sweet potato processing

ชื่อบริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เป็นบริษัทที่ผลิตและแปรรูปมันเทศ

IMG_0426.JPG

ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจะเน้นจำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 65 – 70 เช่น ตลาด ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ ร้าน Fast food และส่งออกไปยังต่างประเทศร้อยละ 30 -35 เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์

บริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ประเทศไต้หวันมีพันธุ์มันเทศประมาณ 1,400พันธุ์ พันธุ์ที่บริษัทใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก คือ พันธุ์ Tainung 57 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง รสชาติหวาน ปริมาณเนื้อเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ระบบการปลูกมันเทศ จะปลูกพืชแบบหมุนเวียน โดยจะปลูกมันเทศเป็นเวลา 2 ปี และปลูกพืชผัก 1 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรค

IMG_0407.JPG

วิธีการปลูกและดูแลรักษา ขนาดความกว้างของแปลงปลูก 120 เซนติเมตร ใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 3,500 – 4,000 ต้นต่อพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์ ต้นพันธุ์มันเทศที่ใช้จะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร

ระบบน้ำที่ใช้สำหรับการปลูกมันเทศเป็นการปล่อยน้ำเข้าตามร่องทุกๆ 1 – 2 สัปดาห์ หรือพิจารณาตามความเหมาะสม การให้ปุ๋ยจะเน้นปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหวาน มันเทศเป็นพืชที่ต้องการความต่างกันของอุณหภูมิระหว่างเวลากลางวันและเวลากลางคืน จะส่งผลมันเทศให้มีรสชาติที่หวานอร่อย

 

IMG_0413.JPGอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมประมาณ 5 – 6 เดือน ในช่วงฤดูร้อนอายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นลงเหลือ 4.5 เดือน ในช่วงเดือน ตุลาคม – มีนาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวที่มันเทศจะมีรสชาติดีที่สุด สำหรับฤดูหนาวเป็นช่วงที่มันเทศจะให้ผลผลิตสูงที่สุด เกษตรกรจะปลูกมันเทศในช่วงฤดูหนาวคิดเป็นร้อยละ 90 และปลูกมันเทศนอกฤดูร้อยละ 10

มันเทศสามารถเก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ราคาขายผลผลิตสดราคากิโลกรัมละ 30 NTD เมื่อนำไปเผาจะจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 150NTD ราคาส่งออกมันเทศกิโลกรัมละ 200 – 300 NTD

ปัญหาที่พบในการผลิตมันเทศ คือ ปัญหาแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอย การจัดการ คือ ใช้กับดักที่มีสารฟิโลโมนล่อแมลง ในพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์จะใช้กับดักแมลงประมาณ 4 – 5 อัน และจะมีการขังน้ำท่วมแปลงปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการปลูกเพื่อกำจัดไส้เดือนฝอย

บริษัทมีพื้นที่ปลูกมันเทศในเมือง Taichung และ Hualien รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1,000 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่ของบริษัทร้อยละ 40 และร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ของเกษตรกรเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท บริษัทมีแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการแปลง ในแอพพลิเคชั่นจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับตารางเวลาการเพาะปลูกของแต่ละแปลง เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ตำแหน่งที่ตั้งแปลง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าไปดูแลและติดตามในแต่ละแปลง

บริษัทมีการแปรรูปผลผลิตและจำหน่ายมีร้านจำหน่ายของตนเองและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ลูกค้าได้ชมแปลงสาธิตการปลูกมันเทศ ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโรงงาน และซื้อสินค้าภายในบริษัทได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทางบริษัทจะมีการแปรรูปมันเทศทั้งเปลือกเพื่อลดการสูญเสียของผลผลิต เพื่อให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสีย (Zero waste)

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

Bitter gourd nursery and production โรงเพาะต้นกล้า

โรงเพาะต้นกล้า ที่จะจำหน่ายต้นกล้าภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล โรงเพาะกล้าในประเทศไต้หวันที่อยู่ภายใต้รัฐบาลมีประมาณ 100 แห่ง รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดชนิดพืชแบ่งตามแหล่งปลูกพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกันระหว่างโรงเพาะกล้า ลดปัญหาการแย่งลูกค้า โดยโรงเพาะกล้าจะต้องพิจารณาในการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม  ตามปริมาณความต้องการของแต่ละพื้นที่

927organicFarm_๑๗๑๐๐๙_0029.jpg

การที่รัฐบาลควบคุมดูแลโรงเพาะ ทำให้รัฐบาลสามารถประมาณการณ์ผลผลิตในแต่ละช่วงเวลา และเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรทราบก่อนการตัดสินใจปลูกพืช เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ

IMG_0344.JPG

สำหรับโรงเพาะกล้าที่ศึกษาดูงานเป็นโรงเพาะกล้าพืชผักสวนครัว และพืชตระกูลแตง เช่น ฟัก มะเขือ ผักใบ มะระ เมล่อน แตงไทย พริกหยวก พริก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ต้นกล้าทั้งหมดจะจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน สำหรับพืชบางชนิดจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด พืชบางชนิดจะใช้วิธีการเสียบยอด เช่น มะระขาว เมล่อน ราคาจำหน่ายต้นกล้าที่มีการเสียบยอดจะมีราคาสูงกว่าต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด

วิธีการเสียบยอดมะระ

VDO Clip การเสียบยอดของที่นี่

  1. ใช้ต้นพันธุ์(Stock)เป็นฟักทอง คัดเลือกต้นกล้าฟักทองที่มีใบเลี้ยงสมบูรณ์ไม่หงิกงอ นำมาเด็ดยอดออกให้หมด เหลือแต่ใบเลี้ยง
  2. นำเหล็กปลายแบนมาจิ้มเข้าไปกลางยอด แล้วนำยอดต้นอ่อนมะระมาตัดปลายเป็นฉลาม แล้วเสียบลงไปบนยอดฟักทอง แล้วหนีบด้วยกิ๊บ
    • IMG_0361.JPG
  3. นำถาดไปเก็บไว้ในอุโมงค์ ที่พลางแสงด้วยแสลนดำ และปิดด้วยพลาสติกใส เมื่อผ่านไป1อาทิตย์ จะเริ่มมียอดเจริญออกมา (ถ้ามียอดของฟักทองออกมา ต้องเด็ดทิ้ง) จึงเริ่มเอาพลาสติกออก เหลือแต่แสลน
    • 1.png
  4. ผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์จะค่อยๆเปิดแสลนออก เพื่อให้ต้นกล้าเริ่มปรับตัวกับแสงแดดธรรมชาติ ประมาณ 2อาทิตย์(ในหน้าร้อน)จึงให้เกษตรกรนำไปปลูกได้เลย ถ้าเป็นฤดูหนาว 25วัน ก่อนนำไปขาย จะเช็คความสมบูรณ์ของรากด้วย

IMG_0341.JPG

นอกจากนั้น ที่นี่ยังมีเครื่องจักรช่วยกรอกวัสดุปลูกลงถาด และหยอดเมล็ดลงถาดด้วย โดยสามารถช่วยทุ่นแรงงานในการเพาะได้มาก สามารถทำได้ 300ถาด ภายใน 1 ชม. ซึ่งเทียบเท่ากับแรงงานคน 10 คน

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

สวนไม้ตัดใบ

Cut leaves garden เป็นกลุ่มรวบรวมไม้ตัดใบ มีสมาชิกจำนวน 300 คน โดยรัฐบาลได้จัดหาพื้นที่และสนับสนุนโรงเรือนในการรวบรวมไม้ตัดใบ และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มสมาชิกเกษตรผู้ผลิตไม้ตัดใบ

IMG_0328.JPG

ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 20 ปี มูลค่าการจำหน่ายไม้ตัดใบต่อปีประมาณ 10,000,000 NTD

ทางกลุ่มเกษตรกรจะเน้นตลาดภายในประเทศร้อยละ 80 และตลาดส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นร้อยละ 20

สาเหตุที่เน้นจำหน่ายภายในประเทศ เนื่องจากตลาดในประเทศมีความมั่นคง แน่นอน ส่วนการส่งออกไปยังต่างประเทศจะได้ราคาจะสูงกว่าจำหน่ายภายในประเทศ 1 – 2 เท่า ทั้งนี้การส่งออกไปยังต่างประเทศจะเพิ่มต้นทุนเรื่องค่าขนส่ง การส่งออกนั้นจะช่วยดึงราคาไม้ตัดใบภายในประเทศไม่ให้มีราคาตกต่ำ

ทางกลุ่มเกษตรกรจะมีการหักเงินค่าบริหารจัดการร้อยละ 2.50 เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในกลุ่ม

ประเภทของไม้ตัดใบที่ทางกลุ่มเกษตรกรผลิตมีทั้งหมด 20 ประเภท โดยไม้ตัดใบที่สำคัญ คือ หมากเหลือง กวนอิม

IMG_0330

การจัดการไม้ตัดใบหลังการเก็บเกี่ยว ขนส่งไม้ตัดใบจากแปลงเกษตรกรมายังจุดรวบรวมโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำคลุมไม้ตัดใบ เมื่อถึงจุดคัดแยกนำไม้ตัดใบมาแช่น้ำเป็นเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นคัดขนาดตามความยาวของใบและคัดใบที่มีตำหนิหรือเสียออก ตัดก้านเพื่อให้สั้นลงและล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง

IMG_0332

จากนั้นจึงตรวจสอบโรคแมลงและตำหนิด้วยสายตา หากมีตำหนิหรือมีโรคแมลงจะไม่สามารถส่งออกต่างประเทศได้จะจำหน่ายภายในประเทศ หลังจากตรวจสอบไม้ตัดใบอย่างละเอียดแล้วนำใบจุ่มในกรด มัดเป็นกำด้วยยางวงโดยใช้สีของยางวงเป็นตัวจำแนกขนาด (Color Management)

927organicFarm_๑๗๑๐๐๙_0034

และนำไม้ตัดใบเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิประมาณ 12 – 17 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 1 สัปดาห์ คลุมด้วยผ้าเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นออกจากใบ เพื่อรอการขนส่งไปจำหน่ายต่อไป

IMG_0326

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Organic vegetable garden เจียงเชียง

Organic vegetable garden บริษัทเจียงเชียง มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5 เฮกตาร์
พืชที่ปลูก คือ ผักกาดหอม ปลูกในโรงเรือนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

IMG_0310

IMG_0311

ที่นี่มีเครื่องจักรในการเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม เครื่องเพาะเมล็ดจะทำการเจาะหลุมลึก 0.5 เซนติเมตร และใช้ระบบลมดูดเมล็ดขึ้นมาหยอดลงหลุม เครื่องเพาะกล้าราคา 600,000 NTD วัสดุปลูกที่ใช้เป็น peat moss อัตราการงอกของเมล็ด 98 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน จะใช้ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อโรงเรือน (โรงเรือนขนาด 700 ตารางเมตร) คลุมดินด้วยผ้ากำมะหยี่

การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 14 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากย้ายปลูก 21 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการพักแปลงเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยเป็ดไก่เพื่อเข้าไปกินแมลงในแปลงปลูก

การตลาด ผลผลิตในแปลงจะส่งไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม จำนวน 130 โรงเรียน ในเมือง Pingtung โดยจะมีรถโรงเรียนมารับผลผลิตสัปดาห์ละครั้ง ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 50 NTD ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมโครงการกับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย รัฐบาลยังสนับสนุนเงิน 80,000 NTD ในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 20 ตัน

สวนมะระขาวและแตงกวา

สวนมะระขาว ซึ่งเป็นพันธุ์พิเศษของไต้หวัน ผลมีสีขาวส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นสลัด และส่งออกไปจำหน่ายที่ฮ่องกง25600926_๑๗๑๐๐๙_0018

มะระขาวในแปลงนี้ปลูกภายในโรงเรือนตาข่าย (Net house) ความสูงของโรงเรือนประมาณ 2.50 เมตร ขนาดตาข่าย 24 mesh ระยะปลูกระหว่างแปลง 2 เมตร และระยะระหว่างต้น 2 เมตร

IMG_0246

ต้นมะระที่ปลูกใช้ต้นกล้าจากการเสียบยอด (grafting) โดยใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ จากนั้นจึงเสียบยอดด้วยยอดมะระพันธุ์ดี สาเหตุที่ใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ เนื่องจากต้นฟักทองมีรากที่แข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ทนต่อโรคพืชทางดิน

นี่คือรูป ลักษณะโคนต้นมะระที่เสียบยอดบนต้นฟักทอง

25600926_๑๗๑๐๐๙_0019

การให้น้ำเป็นระบบให้น้ำไล่ร่อง ทุก 10 วัน
การให้ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และเมื่อต้นมะระเริ่มติดดอกจะให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม

IMG_0253

ภายในโรงเรือนจะใช้ผึ้งในการผสมเกสร

IMG_0249

การดูแลรักษา จะมีการห่อผลมะระตั้งแต่ผลมีขนาดใหญ่เท่านิ้วโป้ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีดำ เพื่อลดการสังเคราะห์แสงทำให้ผลมะระมีสีขาว หลังจากห่อผลประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1วัน จะนำเอาถุงพลาสติกสีดำที่ห่อผลออก

IMG_0248

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ (1,280 กก. ต่อไร่)

ราคาจำหน่ายผลผลิตภายในประเทศประมาณกิโลกรัมละ 40 NTD (ประมาณ 42บาท)
ราคาส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงกิโลกรัมละ 60 NTD

ต่อจากนั้นเดินทางไปงานแปลงมะระเขียว ซึ่งผลผลิตมะระเขียวจะใช้สำหรับทำน้ำมะระ และส่งโรงแรมเพื่อประกอบอาหาร

IMG_0258.JPG

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะสังเกตจากตุ่มที่ผิวของผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อผล ราคาจำหน่ายมะระเขียวราคากิโลกรัมละ 50 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะระเขียวมากกว่ามะระขาว เนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน มีความต้องการของตลาดมากเพราะคนไต้หวันนิยมบริโภคมะระเขียวมากกว่ามะระขาว และมะระเขียวมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยกว่า การจัดการและการดูแลรักษาง่ายกว่า

ทั้งนี้เกษตรกรจะปลูกมะระสลับกับการปลูกแตงกวา โดยจะปลูกแตงกวาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และปลูกมะระในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สำหรับการปลูกแตงกวา จะใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 4 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง การย้ายปลูกในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุน้อย เป็นการประหยัดแรงงานในการดูแลต้นกล้า และทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ลำต้นจะไม่สูงจนเกินไปและมีข้อที่สั้น

IMG_0261

การดูแลรักษาจะมีการเด็ดยอดที่กิ่งแขนงเพื่อให้น้ำเลี้ยงไปเลี้ยงที่ลูกเท่านั้น โดยจะไว้ผลประมาณ 35 ผลต่อต้น เริ่มเก็บครั้งแรกหลังการย้ายกล้าปลูกไปแล้ว 35 วัน และเก็บผลผลิตได้จนถึงอายุ 60 วันหลังการย้ายปลูก ซึ่งจะเก็บผลผลิตทุกวัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

IMG_0256

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Day11 From Fuli to Pingtung

ตื่นเจ็ดโมง เพราะไม่ต้องไปทำงานวันนี้

วันสุดท้ายที่ลืมตาขึ้นมาที่นี่ ใจหาย คิดถึงเวลาที่ผ่านมา คิดถึงความสนุกสนานที่นี่

IMG_0117.JPG

ตอนที่เข้าไปสัมภาษณ์ที่กรมฯ มีคนถามว่า “สามารถทนแรงกดดันได้มั้ย ต้องไปอยุ่กับเกษตรกรนะ ถ้าเค้าตำหนิ ดุด่าขึ้นมา เธอจะควบคุมอารมณ์ได้มั้ย”

เฮ้ย มันไม่ใช่เลย อยู่ที่ Fuli ไม่ต้องควบคุมอารมณ์อะไรทั้งนั้น เราสนุกกับทุกสิ่งที่นี่

8.png

เรน เพจ ฟ่านฟ่าน ขับรถพาพวกเราออกไปกินข้าวเช้า เป็นแฮมเบอร์เกอร์ กุ้งกระเบื้องของไทย และขนมหัวไชเท้าของไต้หวัน ที่ทำให้นึกถึงอาหารแรกมื้อแรกที่กินที่นี่ หมินจงพาไปกินขนมหัวไชเท้านี้เหมือนกัน แล้ววันนั้นก็มีชานมด้วย

คนเรามักจะจำอะไรครั้งแรกได้

 

กินข้าวเสร็จกลับมาที่ร้านกาแฟ

ตอนประมาณ 10โมง เราได้รู้จักคนเพิ่มอีกคน ชื่อชาลีเป็นคนของรัฐที่มารับเราไปPingtung เพื่อเจอกลุ่มเกษตรกรดูงานอีกกลุ่มจากไทย เค้าก้ออธิบายกำหนดการของเราคร่าวๆวันนี้

9.png

นี่ขนาดชาลีเพิ่งมาเจอกับพวกเรนที่นี่วันแรก เค้าก้อคุยกัน หัวเราะกันอย่างสนิทสนม

เปิ้ลสรุปให้ว่า นิสัยคนที่นี่จะผสมเอานิสัยดีๆของแต่ละประเทศมารวมกัน

 

จู่ๆเรนก็บอกว่ามีงานต่อ ต้องไปแล้ว เราเลยลากันที่ร้านกาแฟนั่นเลย

 

จะไม่มีวันลืมรอยยิ้มอันร่าเริงและเปี่ยมด้วยความเป็นมิตรของเรนเลย

คนอะไร สามารถทำอะไรๆได้หลายอย่างขนาดนี้ แถมยังยิ้มร่าได้ตลอดเวลา ทั้งๆที่เราคิดว่ามันต้องเหนื่อยมากๆแน่

เรนเป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้เราอยากกลับขยันมากกว่านี้

เราไม่ควรบ่นว่ายุ่งอีกต่อไป อย่างเรานี่ยังไม่เรียกว่ายุ่งนะ ยุ่งจริงๆมันต้องแบบผู้ชายคนนี้

มันยังมีคนยุ่งกว่าเราอีกมาก และเค้าก็ทำอะไรๆได้ดีด้วย

 

พอใกล้ถึงเวลารถไฟ เพจ เมเม่และฟ่านฟ่านมาส่งถึงชานชาลาเลย

เพจบอกว่า หวังว่าจะเจอกันอีก ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน

จำคืนแรกที่เรานั่งรถของเพจจากสถานีรถไฟไปบ้านเค้า วันนั้นก็อุ้มเมเม่มาด้วยแบบวันนี้

นั่นคือ11วันที่แล้ว เวลาผ่านไปเร็วจริงๆ

IMG_0226.JPG

ก่อนหน้านั้นเพจขี่มอไซค์ไปซื้อข้าวกล่องและชานมไข่มุกมาให้เราถือขึ้นรถไฟด้วย เพราะเราจะไม่ได้กินข้าวอีกจนกระทั่งเย็น ดูแลกันจนเฮือกสุดท้าย น้ำตาจะไหล

IMG_0232.JPG

IMG_0228.JPG

ขณะที่เราดูดชานมอย่างเอร็ดอร่อยและซาบซึ้งในน้ำใจ รถไฟก็เริ่มเคลื่อนออกจากสถานีฟูลิ

บ้ายบายนะ เราอยากกลับมาอีกครั้งนะ ต้องสะสมเงินก่อน

IMG_0231.JPG

นั่งรถไฟกันไป 3ชม. จึงจะถึงpingtung บนรถไฟเราก็ทะยอยเปิดดูวิดีโอที่ถ่ายมา จดเนื้อหาสำคัญๆที่ต้องเอามาเล่า

ทะยอยทำตั้งแต่ตอนนี้แหละ เพราะถ้าหมักหมมไว้ถึงวันที่กลับไทยไปแล้ว เราคงไม่ได้มีเวลาว่างแบบนี้

 

ถึงประมาณบ่ายสาม ไปดูฟาร์มปลูกมะระ แตงกวาในโรงเรือนกันเลย ฟิตมาก ดูกันจนถึง 18:30 รู้สึกชาลีพาเราไปใช้เวลาได้คุ้มค่ามาก

ชาลีตลกดี พอๆกับฟ่านฟ่าน แต่เป็นฟ่านฟ่านที่พูดอังกฤษได้คล่อง ทำให้เราได้คุยเยอะเลย

พูดเก่งอย่างกะเรน

มีการพูดเล่นกะพวกเราให้โดดลงบ่อปลาไปด้วย

ดูงานจบก็พามาส่งที่โรงแรม แล้วก็ร่ำลา

เฮ้ย เรากำลังสนุกสนานคุยกันถูกคอกับชาลีอยู่เลย ต้องลาจากกันซะละ ไม่ใช้หน้าที่เค้าต้องดูแลเราต่อจากนี้แล้ว นี่ขนาดเจอกันครึ่งวันเท่านั้น ชาลีทำหน้าเศร้าแบบเว่อมาก เป็นคนตลกอ่า

ย้ายจากทุ่งนา มายังป่าคอนกรีต

IMG_0282.JPG

เช็คอินเข้าไปเก็บของที่ห้องเสร็จ ก็ออกไปหาซื้อกระเป๋าลากเรย โชคดีที่ห้างsogoที่เรนแนะนำอยู่ไม่ไกล

ซื้อเสร็จก็ลากกระเป๋าเปล่าๆไปกินแม็คฯ

นี่เปนครั้งแรกที่ต้องหากินเอง ตั้งแต่มาไต้หวัน ก็มีคนเรียกไปกินข้าว หาข้าวให้กินตลอด

แล้วลากกระเป๋าไปต่อที่อีกห้าง เพื่อให้เปิ้ลซื้อเสื้อกันUVของ Uniqlo อาจจะช้าไปซักนิดที่มาซื้อเสื้อกันUVกันตอนอาทิตย์สุดท้ายนี้ แต่อย่างน้อย 7 วันที่ต้องไปดูงานตามที่ต่างๆก็จะได้ไม่ดำขึ้นไปอีก

 

เรากับพวกเพื่อนไต้หวันเริ่มรักษาความสันพันธ์ไม่ให้ขาดรอนตั้งแต่วันนี้เลย Line VDO Call ช่วยพวกเราได้

ระหว่างเดินไปห้างSogo เรน vdo call มา

ระหว่างกินแม็ค ก่วงม้าก็ vdo call มา

ระหว่างรอเปิ้ลซื้อเสื้อ เรากะชัยโทรหาหมินจง

 

คนที่นี่คุย VDO Callกันบ่อยจริงๆ

 

ตอนคุยVDO Call กับก่วงม๊า ใช้ google translate ไม่ได้แล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคอันใด

ยังได้ยินมาว่าคาสู้โทรหาชัยตอนดึกๆด้วย ทั้งๆที่คาสู้พูดอังกฤษไม่ได้ 

แค่เห็นหน้าและพูดคำที่รู้อยู่ไม่กี่คำซ้ำๆ เช่น สวัสดี อาหารเย็น อร่อย

แค่นี้ก็คงเพียงพอแล้ว ที่จะทำให้พวกเราไม่ลืมกันแล้ว

 

Day10 ถอนหญ้า นาข้าวอินทรีย์

วันนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายที่ทำงานในโครงการ On the Job Traning นี้

ถึงมันจะเป็นการถอนหญ้าในทุ่งนาของเนวเหมือนกับเมื่อวานก็เถอะ ต้องทำให้ดีที่สุด

3.png

ตอนขับรถไปนาข้าวของเนว ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำอันนึง

เนวบอกว่า เคยมีไต้ฝุ่นหนักๆเข้ามา สะพานพังไปหลายเดือน ไปนาข้าวของตัวเองไม่ได้เลย ทุกคนที่ต้องข้ามสะพานนี้ก็เดือดร้อนเหมือนกันหมด ถ้าจะไปก็ต้องอ้อมเขาไปอีกทาง เป็นชั่วโมงๆ

 

เช้านี้เนวพาไปไหวศาลตายายของเค้าด้วย คล้ายๆาลพระภูมิของไทยมั้ง คุ้มครองชาวนาแถวนี้

IMG_0114.JPG

มาอยู่กับเกษตรกรออแกนิกที่นี่ เราได้เรียนรู้ว่า แม้งานมันจะดูน่าเบื่อ ดูหนักและเยอะ แต่เค้าก็ทำ ค่อยๆทำ ขนาดเนวดูวัยรุ่นขนาดนี้ แต่พอมาเข้าโหมดชาวนา เค้าก้อก้มหน้าก้มตาเก็บหญ้า ไม่ต่างจากก่วงม้า

ความขยัน ความมีอุดมการณ์ และมีเป้าหมาย มันช่วยกันทำให้ประสบความสำเร็จ

มันน่าประทับใจมาก ดีใจที่ได้มาสัมผัส

IMG_0092.JPG

วันนี้เราเปิดเพลงฟังระหว่างถอนหญ้าด้วย เพื่อให้เนวรู้ว่าถ้าต่อไปเหงาๆ ก็เปิดเพลงไปด้วยก็ได้นะ

เรามักจะเปิดเพลงเวลาทำงานในสวนของตัวเองเหมือนกัน

IMG_0090.JPG

 

เสร็จจากทำนา อาบน้ำกินข้าวปุ้บ เรนก็มาพาไปซื้อรองเท้าบูทที่ Yuli

เนื่องจากรองเท้าที่เนวให้เราใส่ที่นี่มันดีมาก ดีจนอยากซื้อกลับบ้าน

ปกติเราไม่ค่อยใส่บูธเพราะมันรำคาญ หนัก และเจ็บ พอไม่ค่อยใส่ ก็จะเกิดบาดแผลบ้าง เดินลุยดินโคลานไม่ได้บ้าง แต่ของเนวใส่สบาย อยากใส่แบบนี้ที่สวนตัวเอง  เลยเคยถามเนวไว้ว่าซื้อที่ไหน

เนวก็คงยังไม่ลืม ที่จะบอกให้เรนพาเราไปซื้อ

GOPR8307.JPG

อยู่ที่นี่ ถ้าแสดงความอยากได้ อยากกิน อยากทำอะไร มันจะได้เสมอ พวกเค้าไม่เคยลืม ไม่เคยเพิกเฉย

 

ร้านที่เรนพาไปก็เป็นร้านขายอุปกรณ์ช่างธรรมดาข้างถนน ไม่ได้อยู่ในห้างอะไร แต่ก็มีของครบ รวมถึรองเท้าบูธนำเข้าจากญี่ปุ่นคู่นี้ด้วย

เรากะชัยซื้อกันไปคนละคู่

 

ขากลับเราถามเรนว่า เหนื่อยมั้ยมีพวกเรา

เรนตอบ ไม่เหนื่อยเลย มีความสุขมาก

 

พอกลับมาถึงก็ยังไม่ดึกพอที่จะกินข้าว  เนวพานั่งรถไปดูบ่อเลี้ยงปูของญาติเนว

ต้องขับขึ้นไปบนเขา ขึ้นไปไกลมาก ทางขึ้นเริ่มขรุขระ(เป็นครั้งแรกที่เจอทางขรุขระที่นี่) ถนนบนนี้ไม่มีใครใช้หรอกนอกจากเค้าและครอบครัว เพราะที่ดินเป็นของครอบครัวเค้าหมดเลยแถวนี้

มิน่า เพื่อนๆถึงชอบพูดกันว่าฟ่านฟ่านรวย

บ่อปูมีปูยั๊วะเยี๊ยะเลย เค้าซื้อปูเล็กๆมามากล่องละ10,000บาท ประมาน1050ตัว

ตอนเริ่มเลี้ยงในบ่อ ใส่ปูตัวเล็กๆไป 3000ตัว เลี้ยง7เดือนก็เก็บขาย แต่ตอนเก็บจะเหลืออยู่ 300 ตัว

เพราะมันกินกันเองมั่ง ไม่ก็หนีออกไปมั่ง

น้ำที่เอามาเลี้ยงปูก็มาจากภูเขา ก็ไม่มีคนอื่นใช้อีกเหมือนกัน ใสสะอาดมากๆ

 

เสร็จจากการดูปู ก็ลงเขามาเริ่มทำอาหารไทยกัน ที่ห้องครัวของโรงแรมฟ่านฟ่าน

วุ่นวายอุตลุด แต่ก็สำเร็จลงได้ ทะยอยยกจานกันไปกินที่ร้านกาแฟ เพราะปาร์ตี้อำลาคืนนี้จัดที่นั่น

ทุกคนก็ดูกินได้นะ โดยเฉพาะไข่เจียว เฉินม๊าสนใจในไข่เจียวมาก ถามกันมากว่าใส่อะไรลงไป

ส่วนต้มยำกุ้งหม้อใหญ่ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี คนที่นี่กินซุปกันตอนสุดท้าย ต้มยำกุ้งก็เลยเพิ่งจะถูกซดกันตอนสุดท้ายนี้เอง

IMG_0160IMG_0158

หลังกินข้าว มีวิดีโอพิเศษๆจากพวกเขา เป็นภาพความประทับใจที่ถ่ายกันมาตลอดระหว่างที่พวกเราสามคนอยู่ที่นี่ เค้าเอามารวมกันและทำเป็นวิดีโอ ใส่เพลงประกอบเป็นปลุกใจของชาวAmis ที่พวกเราติดหูกันมาตลอด และร้องตลอดเวลานั่งรถ

ช่างเป็นคนละเอียดอ่อนและใส่ใจมาก

(เชิญชมคลิปจริงๆได้ ที่นี่ อันนี้เรนอัพเอาไว้ให้)

IMG_0166

มีเค้กโผล่มา ฟ่านฟ่านเป็นคนทำเองกับมือ เพราะใกล้วันเกิดเปิ้ลแล้วก็เลยเอามาฉลอง

ช่างเป็นวันที่พร้อมหน้าพร้อมตาและอบอุ่นอะไรเช่นนี้ เค้ามอบเสื้อของกลุ่มเค้าให้เราด้วย เป็นที่ระลึก ก็เอามาใส่เลยและถ่ายรูปรวม

IMG_0187

ทุกคนมาหมดแม้กระทั่งญาติของลัมลูที่อยู่บนเขาก็ลงมางานนี้

ในวิดีโอมีภาพวันแรกที่พวกเค้ามารับเราที่สถานีรถไฟแบบพร้อมหน้าพร้อมตาด้วยด้วย

11คืนมันผ่านไปเร็วอะไรปานนี้

IMG_0192

วันนี้ก็เป็นอีกวันที่ต้องนั่งคุยจนถึงดึกเช่นเคย แต่ไม่เป็นไรหรอกนี่เป็นคืนสุดท้ายแล้วที่จะได้นั่งแบบนี้

ยกเว้นหมินจงคนเดียวที่ไม่อยู่ที่นี่ ชัยบอกว่า คิดถึงหมินจงเนอะ

อืม เราก็คิดถึงเหมือนกัน

 

เก่อเก้อ ลูกคนโตของเพจ เข้ามากอดเรากะเปิ้ล เป็นเด็กที่รู้เรื่องแล้วจริงๆ แถมยังมาบอกเราอีกว่า

เจอกันอีกsummerหน้า

และตี่ตี้ด้วย ตอนแรกก็ลังเล ไม่ยอมเข้ามาหา เด็กคงเขิล

ไปๆมาๆ ก็มานั่งข้างหลังรอให้เราหันไปกอด ตี่ตี๋ล่ออ่ อยากข้ามไปเห็นตี่ตี๋ตอนโตเลย

 

ที่นี่ทำให้เรารู้ว่า ปัจจัยที่จะทำให้ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นเกิดขึ้นมาได้นั้น มันไม่เกี่ยวกับภาษาอีกต่อไป

แม้จะคุยกันคนละภาษาแต่เราเชื่อมกันได้ด้วยอะไรบางอย่าง

 

จบจากการคุยกันข้างล่าง เราก็ขึ้นมานอนคุยกับเปิ้ลต่อ ทบทวนเรื่องราว ผู้คน ที่เกิดขึ้นที่นี่

ไม่รุ้เราจะจำได้ไปอีกนานแค่ไหน ถ้าไม่อยากลืม เราต้องมาทบทวนกันบ่อยๆ

Day9 ร้านกาแฟและการถอนหญ้าในนาข้าวของ Neil

เนวเป็นเจ้าของร้านกาแฟที่เรานอนอยู่เมื่อคืนนั่นเอง และเนวก็เป็นชาวนาด้วย

2 วันต่อจากนี้พวกเราจะไปช่่วยเนวทำนากัน

เนวมีพื้นที่ทำนาเล็กๆ 7ไร่กว่า ปลูกมา 3ปีแล้ว พูดภาษาอังกฤษได้คล่องกว่าคนอื่นๆ เพราะเคยไป Work holiday ที่ออสเตรเลียมาด้วย แล้วก็ได้พบรักกับภรรยาคนปัจจุบันที่นั่น

IMG_0012.JPG

ลูกสาวเนวน่ารักมาก เมื่อวานที่ขับรถเข้ามาที่ร้านกาแฟ เนวอุ้มลูกรอรับอยู่หน้าร้าน เราได้ยินเรนตะโกนเรียก

“ปันปัน…” เราก็นึกว่า อ๋อ ลูกชื่อปันปัน

แต่เปล่าเลย ชื่อหมาของเนวต่างหาก ตอนนั้นมันยืนอยู่หน้าประตูด้วย สรุปคือเรนเรียกหมา

การจะไปทำงานกับเนว เราต้องออกจากบ้านตีห้า ขับรถออกทางหลังบ้าน ปันปันก็โดดขึ้นมาบนกระบะรถด้วย  เพิ่งเห็นว่าหลังบ้านเป็นโรงเก็บเครื่องไม้เครื่องมือที่ใหญ่มาก

รถเนวเหมือนรถลัมลู แต่ไม่มีหลังคา

ตอนออกมานี่มึดมากค่ะ แทบไม่มีร้านอะไรเปิด เนวบอกว่า ที่เปิดๆอยู่นี่ก็มีแต่ร้านอาหารเช้า พวกชาวนามากินข้าวก่อนไปฟาร์ม

1.png

ระหว่างขับไปนาข้าว เนวก็เล่าว่า แต่ก่อนก็อยู่ในเมือง แต่ค่าครองชีพที่ในเมืองแพง เลยกลับมาใช้ชีวิตและมาทำนาที่นี่

95%ของคนในเมืองนี้ทำเกษตร เห็นได้จากในเมืองไม่มีร้านค้าหรือธุรกิจอื่นมาก ถ้าอยากซื้อข้าวของไรจริงๆจังๆต้องไปที่เมืองอื่น

IMG_0084.JPG

พอมาถึงที่นาเนวบอกว่า “วันนี้ถอนหญ้าวัชพืชกัน มันเป็นงานที่น่าเบื่อหน่อยนะ”

เมื่อได้ลงมือถอนหญ้า เนวก็พูดอีกหลายรอบว่ามันเบื่อจริงๆนะ คงอยากให้เราทำใจไว้

เราก็บอกไปหลายทีเหมือนกันว่า มันไม่เบื่อ แถมตอนนี้มันไม่ร้อนด้วย เย็นสบาย เราถอนหญ้าไปคุยกันไป มันไม่เบื่ออเลยจริงๆ สีเขียวสบายตา สบายใจ

GOPR8240.JPG

เนวบอกว่า ปกติจะโดดเดี่ยวมาก ก็จะมีแต่ปันปันเท่านั้นที่อยู่เป็นเพื่อน

ปันปันโดดขึ้นรถตามมาทุกวัน

IMG_0106.JPG

ก้มหน้าก้มตาถอนไปเรื่อยๆ แบ่งกันคนละ 3-4แถว วัชพืชเยอะมากจริงๆ แต่พอหันกลับไปมองตรงที่เราถอนมาแล้ว มันก็ชื่นใจดี สวยงามและดูเป็นระเบียบขึ้นมาเลย นาข้าวออแกนิกมันต้องใช้ความพยายามจริงๆอ่ะ  

GOPR8305.JPG

เราว่าแนวคิดของเนวเจ๋งดี คือเขาอยากกลับมาทำให้คนอื่นรู้ว่าเป็นชาวนาก็เจ๋งได้เหมือนกันนะ อยากลบภาพจน์ซอมซ่อของชาวนาทิ้งไปจากคนทั่วไป โดยเนวจะแต่งชุดคูลๆมาทำงาน เป็นชาวนาคูลๆให้คนเห็น และรู้ว่าเป็นชาวนาก็ไม่ดูแย่อย่างที่คิด

2.png

นอกจากนั้นก็ยังเปิดให้คนมาพักอาศัย มาลองลงมือทำฟาร์มออแกนิกแบบเรานี้ เห็นหญ้าขึ้น เห็นแมลง หอยเชอรี่อะไรพวกนี้ ก็จะรู้ว่ามันออแกนิกจริงๆ

นอกจากหน้าตาจะคูลๆแล้ว ความคิดก็คูลๆด้วยค่ะ

GOPR8238.JPG

facebook ร้านกาแฟ Feng Chen Store ของเนวhttps://www.facebook.com/fengchenstore/

พอแดดเริ่มเคลื่อนตัวมาโดนพวกเรา เนวก็เรียกให้หยุดทำทันที ประมาณ 7 โมงกว่า

ขากลับถามเนวว่า รู้จักพวกเรนได้ไง เป็นเพื่อนกันตอนเด็กๆหรอ

เค้าบอกว่า เมืองมันเล็ก วัยรุ่นก็ไม่ค่อยเยอะ รู้จักกันเพราะแม่(เฉินมามา)ทำร้านอาหาร ชอบทำอาหารให้คนกินก็เลยรู้จักคนเยอะ แล้วก็ได้รู้จักเรนด้วย

 

กลับมาถึงร้านกาแฟ ก็รีบไปอาบน้ำแล้วมากินอาหารเช้าตอนเก้าโมง กินที่โรงแรมของฟ่านฟ่าน พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวเค้า

อาหารเช้าที่เฉินมามาทำก็ง่ายๆ ไข่เจียว ผัก หมูหยอง

IMG_0010.JPG

มื้อนี้มีเต้าเจี้ยวสีแดงๆด้วย  โอ้วว คิดถึงรสชาติมาก เคยกินตั้งแต่เด็กๆสมัยอยู่กับอาม่า แล้วก็ไม่ได้กินอีกเลย 20กว่าปีแล้ว เราเอามาคลุกข้าวกินไปเยอะมาก

 

เนวเป็นชาวนาที่ไม่ได้นอนกลางวันเหมือนคนอื่น เพราะพอทำนาเสร็จตอนเช้า ก็กลับมาเปิดร้านกาแฟเลย

ส่วนพวกเรา เดี๋ยวเรนจะมาพาไป Go Happy อีกครั้ง เพราะวันนี้วันอาทิตย์

 

จุดหมายของวันนี้คือการไปซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารไทย เพราะพรุ่งนี้จะมีปาร์ตี้อำลาพวกเรา  และเคยคุยกันไว้ว่าเปิ้ลทำอาหารเป็นนะ อยากทำอาหารไทยให้เค้ากินกัน ก็เลยจะกินอาหารไทยในคืนสุดท้ายนี่แหละ

 

แต่ที่ฟูลิไม่มีร้านที่จะหาวัตถุดิบได้เลย เรยจึงจะพาไปซื้อที่ Taitung ซึ่งห่างไปประมาณ 60-70 กม.

โห ลงทุนมากอ่ะ จริงๆแล้วขับไกลกว่าที่คิดด้วยนะ เพราะเรนจะพาข้ามเขาไปเที่ยวทะเลก่อนด้วย

เริ่มจากพาไปทะเล จริงๆฟูลิอยู่ฝั่งตะวันออกใกล้ทะเล แต่มีเขากั้นอยู่

(ความจริงมีเขากั้นทั้งสองด้านแหละ ด้านที่ไปทะเลและด้านที่ไปฝั่งตต. คืออยู่ท่ามกลางเขาอย่างแท้จริง )

พอเรนขับรถผ่านอุโมงทะลุมาอีกด้านนึงของเขา วิวก็เปลี่ยนเป็นทะเลทันที

ร้องโอ๋กันใหญ่

IMG_0051.JPG

เรนบอกว่าจากทะเลนี้มีเรือไปโอกินาว่าได้เลยนะ 4ชม.

แล้วก็ขับรถไปยังถนนที่พุ่งตรงเข้าทะเล สวยมาก กระโดดถ่ายรูปกันบนถนนกันใหญ่ แดดแรงเผากายขนาดนี้ก็มีดีตรงที่ทำให้เราได้ภาพฟ้าสีสวยๆนี่แหละ

IMG_0017.JPG

IMG_4321.jpg

เสร็จแล้วก็ไปแวะที่ฟาร์มกุ้ง เรนบอกว่าเราจะมาซื้ออะไรบางอย่าง

แล้วอะไรบางอย่างที่ว่านั่นก็คือกุ้งนั่นเอง ไปให้เราใช้ทำต้มยำกุ้งพรุ่งนี้

…นี่ถึงขนาดต้องมาซื้อที่ฟาร์มกุ้งกันเลย

IMG_0055.JPG

เรนเป็นคนที่ต้องSelfieไปทุกที่ มาซื้อกุ้งเสร็จก็ไม่ลืมที่จะSelfieกันซะหน่อย

แล้วก็ไปต่อกันที่ร้านอาหารกลางวัน เรนพามากินอาหารทะเล เป็นโต๊ะจีนด้วย หวั่นใจมากๆว่าจะกินไม่หมดอีกแล้ว

เรนอธิบายว่า คนที่นี่เป็น Farmer X

หมายความว่ามีอาชีพเป็นเกษตรกรตอนเช้าๆ แล้วก็จะเป็นอย่างอื่นด้วยตอนกลางวันที่ไม่ได้ทำไร่ทำสวน เรียกว่าอาชีพ X

กลายเป็น Farmer X

อ้อ อย่างเนวนี่เอง เป็น Farmer และเจ้าของร้านกาแฟด้วย เนวคงไม่ได้นอนกลางวันเหมือนคนอื่น

 

Taitung เป็นเมืองใหญ่ เจริญ มีร้านเยอะ มีห้างคาร์ฟูที่เราจะไปซื้อของกันวันนี้

แต่มีเครื่องปรุงที่จะเอามาทำต้มยำกุ้งไม่ครบ โชคดีที่มีชุดทำต้มยำขาย นำเข้าจากไทย

พวกเราว่าจะทำ ต้มยำกุ้ง ผัดกะเพรา กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา ไข่เจียวหมูสับ

เจอข้าวของเรนวางขายที่นี่ด้วย

 

ก่อนกลับก็ไม่ลืมที่จะแวะซื้อชานมให้กินอีก เป็นอีกยี่ก้อที่ไม่มีในFuli

เรนใจดีและอึดมาก ขับมาเกือบร้อยโลเพื่อมาซื้อของที่นี่

ขากลับเรนก็เปิดเพลงไทยเมื่อหลายสิบปีก่อนให้ฟัง ได้แก่เพลงพี่เบิร์ด

พริกขี้หนู ต่อด้วยเพลงพี่เบิร์ดสมัยนั้นแบบรัวๆ ร้องได้หมดเรย ฮ่าๆ

อย่างที่บอกว่าเรนจะยุ่งมาก คุยธุระตลอดเวลา พอมีช่วงว่างไม่มีใครโทรมา เรนก็จะคุยกับ Siriแทน…คืออยู่นิ่งๆไม่ได้เลยทีเดียว

 

กลับมาถึงFuli ก็เย็นพอดี อาหารเย็นวันนี้กินที่ร้านอาหารจีนแคะ เรนขับรถไปรับหมินจงและฟ่านฟ่านมากินด้วย 

พอไปถึงปุ๊บ เรนก็บอกเราว่า “นี่เป็นร้านของคนจีนแคะเหมือนกัน”
และก็แนะนำเราให้เจ้าของร้านฟังด้วยว่า เป็นคนจีนแคะ

มื้อนี้สนุกมาก พวกเค้าคุยได้เก่งขึ้นมาก เพิ่งสังเกตุว่า เราสามารถคุยกับหมินจงได้ โดยที่ไม่ต้องใช้googleแล้ว

สอนภาษากันไปมา ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ หมินจงอยากรู้ภาษาไทยมากกว่าคนอื่นเพราะกำลังจะไปเที่ยวไทย

GOPR8287.JPG

เรนบอกว่า หมินจงจะไปเกาชง 4วัน เพื่ออบรมเรื่องการเพาะกล้าข้าว

ดังนั้นวันนี้คือวันสุดท้ายที่เจอเรา… นี่มันเป็นข่าวร้ายของวันนี้เลย

พอรู้ว่าไม่ได้อยู่พร้อมหน้าแล้ว ราวกับว่ามันเป็นวันสุดท้ายของเราที่นี่เลย

เริ่มใจหาย นี่ต้องถึงช่วงอำลาอีกแล้วใช่ไหมเนี่ย

การต้องบ้ายบายเพื่อนที่Fuli มันไม่ธรรมดาเหมือนการบ้ายบายสองครั้งที่ผ่านมาของเรา

 

หลังกินข้าวเสร็จ พวกเค้าพาแวะหลายที่กว่าจะกลับ เช่น ร้านขายหมู ซุปเปอร์ ร้านขายของทำเค้ก และสุดท้าย

หมินจงไม่ลืมที่จะพาเราไปกินน้ำแข็งไส ตามที่เคยพูดไว้เมื่อสามวันก่อนว่าจะพาไป

น้ำแข็งไสเรียกว่า ทรอเปียง ทราปิ๊ง หรืออะไรซักอย่างนี่แหละ

IMG_0079.JPG

กินเสร็จก็กลับไปส่งหมินจงที่บ้าน ทันทีที่เลี้ยวเข้าบ้าน เรนพูดว่า

“It’s time to say goodbye to Min-chung” พวกเราก็เชคแฮนด์ตบไหล่ร่ำลา

 

หวังว่าเราจะได้เจอกันที่ไทยนะหมินจง

Day8 ตามติดชีวิตRain – Rain’s Day

วันนี้เป็นวันแห่งการตามติดชีวิตเรน

จริงๆเหมือนไม่ได้ทำไร แต่การได้ตามติดชีวิตเรนมันก็มีประโยชน์มากทีเดียว

เนื่องจากตอนเย็นจะมีนักท่องเที่ยวมาที่โรงงานเรน เลยต้องมาเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ เตรียมข้าวสารมาโชว์ จัดโต๊ะเก้าอี้

เรนพาเข้าไปดูห้องเย็นที่เก็บข้าวเปลือก ใหญ่มาก ไม่รู้มีตัน เป็นข้าวที่เก็บไว้รอการเอาออกมาสีภายหลัง เรนเข้ามาเอาข้าวที่สีไว้แล้วแต่ยังไม่ขัดสี เพื่อใช้อธิบายนักท่องเที่ยงเย็นนี้

IMG_9874.JPG

เรนเอาถังข้าวเล็กๆหลายอัน มาใส่ข้าวหลายๆแบบที่มาจากการสีแต่ละขั้นตอน เอามาวางเรียงกันตามลำดับ

วันนี้จะให้นักท่องเที่ยวเล่นเกมส์ เรียงลำดับข้าว

โอ๋ววว(คำอุทานของเรน) เป็นกิจกรรมที่ได้ความรู้จริงๆ

6.png

มีเครื่องขัดสีข้าวขนาดพกพาด้วย เรนจะเอามาโชว์ขัดสีให้ดู

เลยมาทำความสะอาดเครื่องรอไว้

7.png

ได้เดินขึ้นไปชั้น2ของออฟฟิศ เรนบอกว่าจะทำเป็นที่จัดกิจกรรม เป็นห้องเรียน

มันต้องเป็นห้องเรียนที่วิวสวยมากเลย

IMG_9870IMG_9871

เสร็จจากการเตรียมงาน ก็มานั่งที่ร้านกาแฟของเนว ขนกระเป๋ามาเก็บที่ห้องที่เราจะนอนกันคืนนี้

ที่นี่ก็กำลังเตรียมงานคืนนี้เหมือนกัน งานแบ่งปันความรู้เรื่องชนิดของกาแฟ

 

เราถามเรนว่า แล้วก่อนที่จะถึงเวลาที่นักท่องเที่ยวจะมาในตอนเย็น พวกเราจะทำไรกัน

“Go Happy”

เอิ่ม เพิ่งเคยเห็นคนใช้คำนี้ครั้งแรก มันคือช่วงเวลาอิสระ เที่ยวเล่น ไม่ต้องทำงาน อะไรอย่างงี้ใช่มั้ย

 

โอเคเราเริ่ม Go happyกันด้วยการนั่งรถไป Yuli เมืองข้างๆ เพื่อไปกินอาหารไทยกัน

เฮ้ยย อาหารไทย…คิดถึงรสชาติจัดจ้าน ความเผ็ดเหงื่อไหล ข้าวหอมมะลิ และช้อนส้อม

 

ร้านนี้เล็กๆง่ายๆ มีปฏิทินรูปรัชกาลที่9ติดอยู่ที่กำแพง (ตกแต่งสไตล์ร้านอาหารไทยมาก)

แม่ครัวเป็นคนไทย อาหารก็เลยเหมือนไทยมากๆ กะเพราะหมูสับ ส้มตำไทย

หลังจากนั้นก็กลับ ขากลับเปิดเพลงที่ได้ยินที่โรงงานเมื่อวานและติดหูมาถึงตอนนี้ เรนบอกว่าเป็นเพลงของชาวพื้นเมือง เค้าฉลองกันเหมือนงานปีใหม่ แล้วเพลงก็จะเปลี่ยนไปทุกปี

แล้วพวกก็นั่งร้องเล่นกันไประหว่างทาง

IMG_9899.JPG

ผ่านทุ่งนาข้าวที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่แทรกให้เป็นรูปหมีด้วย แถมปลูกตรงที่มีสะพานข้าม เมื่อรถวิ่งผ่านสะพานก็จะสามารถเห็นหมีในมุมสูงได้ ใหญ่มากๆๆ อลังการ

IMG_9894.JPG

กลับมาถึงบ้านเรนเพื่อแพคของ ร่ำลาอากง แล้วก็ย้ายมาที่ร้านกาแฟ บ้านพักที่สุดท้ายของเราที่ฟูลิ

บ้านนี้แต่ก่อนก็เป็นบ้านที่เนวและฟ่านฟ่านอยู่สมัยเด็กๆ แต่ตอนนี้รีโนเวทเป็นร้านกาแฟข้างล่าง และบางห้องทำเป็นห้องสำหรับแขกมาพัก

พอได้เดินสำรวจไปมาพบว่าใหญ่กว่าที่คิด มีสามชั้น แม้หน้าจะแคบ แต่บ้านก็ลึกมาก ร้านกาแฟเป็นแค่ส่วนเล็กๆในบ้านใหญ่ๆ

IMG_0119.JPG

จบแล้วช่วงเวลา Go happy ต่อไปคือการไปต้อนรับนักท่องเที่ยวที่โรงงานเรน

แต่เราว่ามันก็ happyอยู่ดี

 

เรายืนรอขบวนรถของนักท่องเที่ยวกันหน้าโรงงาน รอไปร้องเพลงไป เพลงที่ติดหูมาตลอดวันนี้ พวกเราทำให้เรนติดหูไปด้วย

Ho-i-ya-o-i….

 

ก่อนหน้านี้เราดูงานมาหลายที่ วันนี้เรากลายมาเป็นคนช่วยต้อนรับคณะดูงานด้วยซะงั้น ช่วยหรือเป็นภาระไม่รู้ …..ก็ตื่นเต้นดีเหมือนกัน

รอไปรอมา นักท่องเที่ยวยังไม่มา แดดก็ร้อนมากๆ เรนชวนกันถ่ายรูปเล่น

GOPR8174.JPG

มีแขกมา18คน พอแขกมาเรนก้อต้องแนะนำตัวพวกเราเหมือนทุกครั้ง เราฟังได้อยู่คำเดียวคือ “ฮามิกั๋ว” ซึ่งแปลว่าเมล่อน เรนคงจะอธิบายว่าเราปลูกเมล่อนที่ไหน

ได้ยินฮามิกั๋วทุกครั้งที่เรนพาไปเจอคนแปลกหน้า

เรนพาแขกทั้ง 18 คนไปนั่งที่เนินหน้าโรงงาน เนินเริ่มร่มแล้ว ทุกคนดูชอบวิวจากเนินนี้ เหมือนกับที่เรารู้สึกครั้งแรกที่มา เรนยืนอธิบายอะไรไม่รู้นานมากๆ ในขณะที่แขกก็ฟังไป นั่งเล่นชิมวิวไป

เป็นการบรรยายที่ดูผ่อนคลายสุดๆ

IMG_4211.jpg

ซักพักป่ะป๊าเรนก็มากวักมือชวนเรากับเปิ้ลไปปอกฝรั่งรอ เพื่อให้แขกกินหลังจากฟังเรนพูดเสร็จ

ฝรั่งนี้ คืออันที่ป่ะป๊าชวนชัยไปเก็บมาเมื่อเช้าแน่ๆ เปิ้ลลงมือปอก ส่วนเราไม่ค่อยถนัดปอก (ปกติไม่กินผลไม้ด้วยซ้ำ ยกเว้นเมล่อนของตัวเอง) ก็เลยนั่งเรียงใส่จานให้สวยๆไปละกัน

ส่วนป่ะป๊า ก็เอาส้มโอมาเตรียม และยกอุปกรณ์ชงชาออกมาเตรียม

ป่ะป๊าเรนมาพร้อมชาตลอดอ่ะ ทุกครั้งที่เรนพามาแวะที่โรงงาน ป่ะป๊าจะนั่งชงชาอย่างพิถีพิถันสุดยอด แล้วรินให้เรากินกัน มันเป็นภาพเดิมแบบนี้ซ้ำๆซักประมาณ 3 ครั้งได้

มีกิจกรรมให้ทุกคนทำ คือวาดรูปบนขวดพลาสติก และพาไปขัดสีข้าวให้ดู แล้วใส่ขวดที่วาดนั้นกลับบ้านไปเป็นของที่ระลึกIMG_9921.JPG

8.png

ต่อมาก็เกมสลับลำดับข้าว คือจะเอาข้าวที่วางเตรียมไว้ตามลำดับการเกิดจากก่อนไปหลัง เอามาสลับตำแหน่ง แล้วให้นักท่องเที่ยวมาเรียงลำดับใหม่ให้ถูกต้อง เช่นข้าวเปลือกมาก่อน แล้วสุดท้ายเป็นข้าวขาว

เล่นจบปุ้บทุกคนก็จะรู้ขั้นตอนการสีข้าวทั้งหมด

ทุกคนดูสนุกมาก เรนก็เป็นผู้บรรยายที่ดูร่าเริง พูดเก่ง

เรนบอกว่ามีแขกมาแบบนี้ประมาณเดือนครั้งได้ และมีรายได้จากแขกคนละ150$

9.png

เรนใจดีและActiveมาก ขนาดกำลังวุ่นวายกับแขกเหรื่อ ก็ยังมีเวลามาดูแลพวกเรา คอยถามว่าเอาข้าวมั้ย และไม่ลืมที่จะเรียกมาถ่ายเซลฟี่กัน

ตอนจบเราถามว่าเหนื่อยมั้ย เรนบอกว่าบอกว่าไม่เหนื่อย ด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มปกติ

พลังเยอะจริงๆ แล้วถามเราอีกว่า “ห่าวหวานมา” แปลว่าสนุกมั้ย

สนุกสิคะ.. Go happy จริงๆวันนี้

GOPR8216.JPG

พอแขกกลับกันหมด เรนก็ดูรีบๆ รีบกลับมากินข้าวที่โรงแรมของฟ่านฟ่าน ซึ่งอยู่ห่างจากร้านกาแฟที่พักของเราประมาณ 10 เมตร

แม่ฟ่านๆเป็นคนทำอาหารเองทั้งหมด อร่อยมาก มีหมูห่อชีสทอดด้วยIMG_9926.JPG

IMG_9922

มื้อนี้กินกันหลายคนเลย มีเนว ลูกเมียเนว เพื่อนเนว ฟ่านฟ่าน เฉินมามา(แม่ของเนวและฟ่านฟ่าน) เรน และหมินจง

IMG_4776.JPG

ฟ่านๆเป็นคนอารมณ์ดีมาก หัวเราะตลอด คือทุกครั้งที่คุยกัน (ย้ำว่าทุกครั้ง) มันต้องมีเรื่องให้ตลกแล้วหัวเราะตลอด

กินเสร็จปุ้บ หมินจงก็รีบต้อนพวกเราให้เดินไปที่ร้านกาแฟ

อ้อ เป็นงานกาแฟที่เราเห็นเค้าเตรียมสถานที่กันเมื่อเช้านี่เอง

เพิ่งรู้ตอนนี้เองว่าเราได้มาร่วมงานด้วย นี่งานก็กำลังจะเริ่ม

อ๋อ.. คือที่เรนรีบๆออกมาจากโรงงาน รีบกินข้าว ก็เพื่อมางานกาแฟนี่เอง !

IMG_9950.JPG

แน่นอนว่างานนี้พูดกันด้วยภาษาจีนล้วน เราไม่เข้าใจแม้แต่นิด แต่ก็นั่งฟังอย่างตั้งใจต่อไป ดูรูปก็ได้

เราถามเรนว่า “งานนี้มีเพื่ออะไรหรอ มาสำรวจความชอบ มาอธิบาย หรือยังไง”

เรนบอกว่า เป็นการมาสอนให้คนที่นี่รู้จักว่าในfuliมีกาแฟอะไรบ้าง

 

งานกาแฟจบไปประมาณ 3ทุ่ม

แล้วก็เดจาวู นั่งคุยยัน5ทุ่ม ไม่ถึง5ทุ่มไม่เลิกเด็ดขาด

วันนี้มีลองเลก(เค้าขายาว เลยให้เราเรียกเค้าว่า long leg) และเฉินมามาเข้ามาร่วมคุยด้วย

แม้จะนั่งคุยทุกวัน เรื่องมันก็ไม่ซ้ำซากจำเจนะ เพราะคนที่เรานั่งคุยด้วยผลัดเปลี่ยนกันไปเรื่อย

จากซ้ายไปขวา เฉินม้า(แม่ของฟ่านๆและเนว) ลองเลก ฟ่านๆ เรน

10.png

จบแล้วค่ะ วันของเรน ได้เรียนรู้อะไรมากเลย

ได้รู้ว่าเรนขยันมาก พูดเก่งมาก ติดต่อกับคนเยอะมากๆ

เรนคุยโทรศัพท์แทบจะตลอดเวลา มีทั้งลูกค้า เพื่อน เจ้าหน้าที่รัฐบาล

ต้องจัดการอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน รวมทั้งจัดการเรื่องดูแลพวกเราด้วย

บางวันเรนนอนตีสอง นั่งเขียน Proposalไปเสนอรัฐฯ และก็มีหลาย Proposalที่ทำอยู่ด้วย

และที่สำคัญคือ เราไม่เคยเห็นเรนทำหน้าเหนื่อยเลย มีแต่ความยิ้มแย้ม

เป็นคนที่มีพลังเยอะจริงๆ สามารถสร้างสรรอะไรๆได้มากมาย

ทำได้ไง อยากมีพลังแบบนั้นบ้าง

IMG_9897.JPG