การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

แก้วมังกร ของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ไต้หวัน

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0043

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตแก้วมังกร Yuh – Tay Farm เป็นแปลงของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ปลูกแก้วมังกรอายุประมาณ 3 ปี ตามมาตรฐาน GAP พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ของประเทศไต้หวัน ชื่อพันธุ์ Big Red เนื้อมีสีแดง ซึ่งเป็นสีที่มงคลทำให้สามารถขายได้ราคาดี ประมาณกิโลกรัมละ 80 – 100 NTD

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0042

พื้นที่ 1 เฮกตาร์ สามารถให้ผลผลิต 60,000 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต (1 รอบการผลิตเวลาประมาณ 6 เดือน) ระยะปลูก ระยะระหว่างร่องประมาณ 200 เซนติเมตร ระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร

การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยใช้ต้นพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ปลูกลึกลงไปในดินประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร

Yuh – Tay Farm จะแบ่งแปลงปลูกแก้วมังกร ออกเป็น 2 โซน คือ โซนแปลงที่ปลูกแก้วมังกรที่ให้ผลผลิตในฤดู และนอกฤดู แต่แปลงจะให้ผลผลิตเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นจะมีการพักต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน แก้วมังกร 1 กิ่งจะไว้ผล จำนวน 1 ผล โดยปกติแก้วมังกร 1 กิ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 16 ผล แต่ทางสวนมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจึงมีการไว้ผลสลับ เพราะฉะนั้น 1 กิ่ง จะให้ผลผลิตจำนวน 8 ผลเท่านั้น

หลังจากที่แก้วมังกรออกดอกเป็นระยะเวลา 30 วัน ผลแก้วมังกรจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง การตัดแต่งกิ่งจะไว้กิ่งแต่ละกิ่งยาวจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร และไว้ต้นแขนงให้ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อให้ธาตุอาหารต่างๆ เพียงพอในการเลี้ยงลำต้น และเป็นการช่วยเร่งการออกดอก

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0046

การทำผลิตแก้วมังกรนอกฤดู จะไม่ไว้ผลในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม และมีการเพิ่มแสงเพื่อยืดระยะเวลาในการออกผลให้ยาวออกไป โดยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผิตในตลาดมีจำนวนน้อย ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่ในบางครั้งถ้าอากาศหนาวเกินไปผลผลิตจะได้ไม่ถึง 3 ครั้ง

ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช คือ โรคแคงเกอร์ (Canker) โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) และโรครากเน่าในช่วงฤดูฝน มีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคประมาณ 3 ครั้งต่อปี ประโยชน์ของการปลูกแก้วมังกรในโรงเรือน เพื่อให้ประหยัดแรงงานในการห่อผล ป้องกันแมลงวันผลไม้ที่มาเจาะผล และเมื่อต้นแก้วมังกรมีอายุประมาณ 10 ปี จะมีการรื้อแปลงและปลูกใหม่ เนื่องจากต้นที่แก่จะเกิดโรคได้ง่าย ปลูกไปแล้วประมาณ 10 ปีจะปลูกใหม่

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0020

Floriculture Research Center

ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนกล้วยไม้ ของศูนย์วิจัยการปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือน

IMG_7658

ภายในศูนย์วิจัยนี้ มีโรงเก็บเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น แบ่ง 2 ถัง คือถังน้ำเย็นและถังน้ำร้อน (ในถังน้ำร้อนถ้ามีอุณหภูมิสูงเกิน จะระบายออกไปอีกถังหนึ่งที่มีน้ำไหลFlowออกมานอกถัง)

DCIM101GOPROGOPR7094.

เมื่อทำน้ำร้อนน้ำเย็นแล้วจะถูกปั๊มเข้าไปเก็บไว้ในถังพัก และส่งไปใช้ในโรงเรือนโดยผ่านท่อใต้ดิน
ใช้solar cell เป็นแหล่งพลังงานประมาณ 10 % ของพลังงานที่ใช้ทำน้ำร้อนน้ำเย็น

อีกส่วนนึงคือ โรงเรือนปลูกกล้วยไม้ ด้านหนึ่งของโรงเรือนเป็น Cooling pad ขนาด 60×180ซ.ม. ใช้ 2 ชิ้นซ้อนกันในแนวตั้ง การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนจะใช้น้ำร้อนและน้ำเย็นที่ส่งผ่านท่อใต้ดินเข้ามา ผ่านเครื่องปล่อยอากาศร้อนเย็นออกมาด้านล่างของโต๊ะปลูก

IMG_7662

เมื่อต้องการปรับอุณหภูมิให้ลดลงจะส่งน้ำเย็นเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ต่ำสุด ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ในทางกลับกัน เมื่อต้องการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะส่งน้ำร้อนเข้ามา สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนได้ ประมาณ 55 – 100 องศาเซลเซียส
และเมื่อส่งน้ำเย็นพร้อมกับน้ำร้อนจะใช้ปรับความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ภายในโรงเรือน

DCIM101GOPROGOPR7098.

 

Ox Orchid ศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวัน

Ox Orchid เป็นศูนย์กลางการปลูกกล้วยไม้ในไต้หวันเป็นโรงเรือนระบบ Evaporation มีพื้นที่ขนาด 200 เฮกตาร์ (1,250 ไร่) ส่งขายทุกระยะของกล้วยไม้ ทั้งแบบยังไม่มีดอกและออกดอกแล้ว

IMG_7639

โรงเรือนหลังคา 2 ชั้น ทำหน้าที่คนละอย่างกันคือ
– สีดำ เพื่อพรางแสงและกันแสงแดด
– สีเงิน สะท้อนความร้อนที่ขึ้นไปบนหลังคาให้ตกลงมาในโรงเรือน เพื่อกักเก็บความร้อนในฤดูหนาว

IMG_7634

ภายในโรงเรือนมีแถบกาวดักแมลงที่มีสารล่อแมลงให้มาเกาะ และเครื่องดักแมลง ล่อแมงด้วยแสงUV เปิดตอนกลางคืน ด้านล่างจะเป็นถุงให้แมลงตกลงไปแล้วออกมาไม่ได้ ส่วนวัสดุปลุกที่ใช้สำหรับปลุกกล้วยไม้ คือ Sphagnum moss

IMG_7629DCIM101GOPROGOPR7076.

โรงเรือน แบ่งเป็น 3 โซน ตามระยะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้และควบคุมอุณหภูมิแตกต่างกัน
1) ระยะต้นกล้า
2) ระยะเตรียมออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส
3) ระยะออกดอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส

การวางตำแหน่งใบกล้วยไม้ Y Shape เพื่อให้ลมผ่านทั่วถึง ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดแรงงานในการเคลื่อนย้ายกล้วยไม้ การให้ปุ๋ยจะให้พร้อมกับการให้น้ำโดยใช้แรงงานคนทั้งหมด ให้คนรดน้ำที่โคนละต้น ในขณะเดียวกันก็ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกล้วยไม้ทีละต้นอย่างใกล้ชิดไปด้วย

IMG_7626

มีเครื่องทำน้ำร้อน และน้ำเย็น โดยจะปล่อยน้ำเข้ามาในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาล สามารถทำความเย็นได้ขนาดพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และทำความร้อนได้ขนาดพื้นที่ 5,200 ตารางเมตร การตั้งโรงเรือนกล้วยไม้จะหันด้าน Cooling Pad เข้าหากัน เพราะว่าอีกด้านของโรงเรือนจะมีพัดลมดูดอากาศร้อนออกมา

งานนำเสนอ1

IMG_7636

Sunpride กล้วยไม้ในโรงเรือน

เป็นบริษัทที่ปลูกกล้วยไม้ Phalaenopsis เพื่อการส่งออก ในพื้นที่ของบริษัทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และโรงเรือนปลูกกล้วยไม้

IMG_7516

 

ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ 50 unit มีการตรวจสอบการปนเปื้อนในระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5 ครั้ง ตลอดช่วงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยไม้ที่ผลิตจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งหมด ประเทศที่ส่งออก ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป

ที่บริษัทจะจัดแสดงรางวัลต่างๆที่เคยได้รับมา เป็นเครื่องยืนยันให้แก่ลูกค้าว่ากล้วยไม้จากที่นี่มีคุณภาพ สวยงาม

IMG_7461

บริษัท Sunpride มีห้องทดลองสำหรับคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยไม้ที่จะนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป เช่น
–             การหา Shelf Life ของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อทดสอบความทนทานของกล้วยไม้ มาตรฐาน Shelf Life ของกล้วยไม้ที่ดี คือ ไม้ตัดดอกต้องมี Shelf Life ประมาณ 1 เดือน ไม้กระถางต้องมี Shelf Life ประมาณ 3 เดือน หากสายพันธุ์ใดไม่สามารถอยู่ได้ครบตามกำหนดอายุที่กำหนด บริษัทจะไม่ผลิตเพื่อจำหน่าย
–             การทดสอบความแข็งแรงทนทานของกล้วยไม้ต่อการสั่นสะเทือนในระหว่างการขนส่ง มีเครื่องทดลองการสั่นสะเทือน โดยจะนำกล้วยไม้ไปวางที่เครื่องสั่นสะเทือนเป็นระยะเวลา 3 วัน (ระยะเวลา 3 วัน คือระยะเวลาที่บริษัทขนส่งกล้วยไม้ไปยังสถานที่ที่บริษัทขนส่งไกลที่สุด คือมอสโค)

1

โรงเรือนปลูก Phalaenopsis มีพื้นที่ 18,000 ตร.ม. (11.25ไร่) ใช้ระบบรางเลื่อนเพื่อลดการใช้แรงงานในการเคลื่อนย้ายกระถางปลูก เพราะเวลาส่วนใหญ่ที่คนงานใช้ จะหมดไปกับการเคลื่อนย้ายกระถาง 30 % จึงคุ้มค่าต่อการติดตั้งรางเลื่อน การเปิดลมภายในโรงเรือนจะเปิดพัดลมให้ไปทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดวางต้นไม้
ให้เหมาะกับทิศทางการเคลื่อนไหวของลม ลมที่เป่าเข้ามาปรับอุณหภูมิในโรงเรือนจะส่งผ่านเข้ามาทางท่อพลาสติกใส เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซ.ม. เจาะรูเป็นระยะ วางตามแนวยาวไปตามพื้น

สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเนื้อเยื่อจะปลูกแยกไปอีกโซน มีมีดสำหรับตัดเนื้อเยื่อของแต่ละกระถางโดยเฉพาะ จะไม่ใช้มีดร่วมกัน เพื่อลดการกลายพันธุ์ และลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

IMG_1898