การผลิตพุทรา โดยกลุ่มเกษตรเมืองเกาชุง

IMG_7797

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตพุทรา กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพุทราเมืองเกาชุง (Kaohsiung) เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพุทรา จำนวน 4 กลุ่ม มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 110 ราย พื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 40 เฮกตาร์ (250 ไร่)

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0031

IMG_7888

ต้นพุทราจะปลูกโดยการเพาะเมล็ดเพื่อจะได้ต้นพุทราที่มีรากแก้วที่สมบูรณ์แข็งแรง จากนั้นจึงใช้กิ่งพันธุ์ดีมีเสียบยอด การปลูกพุทราในเมืองเกาชุงส่วนใหญ่จะปลูกในโรงเรือนเพื่อลดความแรงของลมและฝน เพราะเมืองเกาชุงเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0013

สำหรับในช่วงเดือนที่พุทราออกดอก จะเปิดมุ้งตาข่ายด้านข้างของโรงเรือนเพื่อให้ผึ้งหรือแมลงที่ช่วยในการผสมเกสรเข้าไปในโรงเรือน โดยเกษตรกรจะมีการใช้กลิ่นน้ำหมักปลาในการล่อแมลงให้เข้าไปในโรงเรือน และเมื่อพุทราเริ่มติดผลจะปิดมุ้งตาข่ายลง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0011

จะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม และในช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน จะเป็นช่วงบำรุงและจัดการแปลง และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม และจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนเมษายน

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0038

การทำพุทรานอกฤดูจะมีการเปิดไฟในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเร่งให้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นลง เนื่องจากแสงมีผลต่อระยะการเก็บเกี่ยวของพุทรา ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเร่งให้พุทราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการผลผลิตมาก และมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 – 600 NTD ซึ่งพุทราที่ออกในช่วงปกติจะราคาประมาณ 100 – 150 NTD

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0054

เกษตรกรจะมีการปลูกพุทราต้นใหม่แซมระหว่างต้นพุทราต้นที่มีอายุมาก โดยในแปลงที่ศึกษาดูงานจะมีต้นพุทรา 2 รุ่น คือ พุทราที่มีอายุ 26 ปี และพุทราที่มีอายุ 3 ปี เมื่อต้นพุทราต้นใหม่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมให้ผลผลิต จะทำการขุดต้นพุทราที่มีอายุมากออกจากแปลง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0043

การให้น้ำ จะให้น้ำทุก 3 วัน ครั้งละ 10 นาที การใส่ปุ๋ย จะแบ่งใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ระยะ คือ ระยะตัดแต่งกิ่ง ระยะติดตาดอก และระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยในช่วงก่อนการเกี่ยวผลผลิตจะลดปริมาณการให้ปุ๋ยไนโตรเจนลง และเพิ่มการให้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม สูงกว่าช่วงอื่นๆ เพื่อเพิ่มความหวาน

ความถี่ในการใส่ปุ๋ย คือ ใส่เดือนละ 1 ครั้ง อัตราการใส่ปุ๋ยจำนวน 40 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

การตัดแต่งกิ่ง พุทราทุกต้นมีการเสียบยอดพันธุ์ดี โดยจะเว้นกิ่งตรงกลางของต้นไว้เพื่อใช้ในการผสมเกสรเท่านั้น และเมื่อเก็บผลผลิตออกไปแล้วในแต่ละรอบจะตัดกิ่งทิ้งเพื่อให้ยอดใหม่ขึ้นมา โดยจะตัดแต่งกิ่งที่อยู่เหนือบริเวณที่เสียบยอดและในระยะที่ติดต่อดอก 2 เดือน (พฤษภาคม – มิถุนายน) จะมีการตัดแต่งกิ่งเล็กน้อย ใน 1 ช่อดอก จะมีดอกประมาณ 20 – 30 ดอก จะมีการคัดดอกที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 7 – 8 ดอก และเมื่อติดผลจะคัดผลที่ดีสุดไว้เพยง 1 ผลต่อกิ่ง เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ น้ำหนักประมาณ 200 กรัม ปัญหาโรคและแมลง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้งขาว แอนแทรกโนส และในช่วงฤดูฝนจะพบโรครากเน่า

IMG_7799

การผลิตฝรั่ง โดยกลุ่มเกษตรเมืองเกาชุง

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตฝรั่ง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่เมืองเกาชุง (Kaohsiung) สมาชิกกลุ่มเกษตรผู้ปลูกฝรั่งจำนวน 76 ราย พื้นที่ปลูก 66 เฮกตาร์ (412.50 ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,200 ตันต่อปี มูลค่าต่อปีประมาณ 45,000,000 NTD รายได้เฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรต่อรายประมาณ 600,000 NTD

IMG_7889

โดยทางกลุ่มเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ทุก 3 เดือน จากเจ้าหน้าที่ของ TARI และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะ และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของเกษตรกร

มีการแปรรูปผลผลิตฝรั่งเป็นฝรั่งอบแห้ง เบเกอรี่จากฝรั่ง น้ำฝรั่ง ฯลฯ ผลผลิตของทางกลุ่มเกษตรกรจะส่งไปจำหน่ายที่เมืองไทเป (Taipei) ราคาจำหน่ายประมาณ 50-70 NTD ผลผลิตฝรั่งของกลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพดี และมีความหวานมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) เนื่องจากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม ดินมีความสมบูรณ์ ระบายน้ำและอากาศดี

IMG_7777

พันธุ์ฝรั่งที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง (Pearl Guava) 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีเมล็ด และพันธุ์ที่ไร้เมล็ด ระยะปลูก ความยาวระหว่างต้น 250 เซนติเมตร ความยาวระหว่างแถว 300 เซนติเมตร

ระบบน้ำที่ใช้ภายในแปลงเป็นระบบน้ำหยด การจัดการของกลุ่มเกษตรกรจะมีห่อผล 2 ชั้น ด้วยโฟมกัน กระแทก และพลาสติกใสเจาะรู จะห่อผลเมื่อผลมีขนาดตั้งแต่ 1 – 2 นิ้ว หลังจากห่อผล 3 เดือน จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ สาเหตุที่มีการห่อผลฝรั่งเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ การห่อผลจะใช้แรงงานคนในการห่อผลทั้งหมด แรงงาน 1 คน สามารถห่อผลฝรั่งได้ประมาณ 2,000 ผลต่อวัน

IMG_7784IMG_7789IMG_7787

รวมระยะเวลาตั้งแต่ระยะติดตาดอกจนถึงระยะเก็บเกี่ยวประมาณ 2 เดือน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะยาวนานกว่าฤดูร้อนประมาณ 3 เดือน

การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง อัตรา 6 – 7 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับการให้ปุ๋ยโดยจะขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในระยะรอบทรงพุ่ม หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง

ฝรั่ง 90917_๑๗๑๐๐๙_0024ฝรั่ง 90917_๑๗๑๐๐๙_0052

ผลผลิตทั้งหมดจะขนส่งไปยังโรงคัดบรรจุของกลุ่มเกษตรกร โดยจะมีการคัดเกรดผลผลิตโดยใช้แรงงานคน ในการเลือกผลที่เสียหรือมีตำหนิออก ผลที่มีคุณภาพจะถูกส่งไปที่รางเลื่อนเพื่อคัดเกรดผลผลิตตามน้ำหนัก โดยแบ่งออกเป็น 6 เกรด ตามน้ำหนัก ดังนี้

  • เกรด 1 น้ำหนักไม่น้อยกว่า 450 กรัม
  • เกรด 2 น้ำหนัก 400 – 450 กรัม
  • เกรด 3 น้ำหนัก 350 – 400 กรัม
  • เกรด 4 น้ำหนัก 300 – 350 กรัม
  • เกรด 5 น้ำหนัก 250 – 300 กรัม
  • เกรด 6 ขนาดน้อยกว่า 200 กรัม

IMG_7780IMG_7782

หลังจากคัดเกรดผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วบรรจุใส่กล่อง ขนาด 12 กิโลกรัม (เกรด 1) และขนาด 20 กิโลกรัม (เกรด 2 – 6) พร้อมราดน้ำเปล่าประมาณ 0.5 ลิตรลงไปในกล่องก่อนปิดฝากล่อง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง เนื่องจากผลผลิตทั้งหมดจะขนส่งโดยรถบรรทุกไปยังเมืองไทเป รายละเอียดข้างกล่องจะระบุเกรดของฝรั่ง เครื่องหมาย QR code และบาร์โค้ดแสดงข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิต ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลิตให้แก่ผู้บริโภคในการตรวจสอบย้อนกลับได้

IMG_7793IMG_7786

Reference: รายงานการฝึกอบรม On the Job Training.pdf