กลุ่มสหกรณ์ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

Guanxi Farmer’s Association, Hsinchu Country กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 100 เฮกตาร์ ในอดีตเกษตรกรปลูกเฉาก๊วยกันมากจนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด เกษตรกรจึงมีรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่แปรรูป คือ ชาเฉาก๊วย และต่อมาก็มีการแปรรูปเป็นวุ้นเฉาก๊วย

สหกรณ์ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 23 ปีแล้ว ปัจจุบันทางสหกรณ์ได้เปิดให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยว ภายในสหกรณ์มีการจัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเฉาก๊วยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีการบรรยายความเป็นมาของกลุ่มสหกรณ์ ข้อมูลข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเฉาก๊วย บรรยายสรรพคุณของเฉาก๊วย ให้คนทั่วไปได้รับรู้

มีการสอนทำวุ้นเฉาก๊วยจากผงสำเร็จรูป

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีการกระตุ้นให้แม่บ้านเข้ามาประกวดทำอาหารจากเฉาก๊วย รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์เฉาก๊วยด้วยการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเฉาก๊วย เฉาก๊วยของสหกรณ์มีตราสินค้าเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ

วิธีการปลูกเฉาก๊วย

ปลูกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 160 – 180 วัน ปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Famer) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ จำนวน 6 ราย การเก็บรักษาเฉาก๊วยนั้น จะนำเฉาก๊วยใส่ในถังเหล็กขนาดใหญ่ ต้มในน้ำเดือดประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จากนั้นจึงผ่านกระบวนการ Freeze Dry แล้วจึงนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า FGA  และ ISO ต่างๆ มากมาย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

Tainan Hsiaying District Farmer’s Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีศูนย์นักท่องเที่ยวเพื่อแสดงของดีประจำท้องถิ่น โดยในท้องถิ่นมีของดี จำนวน 3 คือห่าน ถั่วดำ หม่อนเลี้ยงไหม

จุดประสงค์ที่ก่อตั้งศูนย์ท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ภายในศูนย์จะมีการจัดนิทรรศการต่างๆ ของท้องถิ่น แสดงประวัติและสภาพพื้นที่ทั่วไป สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในท้องถิ่น อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเกษตร ผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของยุวเกษตรกร และมีการสาธิตการทำผ้าห่มจากใยไหม ซึ่งศูนย์ท่องเที่ยวนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และเป็นส่งเสริมลูกหลานของเกษตรกรให้เป็นยุวเกษตรกร

วิธีการทำซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ใช้ถั่วดำที่ผ่านกระบวนการหมักที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนเย็นในถังให้ตกตะกอน เปิดก้นถังเพื่อเอากากถั่วดำทิ้ง จะเหลือน้ำด้านบนนำมากรองอีกครั้ง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวด ปิดฝา ฆ่าเชื้อ ติดฉลากที่บรรจุภัณฑ์ ซอสปรุงรสจากถั่วจะใช้ในการประกอบอาหารเช่นเดียวกับซอสถั่วเหลือง แต่ซอสถั่วดำจะมีคุณค่าทางอาหารดีกว่าซอสถั่วเหลือง

Taoyuan City Farm Association สหกรณ์ผักอินทรีย์เพื่อโรงเรียน

Taoyuan City Farm Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งให้โรงเรียน และจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน

IMG_8464

มีสมาชิก 46 ราย พื้นที่ปลูกผักจำนวน 32.2 เฮกตาร์ โรงเรือน จำนวน 3,220 โรงเรือน

ทางกลุ่มจะรวบรวมผักจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเข้ามาคัดแยก ทำความสะอาด และตัดแต่งก่อนส่งไปจำหน่าย โดยโรงงานจะรับผักจากเกษตรกร 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 45 ตันต่อสัปดาห์

ผักของทางกลุ่มมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำ ผักบุ้ง ผักขมผักกาดขาว ฟักทอง และแรดิช (Radish) ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะมีการปลูกผักพื้นบ้านแล้วแต่ฤดูกา สำหรับในช่วงไต้ฝุ่นเข้า จะมีการวางแผนการผลิตให้มีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นๆ

คนชอบกินผักหลายแบบ เขาจึงต้องรวบรวมผักหลายชนิดมาขาย ที่สหกรณ์จะมีการวางแผนการปลูก ตามความต้องการของโรงเรียนต่างๆ และกำหนดไปว่าจะให้เกษตรกรปลูกอะไร เมื่อไหร่บ้าง

ที่โรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 15 ราย แบ่งหน้าที่กันทำต่างๆกันไป ได้แก่

  • ควบคุมเกษตรกร ไปดูตามสวนต่าง 1 คน
  • จัดการเกี่ยวกับการส่งไปยังโรงเรียน 2 คน
  • ควบคุมpackaging 1คน
  • ตรวจสอบสารเคมี คุณภาพ 1 คน
  • ตัดแต่งผัก ล้างผัก ในโรงงาน 10 คน

ทุกๆสัปดาห์จะมีการสุ่มเช็ดคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรจำนวน 10 % จากเกษตรกรทั้งหมด

IMG_8459

ผลผลิตของทางกลุ่มได้รับมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรคนไหน

ผลผลิตที่เข้าโรงงานนี้จะส่งไปที่โรงเรียนเท่านั้น สำหรับผลผลิตจากแปลงเกษตรกรที่เหลือจะส่งไปจำหน่ายที่อื่น ถ้ามีการตรวจพบสารเคมีตกค้าง จะหยุดรับผลผลิตจากเกษตรกรคนนั้น จะไม่มีการปรับ แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการผลิตผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ขั้นตอนการจัดการผลผลิต

  1. นำผักที่มาจากเกษตรกรส่งเข้ามาในโรงงาน ใช้ตะกร้าสีน้ำเงิน และคัดคุณภาพโดยคน
    • IMG_8543
  2. นำมาเข้าเครื่องสับ
    • IMG_8446
  3. ล้างด้วยน้ำ 3 ขั้นตอนคือ ล้างดิน ล้างน้ำแรงๆเพื่อให้คราบที่ติดหนาแน่นออก และจึงล้างน้ำเย็น 4 องศา และพ่นด้วยน้ำคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้ออิโคไล และเป็นการลดกระบวนการออกซิเดชั่นของพืช
  4. เป่าลมและ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคน
    • 4
  5. นำใส่ตะกร้าสีเขียว มีถุงพลาสติกห่อหุ้มผัก เตรียมส่งไปยังโรงเรียน ตะกร้าละ 20 kg
  6. นำไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรอส่งในเช้าวันต่อไป ผลผลิตจะต้องถึงโรงเรียนก่อนตี 4 เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทำอาหารในเวลา 6 โมงเช้า

จะมีเครื่องล้างตะกร้า ที่อุณหภูมิ –7องศา หลังจากการใช้งาน โดยมีตะกร้าสีน้ำเงิน ใช้สำหรับขนผักจากแปลงเกษตรกรมายังโรงงาน และตะกร้าสีเขียวสำหรับขนผักจากโรงงานไปยังโรงเรียน

5

ทางกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายผลผลิตราคากิโลกรัมละ 75 NTD เกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 66 NTD จะจ่ายเงินให้เกษตรกรหลังจากรับผลผลิตมาแล้วประมาณ 7 – 10วัน ส่วนต่างของราคาจำหน่ายทางกลุ่มจะใช้ในการบริหารจัดการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งเข้าโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าผักให้โรงเรียนกิโลกรัมละ 60 NTD และโรงเรียนจ่ายเองกิโลกรัมละ 15 NTD โดยคิดเป็นมูลค่าที่รัฐบาลสนับสนุนปีละ 50 ล้าน NTD

นอกจากนั้นทางกลุ่มเกษตรกร ก็มีการสอนและให้ความรู้เรื่องการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนด้วย

 

ข้อดีของระบบนี้คือ

  • โรงเรียนได้ผักที่ส่งมานี้จะสะอาด พร้อมปรุง (ล้างและหั่นเรียบร้อยจากโรงงาน ประหยัดแรงงานในโรงครัว)
  • เด็กได้กินผักที่ดี ปลอดภัยและสะอาดจากสวน
  • แก้ปัญหาสุขภาพของเมือง
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย