดุปลุกที่ใช้สำหรับปลุกกล้วยไม้ คือ Sphagnum moss

IMG_7629DCIM101GOPROGOPR7076.

โรงเรือน แบ่งเป็น 3 โซน ตามระยะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้และควบคุมอุณหภูมิแตกต่างกัน
1) ระยะต้นกล้า
2) ระยะเตรียมออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส
3) ระยะออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส

การวางตำแหน่งใบกล้วยไม้ Y Shape เพื่อให้ลมผ่านทั่วถึง ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดแรงงานในการเคลื่อนย้ายกล้วยไม้ การให้ปุ๋ยจะให้พร้อมกับการให้น้ำโดยใช้แรงงานคนทั้งหมด ให้คนรดน้ำที่โคนละต้น ในขณะเดียวกันก็ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกล้วยไม้ทีละต้นอย่างใกล้ชิดไปด้วย

IMG_7626

มีเครื่องทำน้ำร้อน และน้ำเย็น โดยจะปล่อยน้ำเข้ามาในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาล สามารถทำความเย็นได้ขนาดพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และทำความร้อนได้ขนาดพื้นที่ 5,200 ตารางเมตร การตั้งโรงเรือนกล้วยไม้จะหันด้าน Cooling Pad เข้าหากัน เพราะว่าอีกด้านของโรงเรือนจะมีพัดลมดูดอากาศร้อนออกมา

งานนำเสนอ1

IMG_7636

Sunpride กล้วยไม้ในโรงเรือน

เป็นบริษัทที่ปลูกกล้วยไม้ Phalaenopsis เพื่อการส่งออก ในพื้นที่ของบริษัทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และโรงเรือนปลูกกล้วยไม้

IMG_7516

 

ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ 50 unit มีการตรวจสอบการปนเปื้อนในระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5 ครั้ง ตลอดช่วงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยไม้ที่ผลิตจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งหมด ประเทศที่ส่งออก ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป

ที่บริษัทจะจัดแสดงรางวัลต่างๆที่เคยได้รับมา เป็นเครื่องยืนยันให้แก่ลูกค้าว่ากล้วยไม้จากที่นี่มีคุณภาพ สวยงาม

IMG_7461

บริษัท Sunpride มีห้องทดลองสำหรับคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยไม้ที่จะนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป เช่น
–             การหา Shelf Life ของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อทดสอบความทนทานของกล้วยไม้ มาตรฐาน Shelf Life ของกล้วยไม้ที่ดี คือ ไม้ตัดดอกต้องมี Shelf Life ประมาณ 1 เดือน ไม้กระถางต้องมี Shelf Life ประมาณ 3 เดือน หากสายพันธุ์ใดไม่สามารถอยู่ได้ครบตามกำหนดอายุที่กำหนด บริษัทจะไม่ผลิตเพื่อจำหน่าย
–             การทดสอบความแข็งแรงทนทานของกล้วยไม้ต่อการสั่นสะเทือนในระหว่างการขนส่ง มีเครื่องทดลองการสั่นสะเทือน โดยจะนำกล้วยไม้ไปวางที่เครื่องสั่นสะเทือนเป็นระยะเวลา 3 วัน (ระยะเวลา 3 วัน คือระยะเวลาที่บริษัทขนส่งกล้วยไม้ไปยังสถานที่ที่บริษัทขนส่งไกลที่สุด คือมอสโค)

1

โรงเรือนปลูก Phalaenopsis มีพื้นที่ 18,000 ตร.ม. (11.25ไร่) ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดการใช้แรงงานในการเคลื่อนย้ายกระถางปลูก เพราะเวลาส่วนใหญ่ที่คนงานใช้ จะหมดไปกับการเคลื่อนย้ายกระถาง 30 % จึงคุ้มค่าต่อการติดตั้งรางเลื่อน การเปิดลมภายในโรงเรือนจะเปิดพัดลมให้ไปทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดวางต้นไม้
ให้เหมาะกับทิศทางการเคลื่อนไหวของลม ลมที่เป่าเข้ามาปรับอุณหภูมิในโรงเรือนจะส่งผ่านเข้ามาทางท่อพลาสติกใส เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซ.ม. เจาะรูเป็นระยะ วางตามแนวยาวไปตามพื้น

สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเนื้อเยื่อจะปลูกแยกไปอีกโซน มีมีดสำหรับตัดเนื้อเยื่อของแต่ละกระถางโดยเฉพาะ จะไม่ใช้มีดร่วมกัน เพื่อลดการกลายพันธุ์ และลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

IMG_1898

Benson KUO มะเขือเทศในโรงเรือน

บริษัทBenson KUO ได้มีการนำเข้าโครงสร้างของโรงเรือนจากเนเธอร์แลนด์ (แบบ Venlo Greenhouse) ควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและใช้ระบบน้ำหยด มีระบบแจ้งเตือนในกรณีที่ระบบพบความผิดปกติภายในโรงเรือน

IMG_7456IMG_7457

  1. กระบวนการปลูก
    • เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบคทีเรียและศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดโรคจากภายนอกเข้ามา จึงมีการควบคุมความสะอาดอย่างเข้มงวด และคนงานทุกคนที่เข้าออกจากโรงเรือน จะต้องเปลี่ยนชุด และฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง
    • ติดแถบกาวเหลืองดักแมลง เป็นแนวยาวตลอดทั้งแถวที่ปลูก
    • ความสูงของต้น สูง 3 เมตร คนงานจะคอยเข้าไปตัดแต่งกิ่ง และพันเถามะเขือเทศเลื้อยขึ้นไปตามเชือกในแนวดิ่ง
    • วัสดุปลูกที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ คือ ขุยมะพร้าวฆ่าเชื้ออัดแท่ง นำเข้าจากประเทศศรีลังกา ใน 1 แท่งยาว 2 เมตร สามารถปลูกได้ 3ต้น และใช้ได้นาน 1 ปี (2 Crop)
  2. การมอนิเตอร์และควบคุมสภาพแวดล้อม
    • ระบบควบคุมภายในโรงเรือนด้วยคอมพิวเตอร์จากเนเธอแลนด์ ประกอบด้วย ตัวควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องวัดแรงลม พัดลมช่วยหมุนเวียนอากาศ การเปิดปิดหลังคาโรงเรือนเพื่อระบายอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ เครื่องควบคุมการให้น้ำ เปิดปิดวาล์ว เครื่องฆ่าเชื้อน้ำ
    • ข้อดีคือ ทำงานได้ดีหมดทุกอย่าง แต่ราคาแพง
    • 20170905_7_KUO_Vege. growers of Taiwan - Tomato
  3. การให้ปุ๋ย
    • ให้ปุ๋ยโดยละลายไปพร้อมกับน้ำ และมีการนำน้ำที่เป็นส่วนเกินจากที่พืชไม่ใช้ นำกลับมา Reuseใช้อีกครั้ง โดยผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำกลับเข้ามาในระบบใหม่
    • ใช้ระบบน้ำหยด
    • มีเซนเซอร์วัดความชื้นของวัสดุปลูก และชั่งน้ำหนักวัสดุปลูกเป็นระยะๆ เพื่อคำนวณว่าพืชใช้น้ำไปปริมาณเท่าไหร่ (น้ำที่ให้ – น้ำที่เหลือ = น้ำที่ใช้ไป) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อปรับปริมาณการให้น้ำและสารอาหารให้เหมาะสมต่อไป
  4. การผสมเกสรตามธรรมชาติ
    • ใช้ผึ้ง Bumble Bee นำเข้าจากเบลเยียมเพื่อช่วยผสมเกสรให้มะเขือเทศ
    • 3
  5. การตลาด

ก่อนจะปลูกอะไร ต้องคำนึงถึง
5.1 ความต้องการของตลาด
5.2 แนวทางการทำการตลาด ตลาดเป้าหมาย
5.3 Scaleที่ควรทำ ใหญ่แค่ไหนจึงจะเหมาะสม
5.4 ต้องมีผู้จัดการฟาร์มที่ดีเหมาะสม
5.5 มีเทคโนโลยีที่ดีและเหมาะสม
และที่สำคัญคือต้องมี connectionที่ดีกับ supplier, มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, support team

เมื่อถามถึงปัญหา ว่าเคยมีเหตุการณ์ที่ระบบมันErrorทำงานผิดพลาดบ่อยไหม ก็ได้รับคำตอบว่า

“มีทุกวัน ระบบต่างๆมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด ต้องโทรไปปรึกษาเนเธอแลนด์เสมอ แต่ความจริงแล้ว ถ้าจะใช้ระบบนี้ ควรมีการไปฝึกอบรมที่ประเทศเนเธอแลนด์อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ เมื่อมีปัญหาจะได้สามารถแก้ได้ด้วยตนเอง”

IMG_1733

“ถ้าทั้งโรงเรือนและระบบคอมพิวเตอร์พวกนี้เป็นรถยนต์ เราต้องเป็นคนขับ ต้องขับได้เอง ไม่ใช่แค่จ้างคนขับมาขับให้เรา”

เป็นคำเปรียบเปรยที่เห็นภาพชัดเจน อึ้งไปเลยทีเดียว
แม้เขาจะมีเงินซื้อระบบ จ้างคนมาดูแล แต่เขาก็คิดว่าตัวเขาเองนี่แหละ ต้องทำเองเป็นด้วย

อย่างไรก็ตาม เค้าก็บอกว่าระบบนี้มันเชื่อถือได้สูง ถ้ามีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น มันจะร้องเตือนให้เราเค้าไปตรวจสอบก่อนเสมอ เพื่อให้ไปแก้ไขได้ทันการ จะไม่ปล่อยให้ความมันเสียหายเกิดขึ้นกับต้นไม้ที่เราปลูก

ข้อเสียอย่างเดียวของระบบนี้ก็คือแพง

IMG_7458

Ten Way Garden ร้านอาหารดัดแปลงจากโรงเรือน

Ten Way Garden เป็นร้านอาหารที่ใช้โรงเรือนมาประยุกต์ โดยเพิ่ม Air Conditioner , พัดลมระบายอากาศ และ Spotlight เข้าไปในโรงเรือน

IMG_7427

ภายในตกแต่งด้วยไม้แขวน เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ แต่ละกระถางจะมีระบบที่ควบคุมด้วย Smart Valve ซึ่งติดอยู่ที่แต่ละกระถาง ถ้าน้ำในกระถางหมด น้ำก็จะถูกเติมเข้ามาอย่างอัตโนมัติ

IMG_7428 IMG_7422

Ten Way Café

IMG_7429

เป็นร้านคาเฟ่ที่อยู่อีกอาคาร ในคาเฟ่จะขายของประดับตกแต่งสวน ไม้กระถางเล็กๆ เช่น กระบองเพชร ไม้ดอก ไม้กระถาง และอุปกรณ์ปลูกพืชในบ้าน เช่น ที่ให้น้ำกระเปาะดินเผา น้ำจะค่อยๆซึมออกมา เหมาะสำหรับไม้กระถางในออฟฟิซหรือในบ้าน

IMG_7433IMG_7431

มีสินค้าที่น่าสนใจคือกระถางที่ติดตั้ง Smart Valve โดยเราสามารถกรอกน้ำไว้ที่ช่องด้านข้างของกระถาง เมื่อต้นไม้ดูดน้ำจากก้นกระถางจนหมด Smart Valveจะเปิดเองอัตโนมัติ ให้น้ำจากข้างกระถางไหลเข้ามาเลี้ยงพืช สามารถตั้งไว้เฉยๆโดยไม่ต้องรดน้ำอีกเลยเป็นเดือน(ขึ้นอยู่กับชนิดพืช) กลไกของ Smart Valve เป็นดังรูปนี้ค่ะ

autopot-mechanism

Electrolysis water เพื่อการฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมการเกษตร

โดย Grand Union Environmental Control Co., Ltd.

บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Electrolytic sterilization water เป็นน้ำมีที่คุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทรงพลัง มีประสิทธิภาพสูง สามารถกำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อ E. Coli ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สามารถสัมผัสได้แต่ก็ไม่ควรเอามาดื่ม เอาไปใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรม ได้แก่

  • การปลูกพืชระบบ Plant factory (ล้างอุปกรณ์ รองเท้า มือ ล้างตัว)
  • อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ (ไก่ สุกร ปลา)
  • อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร (ใช้ล้างมือ ล้างจาน อุปกรณ์ที่จะสัมผัสกับอาหาร)
  • สระว่ายน้ำ
  • ฆ่าเชื้อโรคในรถเก็บขยะ, ห้องน้ำ ส้วม
  • การปลูกพืช (ฆ่าเชื้อวัสดุเพาะ ล้างผลไม้เพื่อยืดอายุ Shelf life)
  • ใช้แทนสารเคมีในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ได้
  • ประมง (ล้างปลา ล้างเศษซากที่เหลือจากสัตว์ ระงับกลิ่น แช่แข็งด้วยน้ำ Electrolytic waterจะทำให้ละลายช้าลง)
  • ฆ่าเชื้อในอากาศโดยการสเปรย์หมอก
  • ฟาร์มปศุสัตว์ (ทำความสะอาดอากาศ, กรง, พื้น)

ในต่างประเทศจะมีกฎหมายด้วยว่าอุตสาหกรรมไหนต้องใช้ Electrolytic sterilization water ที่บริสุทธิแค่ไหน และใช้ขั้นตอนไหนบ้าง

วิธีการทำ Electrolysis water มี 2 แบบคือแบบมีเมมเบรน และแบบไม่มีเมมเบรน
method1method2

 

นอกจากนั้น ยังมีการสาธิตวิธีการทำ Electrolysis water โดยใช้เครื่องพกพา

ทำได้ครั้งละ 5 ลิตร ตลอดอายุการใช้งานสามารถผลิตได้ 2000 ครั้ง
น้ำที่ออกมามีค่า FAC (Free Active/Available Chlorine) 2000ppm

  1. ผสมน้ำ 5 ลิตรลงไป และเกลือ(NaCl) 500 ml เข้าด้วยกัน
  2. คนจนเกลือละลายจนหมดประมาณ 30-60วินาที
  3. ค่อยๆเทลงไปในเครื่อง
  4. เสียบปลั๊ก และเปิดสวิตช์ให้เครื่องเริ่มทำงาน
  5. รอประมาณ 20 นาที เป็นอันเสร็จ สามารถเปิดก๊อกเอาน้ำ Electrolysis water ไปใช้งานได้

ชมVDO>> สาธิตวิธีการทำ Electrolysis water โดยใช้เครื่องพกพา

Reference:  รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Applying electrolysis water for sanitation purpose in agriculture” ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

Successful business model of annual production in greenhouse

โดย Dennis Wang จากหน่วยงานTainan District Agricultural Research and Extension Station, COA

นำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในโรงเรือน ซึ่งรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในช่วงฤดูร้อนจะปลูกพืชผัก และฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก ซึ่งในฤดูร้อนปลูกพืชผักเพราะเป็นพืชอายุสั้น ราคาสูง จะได้กำไร เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ในฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก เช่น เบญจมาศ (Spray mums) Eustoma และมีการปลูกข้าว ข้าวโพด หรือพืชปุ๋ยสด ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว

IMG_7451

การปลูกมะเขือเทศนั้นจะเจริญเติบโตได้ดีในเดือนมีนาคม แต่ถ้าปลูกในช่วงเดือนเมษายนจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากผลผลิตขาดตลาด ราคาสูง สำหรับไม้ตัดดอกส่วนใหญ่จะส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

การปลูกพืชหมุนเวียนระบบนี้ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าปกติ และสามารถป้องกันการเกิดโรคพืชได้

1

ภาพที่ 11  รูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในฤดูร้อนและฤดูหนาวของประเทศไต้หวัน

Story of Greenhouse

การบรรยายเรื่อง Story of Greenhouse โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director

ภาพนิ่ง23

โรงเรือนปลูกพืช (Greenhouse) มี  2 แบบ คือ

  • Net house คือ โรงเรือนแบบมุ้งตาข่าย กันแมลง ลดความรุนแรงของลมและฝน ทางเข้าโรงสำคัญมากห้ามให้แมลงหลุดรอดเข้าไปได้เด็ดขาด บางทีใช้ๆไปนานวันเข้าแมลงอาจะมากขึ้นได้เพราะเมื่อเข้ามาแล้วก็ออกไม่ได้ ในโรงก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ก็อยู่สร้างลูกหลานต่อไปในนั้นเลย

ภาพนิ่ง59

สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ขนาดของรูตาข่าย ต้องเล็กพอที่จะกันแมลงศัตรูพืชเราได้ และไม่เล็กเกินไปจนทำให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไปสำหรับพืชที่ปลูก ประตูก็ควรเป็น Double door กันแมลงบินตามคนเข้าไปได้ดีกว่า

  • Greenhouse ทำจากพลาสติกหรือกระจก มีคุณสมบัติที่ Net houseมีทั้งหมด แต่มีดีกว่านั้นตรงที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้เกือบทุกสิ่ง ร้อนไปเย็นไปก็ปรับได้ กันลม กันแมลง กันฝน กันความร้อนจากแสงแดด เก็บรักษาพลังงานและน้ำได้ดี

พืชที่นิยมปลูกในโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นพืชที่อายุมากกว่า 1-2 เดือน และมูลค่าสูง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา เมล่อน มะเขือยาว พริกหวาน กล้วยไม้ เบญจมาศ เป็นต้น

ปัจจุบันโรงเรือนมีความสำคัญต่อการทำการเกษตรค่อนข้างมาก และใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศสเปน สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ทั้งนี้ การปลูกพืชในโรงเรือนถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง สิ่งที่ต้องคำนึงในการสร้างโรงเรือน คือ ความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ และชนิดพืชที่ปลูก รูปร่างโรงเรือนก็มีหลายทรง ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศนั้นๆ

และแม้กระทั่งแนวการปลูกพืชก็ต้องเอื้อกับทิศทางลมในโรงเรือนด้วย เพื่อให้ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง

ภาพนิ่ง43

มีการเอาหลักฐาน Annual Production/unit มาให้ดูเปรียบเทียบกันระหว่างโรงพลาสติกธรรมดากับโรงเรือนกระจก ว่าโรงเรือนกระจกที่ควบคุมสิ่งแวดรอบได้มากกว่านั้นจะเพิ่มผลผลิตได้ยังไง

และอย่างมะเขือเทศ ปกติในไต้หวันจะไม่สามารถปลูกได้ทั้งปี แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนก็จะปลูกได้ตลอด

ภาพนิ่ง7

Reference: รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ”Story of Greenhouse” โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan