Story of Greenhouse

การบรรยายเรื่อง Story of Greenhouse โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director

ภาพนิ่ง23

โรงเรือนปลูกพืช (Greenhouse) มี  2 แบบ คือ

  • Net house คือ โรงเรือนแบบมุ้งตาข่าย กันแมลง ลดความรุนแรงของลมและฝน ทางเข้าโรงสำคัญมากห้ามให้แมลงหลุดรอดเข้าไปได้เด็ดขาด บางทีใช้ๆไปนานวันเข้าแมลงอาจะมากขึ้นได้เพราะเมื่อเข้ามาแล้วก็ออกไม่ได้ ในโรงก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ก็อยู่สร้างลูกหลานต่อไปในนั้นเลย

ภาพนิ่ง59

สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ขนาดของรูตาข่าย ต้องเล็กพอที่จะกันแมลงศัตรูพืชเราได้ และไม่เล็กเกินไปจนทำให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไปสำหรับพืชที่ปลูก ประตูก็ควรเป็น Double door กันแมลงบินตามคนเข้าไปได้ดีกว่า

  • Greenhouse ทำจากพลาสติกหรือกระจก มีคุณสมบัติที่ Net houseมีทั้งหมด แต่มีดีกว่านั้นตรงที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้เกือบทุกสิ่ง ร้อนไปเย็นไปก็ปรับได้ กันลม กันแมลง กันฝน กันความร้อนจากแสงแดด เก็บรักษาพลังงานและน้ำได้ดี

พืชที่นิยมปลูกในโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นพืชที่อายุมากกว่า 1-2 เดือน และมูลค่าสูง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา เมล่อน มะเขือยาว พริกหวาน กล้วยไม้ เบญจมาศ เป็นต้น

ปัจจุบันโรงเรือนมีความสำคัญต่อการทำการเกษตรค่อนข้างมาก และใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศสเปน สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ทั้งนี้ การปลูกพืชในโรงเรือนถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง สิ่งที่ต้องคำนึงในการสร้างโรงเรือน คือ ความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ และชนิดพืชที่ปลูก รูปร่างโรงเรือนก็มีหลายทรง ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศนั้นๆ

และแม้กระทั่งแนวการปลูกพืชก็ต้องเอื้อกับทิศทางลมในโรงเรือนด้วย เพื่อให้ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง

ภาพนิ่ง43

มีการเอาหลักฐาน Annual Production/unit มาให้ดูเปรียบเทียบกันระหว่างโรงพลาสติกธรรมดากับโรงเรือนกระจก ว่าโรงเรือนกระจกที่ควบคุมสิ่งแวดรอบได้มากกว่านั้นจะเพิ่มผลผลิตได้ยังไง

และอย่างมะเขือเทศ ปกติในไต้หวันจะไม่สามารถปลูกได้ทั้งปี แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนก็จะปลูกได้ตลอด

ภาพนิ่ง7

Reference: รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ”Story of Greenhouse” โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

One Comment

Leave a comment