โรงงานเห็ด Refung Mushroom farm

เป็นฟาร์มเห็ดที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงาน TARI (Taiwan Agricultural Research Institute)

ทำการเพาะเห็ดมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี เห็ดที่ผลิตปัจจุบัน คือ เห็ด King Oyster ทางฟาร์มจะจำหน่ายเห็ดสด ก้อนเห็ดพร้อมเปิดดอก และจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดที่เปิดดอกแล้วสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์

 

การผลิตเห็ด

วัสดุที่ใช้ทำก้อนเห็ด ประกอบด้วย ขี้เลื่อย รำข้าว แกนข้าวโพดป่น ปูนขาวเพื่อปรับ pH

IMG_8394

ขั้นตอน

  1. ตากแดดขี้เลื่อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงจะนำมาใช้ได้ และนำมาผสมในถังผสมขนาด 1 ตัน ต่อรอบกันผสม ผสมครั้งละ 50 นาที ใช้ขี้เลื่อย 70% มีการปรับ pH ให้เหมาะสม ซึ่ง King Oyster ชอบ pH =5.6
  2. นำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว นำมาบรรจุใส่ถุง ถุงละ 2 kg โดยใช้เครื่องมือแบบกึ่งอัติโนมัติ เมื่อกรอกขี้เลื่อยลงถุงแล้ว จะใช้แรงงานในการปิดฝาถุง จากนั้นจึงนำไปใส่ตะกร้า 10 ถุงต่อตะกร้าหนึ่งใบ หลังจากนั้นก็ผ่านเครื่องเจาะรูสำหรับใส่สปอร์ เจาะลงไปถึงกลางถุง จากนั้นจึงอุดด้วยสำลี และปิดตะกร้าด้วยแผ่นพลาสติกสีดำ นำไปวางบนชั้นเพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายเข้าสูงถังอบไอน้ำ
    • IMG_8400
  3. อบไอน้ำ ในถังี่มีท่อต่อมาจากเครื่องทำไอน้ำ อบที่อุณหภูมิมากกว่า 120องศา อบได้ครั้งละ 2ตัน  2,400 ถุง แล้วทิ้งไว้ให้เย็นลงมาที่ 25 องศา ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 ชม.
  4. ย้ายมาอีกห้องสำหรับเขี่ยเชื้อ
  5. ย้ายมาเก็บที่ห้องบ่มเชื้อ อุณหภูมิ 22 องศา ระยะเวลา 1 เดือน
    • IMG_8404
  6. ย้ายมาที่ห้องเปิดดอก อุณหภูมิ 20 องศา ความชื้นต่ำประมาณ 70% มีการตรวจสอบการเดินของเส้นใยต้องเต็มถุง ต้องมีคุณภาพที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ถ้าติดเชื้อจะมีสีเขียวหรือดำก็จะนำออกไปทำลาย ระยะเวลา 1 อาทิตย์จึงจะออกดอก ในช่วงนี้จะมีการขายด้วย ก้อนเห็ดของที่นี่จะได้คุณภาพดีไม่มีการปนเปื้อน 95%
    • การวางก้อนเห็ด จะวางที่มุม 45องศาจากพื้น
    • IMG_8405
  7. ย้ายมาอีกห้อง ที่ลดอุณหภูมิลงมาที่ 16องศา ความชื้อสัมพัทธ์ 80% ปรับความชื้อโดยการสเปรน้ำจากด้านบน เก็บไว้ในห้องนี้ประมาณ 10 วัน ที่นี่ไม่มีปัญหาในการติดเชื้ออื่นด้านนอก เพราะมีการควบคุมความสะอาดอย่างดีทั่วบริเวณ และเห็ดของที่นี่จะแข็งแรง ไม่ติดเชื้อได้ง่ายๆ
    • IMG_8416
  8. ย้ายมาที่ห้องเก็บผลผลิตอีก 1 อาทิตย์ อุณหภูมิ 16 องศา ความชื้น 90% และเก็บผลผลิดเพียงแค่ครั้งเดียว 1 ก้อนสามารถเก็บผลผลิตได้ 250-280g ขนาดที่ได้จะยาวประมาณ 15 ซม.
  9. ย้ายมาที่ห้องคัดเกรด ซึ่งแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
  10. ตัดแต่ง
  11. แยกขนาด แบ่งเป็น 4 เกรด A,B,C,D โดยเกรด A,B นำไปขายที่ Super market ส่วน C,Dขายตามโรงแรมและร้านอาหาร ตลาดทั่วไป
  12. บรรจุถุงให้ได้น้ำหนักถุงละ 1 กก.

ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่บรรจุก้อนจนถึงเก็บเกี่ยว ระยะเวลา 2เดือน

หลังจากศึกษาดูงานที่ฟาร์มเห็ด Refung Mushroom farm ได้ศึกษาดูงานกลุ่มงานรับผิดชอบเรื่องการผลิตเห็ด ของหน่วยงาน TARI ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เห็ด แสดงตัวอย่างเห็ดชนิดต่างๆ พร้อมอธิบายสรรพคุณและการใช้ประโยชน์

IMG_8429

ในปี 2016 ประเทศไต้หวันมีการส่งออกเห็ดและมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 430 ล้าน NTD เห็ดที่สำคัญของประเทศไต้หวัน ได้แก่

  1. เห็ดชิตาเกะ
  2. King Oysters
  3. เห็ดเข็มทอง
  4. Oyster
  5. เห็ดหูหนู

ภายในศูนย์วิจัยของ TARI มีการวิจัยการเพาะเห็ด แบบ Plant factory โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีระบบควบคุมและมี Sensor ควบคุมสภาพอากาศภายในตู้ เชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปที่โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ ด้านบนตู้คอนเทนเนอร์จะมีแผงโซล่าเซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้ภายในตู้

DCIM101GOPROGOPR7482.

ข้อดีของการเพาะเห็ดแบบนี้ คือ สามารถเคลื่อนย้ายนำไปเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้

IMG_8539

Mushroom industry of Taiwan and promotion in SEA

โดย Yunsheng Lu เจ้าหน้าที่จาก Taiwan Agricultural Research Institute Plant Pathology Division, Mushroom research Laboratory ได้บรรยายถึงอุตสาหกรรมการผลิตเห็ดในประเทศไต้หวันว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งในอดีตประเทศที่ผลิตเห็ดมากที่สุดคือประเทศจีน ปัจจุบันการผลิตเห็ดแพร่หลายมากขึ้นผลผลิตของประเทศทั่วโลกยกเว้นประเทศจีน สูงประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี เนเธอร์แลนด์ฝรั่งเศส เวียดนาม ไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ วิวัฒนาการด้านการผลิตเห็ดของประเทศไต้หวันได้เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ในปี ค.ศ. 1950 เริ่มมีการผลิตเห็ดฟาง (white button mushroom) ในปี ค.ศ. 1969 เริ่มมีการส่งออกเห็ดไปยังต่างประเทศ ปี ค.ศ.1972 ผลิตเห็ดฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1974 ผลิตเห็ดชิตาเกะ (shitake) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 จนถึงปัจจุบันนิยมผลิตเห็ดนางรมหลวง (King oyster mushroom) และในปี ค.ศ. 2000 เริ่มนิยมผลิตเห็ดที่มีสรรพคุณเป็นยามากขึ้น (Medicinal mushroom)

ปัจจุบันประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่มีการส่งออกเห็ดไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง จีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ปริมาณการส่งออกประมาณ 750,000 กิโลกรัมต่อปี และมูลค่าการส่งออกมากกว่า 57 ล้าน NTD

ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ดในประเทศไต้หวัน

mushroon

Reference:  รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Mushroom industry of Taiwan and promotion in SEA” ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan