Environmental friendly Farm of Vegetable

ฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ปลูกผักอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ในเมือง Yilan เป็นจุดรวบรวมผักอินทรีย์จากสมาชิกอีก 35 ราย ก่อนจะนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆ

IMG_8579

รัฐบาลจะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยรับซื้อผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรไปให้เด็กในโรงเรียนรับประทาน และที่เมือง Yilan ในทุกเดือนจะกำหนดให้มีวันกินผักอินทรีย์เพื่อกระตุ้นและประชาสัมพันธ์การบริโภคผักอินทรีย์

9

การผลิตข้าวของเกษตรกรจะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นจึงมีการเก็บรักษาคุณภาพข้าวให้สามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และให้ข้าวมีความสดใหม่น่ารับประทานโดยการเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส

ที่นี่จะมีเครื่องสีข้าว สามารถสีข้าวแบบขัดผิวและไม่ขัดผิว มีเครื่องบรรจุสุญญากาศ

เกษตรกรมีการปลูกพืชแบบผสมผสานในโรงเรือน มีทั้งพืชผักและไม้ผล เช่น มีมะเดื่อฝรั่ง แก้วมังกร โดยมีแนวคิดว่าไม่ปลูกพืชชนิดเดียวปริมาณมาก แต่จะปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด

สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ในโรงเรือน หลังการเก็บเกี่ยวจะปล่อยให้ไก่เข้าไปกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช โดยระยะเวลาในการปล่อยให้ไก่อยู่ในโรงเรือนนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่และปริมาณอาหารที่ไก่สามารถกินได้ในโรงเรือน นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้จาก๘ไก่ ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้พืชผักด้วย สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้มาก

8

การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์และเข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล ทางรัฐบาลจะช่วยออกค่าปุ๋ยส่วนหนึ่ง สามารถซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ในราคากิโลกรัมละ 7 NTD จากราคาปกติกิโลกรัมละ 15 NTD (ถูกกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการ)

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0051

นอกจากการสนับสนุนเรื่องปุ๋ยอินทรีย์แล้ว รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เรื่องเครื่องจักรกลทางการเกษตร และค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

เกษตรกรท่านนี้ได้ให้แนวความคิดกับการผลิตพืชอินทรีย์ว่า

“การทำเกษตรอินทรีย์เราต้องทราบปริมาณความต้องการของตลาด และผลิตให้เพียงพอกับความต้องการไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ควรผลิตในปริมาณที่สม่ำเสมอ เมื่อใดที่ผลิตเกินความต้องการของตลาดผลผลิตจะล้นตลาดส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ”

 

Green Onion Production การปลูกต้นหอมใน Yilan

Yilan เป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่มีชื่อเสียงและพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไต้หวัน

IMG_8628

ที่นี่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอม (Green onion) และมีศูนย์จำหน่ายผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร โดยวิธีการปลูกของกลุ่มเกษตรกร Yilan จะปลูกแบบยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเนื่องจากมีความต้านทานเชื้อราได้ดี โดยจะปลูกต้นหอมลึกลงไปในดินประมาณ 15 เซนติเมตร

การปลูกต้นหอมลึกจะทำให้ลำต้นของต้นหอมมีสีขาวและยาวกว่าปกติ เนื่องจากคนไต้หวันนิยมบริโภคส่วนของลำต้นสีขาว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่นิยมบริโภคส่วนใบสีเขียว
ที่ Yilan เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน เนื่องจากได้ต้นที่ส่วนสีขาวยาวกว่าที่อื่นๆ

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0026

ในการปลูกต้นหอมจะใช้ฟางข้าวคลุมบนแปลง ปกติเกษตรกรจะปลูกต้นหอมได้ 4 ครั้งต่อปี และสลับกับการปลูกข้าวอย่างละปี และนำฟางข้าวมาคลุมแปลงต้นหอมในรอบการผลิตถัดไป

IMG_8640

การปลูกต้นหอมในเมือง Yilan มีทั้งปลูกในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ปลูกในโรงเรือนเพื่อกันลมและแมลง บางโรงเรือนจะมีแค่มุ้งด้านข้างเพื่อป้องกันลมอย่างเดียว เพราะที่ไต้หวันมีไต้ฝุ่นบ่อยๆ (ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เพราะไม่มีไต้ฝุ่น)

ผลผลิตที่ได้ประมาณ 30 ตันต่อเฮกตาร์ (4.8 ตัน ต่อไร่) การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้แรงงานคน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแปลงจะนำต้นหอมมาล้างน้ำและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 1 – 5 องศาเซลเซียส โดยจะมัดต้นหอมมัดละ 1 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายทั่วประเทศไต้หวันราคากิโลกรัมละ 200 NTD