การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Hiking Farm

Hiking Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ชื่อคุณเฉิน อายุ 26 ปี มีพื้นที่จำนวน 8 เฮกตาร์ ซึ่งมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาของครอบครัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตร โดยเริ่มทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ระหว่างการสร้างที่พัก ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

IMG_0604.JPG

คุณเฉิน มีความสนใจในการทำการเกษตรและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สาเหตุที่เกษตรกรคนนี้มาทำการเกษตรเพราะเขาคิดว่า “ถ้าคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครริเริ่มมาทำการเกษตร ต่อไปประเทศไต้หวันก็จะไม่มีอะไรเหลือ”

การทำการเกษตรทำคนเดียว จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการผลิตและการจัดการที่ดี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ไผ่ มันเทศ

การปลูกไผ่ ปลูกแบบยกร่องสูงเพื่อให้รากลงลึก ถ้ามีรากขยายออกด้านข้างจะตัดออก เพื่อบังคับให้รากหยั่งลงลึก การให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด

สำหรับมันเทศทางฟาร์มจำหน่ายผลผลิตทางอินเตอร์เน็ต ราคากิโลกรัมละ 100 NTD ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีเกษตรกรมาฝากขายผลผลิตแต่ไม่รับฝาก เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพ การนำผลผลิตของคนอื่นมาจำหน่ายในแบรนด์ของตนเองอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสินค้าตนเองในอนาคต

IMG_0634.JPG

ในพื้นที่ของเกษตรกรมีค้างคาวมาอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว ค้างคาวเข้ามากินแมลงเป็นอาหาร ทางฟาร์มจึงใช้ค้างคาวเป็นจุดเด่นของฟาร์ม มีการนำมูลค้างคาวมาใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในฟาร์มมีอายุประมาณ 15 – 20 ปี ค้างคาวจะมีการคลอดลูกปีละครั้ง

IMG_0610.JPG

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ค้างคาวจะอพยพไปที่เมืองPingtung เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวจะอพยพกลับมาที่ฟาร์ม ในอนาคตจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ค้างคาว ให้เด็กนักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามาเรียนรู้

เกษตรกรคนนี้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ไล่ค้างคาว เนื่องจากคิดว่าค้างคาวมาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อน เวลากลางคืนค้างคาวออกไปหาอาหาร เกษตรกรจะเข้ามาเก็บมูลค้างคาว เพื่อจะได้ไม่รบกวนค้างคาวในเวลากลางวัน และเกษตรกรยังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ค้างคาว ในการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมของค้างคาว

IMG_0602.JPG

เกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้เป็นเกษตรกรที่รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ มีการนำจุดเด่นของค้างคาวที่มาอยู่อาศัยในพื้นที่ เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ

 

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

30 Days OJT in Taiwan

รวมลิงค์เนื้อหา On Job Training ที่ไต้หวัน

Bitter gourd nursery and production โรงเพาะต้นกล้า

โรงเพาะต้นกล้า ที่จะจำหน่ายต้นกล้าภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล โรงเพาะกล้าในประเทศไต้หวันที่อยู่ภายใต้รัฐบาลมีประมาณ 100 แห่ง รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดชนิดพืชแบ่งตามแหล่งปลูกพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกันระหว่างโรงเพาะกล้า ลดปัญหาการแย่งลูกค้า โดยโรงเพาะกล้าจะต้องพิจารณาในการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม  ตามปริมาณความต้องการของแต่ละพื้นที่

927organicFarm_๑๗๑๐๐๙_0029.jpg

การที่รัฐบาลควบคุมดูแลโรงเพาะ ทำให้รัฐบาลสามารถประมาณการณ์ผลผลิตในแต่ละช่วงเวลา และเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรทราบก่อนการตัดสินใจปลูกพืช เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ

IMG_0344.JPG

สำหรับโรงเพาะกล้าที่ศึกษาดูงานเป็นโรงเพาะกล้าพืชผักสวนครัว และพืชตระกูลแตง เช่น ฟัก มะเขือ ผักใบ มะระ เมล่อน แตงไทย พริกหยวก พริก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ต้นกล้าทั้งหมดจะจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน สำหรับพืชบางชนิดจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด พืชบางชนิดจะใช้วิธีการเสียบยอด เช่น มะระขาว เมล่อน ราคาจำหน่ายต้นกล้าที่มีการเสียบยอดจะมีราคาสูงกว่าต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด

วิธีการเสียบยอดมะระ

VDO Clip การเสียบยอดของที่นี่

  1. ใช้ต้นพันธุ์(Stock)เป็นฟักทอง คัดเลือกต้นกล้าฟักทองที่มีใบเลี้ยงสมบูรณ์ไม่หงิกงอ นำมาเด็ดยอดออกให้หมด เหลือแต่ใบเลี้ยง
  2. นำเหล็กปลายแบนมาจิ้มเข้าไปกลางยอด แล้วนำยอดต้นอ่อนมะระมาตัดปลายเป็นฉลาม แล้วเสียบลงไปบนยอดฟักทอง แล้วหนีบด้วยกิ๊บ
    • IMG_0361.JPG
  3. นำถาดไปเก็บไว้ในอุโมงค์ ที่พลางแสงด้วยแสลนดำ และปิดด้วยพลาสติกใส เมื่อผ่านไป1อาทิตย์ จะเริ่มมียอดเจริญออกมา (ถ้ามียอดของฟักทองออกมา ต้องเด็ดทิ้ง) จึงเริ่มเอาพลาสติกออก เหลือแต่แสลน
    • 1.png
  4. ผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์จะค่อยๆเปิดแสลนออก เพื่อให้ต้นกล้าเริ่มปรับตัวกับแสงแดดธรรมชาติ ประมาณ 2อาทิตย์(ในหน้าร้อน)จึงให้เกษตรกรนำไปปลูกได้เลย ถ้าเป็นฤดูหนาว 25วัน ก่อนนำไปขาย จะเช็คความสมบูรณ์ของรากด้วย

IMG_0341.JPG

นอกจากนั้น ที่นี่ยังมีเครื่องจักรช่วยกรอกวัสดุปลูกลงถาด และหยอดเมล็ดลงถาดด้วย โดยสามารถช่วยทุ่นแรงงานในการเพาะได้มาก สามารถทำได้ 300ถาด ภายใน 1 ชม. ซึ่งเทียบเท่ากับแรงงานคน 10 คน

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

แก้วมังกร ของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ไต้หวัน

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0043

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตแก้วมังกร Yuh – Tay Farm เป็นแปลงของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young farmer) ปลูกแก้วมังกรอายุประมาณ 3 ปี ตามมาตรฐาน GAP พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ของประเทศไต้หวัน ชื่อพันธุ์ Big Red เนื้อมีสีแดง ซึ่งเป็นสีที่มงคลทำให้สามารถขายได้ราคาดี ประมาณกิโลกรัมละ 80 – 100 NTD

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0042

พื้นที่ 1 เฮกตาร์ สามารถให้ผลผลิต 60,000 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต (1 รอบการผลิตเวลาประมาณ 6 เดือน) ระยะปลูก ระยะระหว่างร่องประมาณ 200 เซนติเมตร ระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร

การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยใช้ต้นพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ปลูกลึกลงไปในดินประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร

Yuh – Tay Farm จะแบ่งแปลงปลูกแก้วมังกร ออกเป็น 2 โซน คือ โซนแปลงที่ปลูกแก้วมังกรที่ให้ผลผลิตในฤดู และนอกฤดู แต่แปลงจะให้ผลผลิตเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากนั้นจะมีการพักต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน แก้วมังกร 1 กิ่งจะไว้ผล จำนวน 1 ผล โดยปกติแก้วมังกร 1 กิ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 16 ผล แต่ทางสวนมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจึงมีการไว้ผลสลับ เพราะฉะนั้น 1 กิ่ง จะให้ผลผลิตจำนวน 8 ผลเท่านั้น

หลังจากที่แก้วมังกรออกดอกเป็นระยะเวลา 30 วัน ผลแก้วมังกรจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง การตัดแต่งกิ่งจะไว้กิ่งแต่ละกิ่งยาวจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร และไว้ต้นแขนงให้ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อให้ธาตุอาหารต่างๆ เพียงพอในการเลี้ยงลำต้น และเป็นการช่วยเร่งการออกดอก

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0046

การทำผลิตแก้วมังกรนอกฤดู จะไม่ไว้ผลในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม และมีการเพิ่มแสงเพื่อยืดระยะเวลาในการออกผลให้ยาวออกไป โดยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผิตในตลาดมีจำนวนน้อย ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่ในบางครั้งถ้าอากาศหนาวเกินไปผลผลิตจะได้ไม่ถึง 3 ครั้ง

ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช คือ โรคแคงเกอร์ (Canker) โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) และโรครากเน่าในช่วงฤดูฝน มีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันโรคประมาณ 3 ครั้งต่อปี ประโยชน์ของการปลูกแก้วมังกรในโรงเรือน เพื่อให้ประหยัดแรงงานในการห่อผล ป้องกันแมลงวันผลไม้ที่มาเจาะผล และเมื่อต้นแก้วมังกรมีอายุประมาณ 10 ปี จะมีการรื้อแปลงและปลูกใหม่ เนื่องจากต้นที่แก่จะเกิดโรคได้ง่าย ปลูกไปแล้วประมาณ 10 ปีจะปลูกใหม่

แก้วมังกร 9917_๑๗๑๐๐๙_0020

การผลิตมะละกอของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)ไต้หวัน

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตมะละกอ เป็นแปลงปลูกมะละกอในโรงเรือนของเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 0.2 เฮกตาร์ รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 500,000 NTD

IMG_7810

พันธุ์มะละกอที่ใช้ คือ สายพันธุ์ Tainung 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดย Taiwan Agricultural Research Institute, Council of Agriculture, Executive Yuan (TARI) เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ก้านยาว ข้อดีของมะละกอที่มีก้านยาวนั้นจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากผลไม่เบียดกัน และมะละกอไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (Non – GMO) ปลอดโรคจากเชื้อไวรัส เนื่องจากมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

IMG_7811

ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมจะลงปลูกในแปลงจะมีอายุประมาณ 6 เดือน ความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร มีใบ จำนวน 4 – 5 ใบ ราคาต้นกล้า 25 NTD ต่อต้น

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0001

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0056

สาเหตุที่เกษตรกรปลูกมะละกอในโรงเรือนตาข่ายเพื่อป้องกันผลกระทบจากไต้ฝุ่น และป้องกันเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบจุดวงแหวน (Papaya ring spot) ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะสร้างโรงเรือนที่มีความสูงประมาณ 4 เมตร ในบางพื้นไม่มากจะสามารถสร้างโรงเรือนสูงได้ถึง 5 เมตร

มะละกอจะมีอายุประมาณ 4 – 5 ปี โดยใน 1 ปี มะละกอจะให้ผลผลิตจำนวน 3 รุ่นๆ ละ 30 ลูก ระยะปลูก ปลูกมะละกอบนร่องแบบสลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.50 เมตร คลุมดินด้วยพลาสติก 2 ชั้น เพื่อรักษาความชื้น พลาสติกชั้นล่างจะเป็นสีดำและชั้นบนเป็นสีเทา

เนื่องจากประเทศไต้หวันได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่นจึงจำเป็นต้องปลูกมะละกอในโรงเรือน แต่ด้วยมะละกอเป็นไม้ผลที่มีลำต้นสูงจึงมีการโน้มลำต้นให้เตี้ยลง การโน้มต้นจะทำให้ต้นเตี้ยลงไม่ชนหลังคาโรงเรือน ลำต้นที่เตี้ยจะลดแรงต้านลม และการโน้มต้นจะทำให้มะละกอออกดอกเร็วขึ้นด้วย

เมื่อต้นมะละกอสูงจนติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 1 จะมีการโน้มต้นมะละกอลงมา และเมื่อต้นมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 2 จึงตัดต้นมะละกอครึ่งต้นเพื่อให้มะละกอแตกใหม่ และเมื่อมะละกอสูงติดหลังคาโรงเรือนครั้งที่ 3 ถอนต้นมะละกอออกทั้งหมดแล้วจึงปลูกมะละกอต้นใหม่ เมื่อปลูกมะละกอ 2 รอบ (8 – 10 ปี) จึงทำการรื้อแปลงและไถพลิกหน้าดิน ลึกประมาณ 2 เมตร

อุณหภูมิในโรงเรือนจะสูงกว่าภายนอกโรงเรือนประมาณ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้มะละกอมีความหวานมากกว่าการปลูกนอกโรงเรือนประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) ความหวานของมะละกอที่ปลูกในโรงเรือนความหวานจะอยู่ที่ 13 – 15 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิตประมาณ 100 ตันต่อรุ่น

วิธีการโน้มต้นมะละกอ

ชมคลิป https://youtu.be/-kwlSbQ4qUE

  1. กรีดลำต้นมะละกอตามแนวตั้งจำนวน 2 รอยให้ตรงข้ามกัน ตัดเนื้อเยื่อมะละกอด้านที่จะเอียงออก เพื่อให้สามารถเอียงต้นมะละกอได้สะดวก

2. จากนั้นดึงต้นมะละกอให้เอียงประมาณ 45องศา ใช้เชือกผูกยึดไว้กับลวดเหล็กเพื่อไม่ให้ต้นมะละกอล้ม

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0040

3. ใช้ CaCo3 ผสมกับยาป้องกันเชื้อราทาบริเวณรอยกรีด เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและให้แผลมะละกอประสานกัน

 

 

สวนมะละกอ 90917_๑๗๑๐๐๙_0049

การให้น้ำใช้ระบบน้ำหยดภายในแปลงปลูกมะละกอมีเครื่องวัดความชื้นในดิน จำนวน 2 อัน วัดความชื้นที่ระดับความลึก 30 และ 60 เซนติเมตร การให้น้ำจะพิจารณาจากเครื่องวัดความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร เมื่อเครื่องมีความชื้นต่ำกว่า 30 กิโลปาสคาล (kPa) จะต้องมีการให้น้ำ ในฤดูร้อน จะให้น้ำทุก 3 – 4 วัน และในฤดูหนาวจะให้น้ำทุก 7 วัน

IMG_7819

การให้ปุ๋ยสูตร 20 – 20 – 20 จำนวน 3 ครั้งต่อเดือน ร่วมกับการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด การไว้ผลมะละกอจะมีการเด็ดดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออก เหลือไว้แต่ดอกกะเทย เนื่องจากดอกกระเทยจะให้ผลที่มีความสมบูรณ์ เนื้อหนา เมล็ดน้อย ในแต่ละรุ่นจะมีการไว้ผลประมาณ 30 ผลต่อต้น ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่พบ คือ ไรแมงมุม (Spider mite) จัดการโดยใช้น้ำฉีด

IMG_7886.JPG

การผลิตพุทรา โดยกลุ่มเกษตรเมืองเกาชุง

IMG_7797

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตพุทรา กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพุทราเมืองเกาชุง (Kaohsiung) เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพุทรา จำนวน 4 กลุ่ม มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 110 ราย พื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 40 เฮกตาร์ (250 ไร่)

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0031

IMG_7888

ต้นพุทราจะปลูกโดยการเพาะเมล็ดเพื่อจะได้ต้นพุทราที่มีรากแก้วที่สมบูรณ์แข็งแรง จากนั้นจึงใช้กิ่งพันธุ์ดีมีเสียบยอด การปลูกพุทราในเมืองเกาชุงส่วนใหญ่จะปลูกในโรงเรือนเพื่อลดความแรงของลมและฝน เพราะเมืองเกาชุงเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0013

สำหรับในช่วงเดือนที่พุทราออกดอก จะเปิดมุ้งตาข่ายด้านข้างของโรงเรือนเพื่อให้ผึ้งหรือแมลงที่ช่วยในการผสมเกสรเข้าไปในโรงเรือน โดยเกษตรกรจะมีการใช้กลิ่นน้ำหมักปลาในการล่อแมลงให้เข้าไปในโรงเรือน และเมื่อพุทราเริ่มติดผลจะปิดมุ้งตาข่ายลง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0011

จะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม และในช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน จะเป็นช่วงบำรุงและจัดการแปลง และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม และจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนเมษายน

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0038

การทำพุทรานอกฤดูจะมีการเปิดไฟในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเร่งให้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นลง เนื่องจากแสงมีผลต่อระยะการเก็บเกี่ยวของพุทรา ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเร่งให้พุทราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการผลผลิตมาก และมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 – 600 NTD ซึ่งพุทราที่ออกในช่วงปกติจะราคาประมาณ 100 – 150 NTD

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0054

เกษตรกรจะมีการปลูกพุทราต้นใหม่แซมระหว่างต้นพุทราต้นที่มีอายุมาก โดยในแปลงที่ศึกษาดูงานจะมีต้นพุทรา 2 รุ่น คือ พุทราที่มีอายุ 26 ปี และพุทราที่มีอายุ 3 ปี เมื่อต้นพุทราต้นใหม่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมให้ผลผลิต จะทำการขุดต้นพุทราที่มีอายุมากออกจากแปลง

สวนพุทรา 90917_๑๗๑๐๐๙_0043

การให้น้ำ จะให้น้ำทุก 3 วัน ครั้งละ 10 นาที การใส่ปุ๋ย จะแบ่งใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ระยะ คือ ระยะตัดแต่งกิ่ง ระยะติดตาดอก และระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยในช่วงก่อนการเกี่ยวผลผลิตจะลดปริมาณการให้ปุ๋ยไนโตรเจนลง และเพิ่มการให้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม สูงกว่าช่วงอื่นๆ เพื่อเพิ่มความหวาน

ความถี่ในการใส่ปุ๋ย คือ ใส่เดือนละ 1 ครั้ง อัตราการใส่ปุ๋ยจำนวน 40 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

การตัดแต่งกิ่ง พุทราทุกต้นมีการเสียบยอดพันธุ์ดี โดยจะเว้นกิ่งตรงกลางของต้นไว้เพื่อใช้ในการผสมเกสรเท่านั้น และเมื่อเก็บผลผลิตออกไปแล้วในแต่ละรอบจะตัดกิ่งทิ้งเพื่อให้ยอดใหม่ขึ้นมา โดยจะตัดแต่งกิ่งที่อยู่เหนือบริเวณที่เสียบยอดและในระยะที่ติดต่อดอก 2 เดือน (พฤษภาคม – มิถุนายน) จะมีการตัดแต่งกิ่งเล็กน้อย ใน 1 ช่อดอก จะมีดอกประมาณ 20 – 30 ดอก จะมีการคัดดอกที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 7 – 8 ดอก และเมื่อติดผลจะคัดผลที่ดีสุดไว้เพยง 1 ผลต่อกิ่ง เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ น้ำหนักประมาณ 200 กรัม ปัญหาโรคและแมลง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้งขาว แอนแทรกโนส และในช่วงฤดูฝนจะพบโรครากเน่า

IMG_7799

Agricultural Engineering Division: TARI

Agricultural Engineering Division ของศูนย์วิจัย TARI เป็นที่วิจัยเรื่อง Plant Factory

ที่นี่กำลังวิจัยอะไรหลายๆอย่างให้เราดูกัน เช่น..
1. การทดสอบความแตกต่างระหว่างการใช้แสง LED และ Fluorescence ในการปลูกพืชระบบ Plant Factory พบว่าประสิทธิภาพของแสงทั้ง 2 ชนิด ไม่แตกต่างกันเนื่องจากมีต้นทุนและพลังงานที่ใช้ใกล้เคียงกัน แต่ LED จะดีกว่าตรงที่สามารถปรับความเข้มแสง และสีของแสงให้เหมาะสมกับชนิดพืชได้

IMG_7686

IMG_7693

 

2. ทางสถานีวิจัยได้ทดลองทำ Plant Factory ระบบรางเลื่อน โดยใช้กล้าพืชที่อายุ 14 วัน ย้ายปลูกในบนชั้น ระหว่างที่ต้นกล้าค่อยๆเติบโต รางก็จะค่อยๆเลื่อนไปจนถึงจุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี มีระบบไฮโดรลิคยกถาดออกมาด้านนอก สำหรับนำไปบรรจุใส่ถุงต่อได้
มีตัววัดค่า EC และ pH เสียบอยู่ที่ถาดปลูกเพื่อส่งข้อมูลไปประมวลที่คอมพิวเตอร์ และ pH ผักที่ปลูกจาก Plant Factory นี้สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องล้าง

DCIM101GOPROGOPR7111.

IMG_7695

3. ทดลอง Plant factory ในรูปแบบตู้กระจก Show Case สำหรับติดตั้งในร้านอาหาร เพื่อแสดงวิธีการปลูกพืชผักระบบนี้ให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลผลิต

DCIM101GOPROGOPR7107.

4. Mini Garden เป็นชุดปลูกพืชผักระบบ Plant factory 3ชั้น มีขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อยเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ถังน้ำและปุ๋ยตั้งอยู่ด้านล่าง โดยมีปั๊มส่งน้ำขึ้นไปข้างบน และไหลลงมาสู่ชั้นล่างๆ

ชุดปลูกสำหรับปลูกในบ้าน

Mini Garden