Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Benson KUO มะเขือเทศในโรงเรือน

บริษัทBenson KUO ได้มีการนำเข้าโครงสร้างของโรงเรือนจากเนเธอร์แลนด์ (แบบ Venlo Greenhouse) ควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและใช้ระบบน้ำหยด มีระบบแจ้งเตือนในกรณีที่ระบบพบความผิดปกติภายในโรงเรือน

IMG_7456IMG_7457

  1. กระบวนการปลูก
    • เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบคทีเรียและศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดโรคจากภายนอกเข้ามา จึงมีการควบคุมความสะอาดอย่างเข้มงวด และคนงานทุกคนที่เข้าออกจากโรงเรือน จะต้องเปลี่ยนชุด และฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง
    • ติดแถบกาวเหลืองดักแมลง เป็นแนวยาวตลอดทั้งแถวที่ปลูก
    • ความสูงของต้น สูง 3 เมตร คนงานจะคอยเข้าไปตัดแต่งกิ่ง และพันเถามะเขือเทศเลื้อยขึ้นไปตามเชือกในแนวดิ่ง
    • วัสดุปลูกที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ คือ ขุยมะพร้าวฆ่าเชื้ออัดแท่ง นำเข้าจากประเทศศรีลังกา ใน 1 แท่งยาว 2 เมตร สามารถปลูกได้ 3ต้น และใช้ได้นาน 1 ปี (2 Crop)
  2. การมอนิเตอร์และควบคุมสภาพแวดล้อม
    • ระบบควบคุมภายในโรงเรือนด้วยคอมพิวเตอร์จากเนเธอแลนด์ ประกอบด้วย ตัวควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องวัดแรงลม พัดลมช่วยหมุนเวียนอากาศ การเปิดปิดหลังคาโรงเรือนเพื่อระบายอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ เครื่องควบคุมการให้น้ำ เปิดปิดวาล์ว เครื่องฆ่าเชื้อน้ำ
    • ข้อดีคือ ทำงานได้ดีหมดทุกอย่าง แต่ราคาแพง
    • 20170905_7_KUO_Vege. growers of Taiwan - Tomato
  3. การให้ปุ๋ย
    • ให้ปุ๋ยโดยละลายไปพร้อมกับน้ำ และมีการนำน้ำที่เป็นส่วนเกินจากที่พืชไม่ใช้ นำกลับมา Reuseใช้อีกครั้ง โดยผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำกลับเข้ามาในระบบใหม่
    • ใช้ระบบน้ำหยด
    • มีเซนเซอร์วัดความชื้นของวัสดุปลูก และชั่งน้ำหนักวัสดุปลูกเป็นระยะๆ เพื่อคำนวณว่าพืชใช้น้ำไปปริมาณเท่าไหร่ (น้ำที่ให้ – น้ำที่เหลือ = น้ำที่ใช้ไป) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อปรับปริมาณการให้น้ำและสารอาหารให้เหมาะสมต่อไป
  4. การผสมเกสรตามธรรมชาติ
    • ใช้ผึ้ง Bumble Bee นำเข้าจากเบลเยียมเพื่อช่วยผสมเกสรให้มะเขือเทศ
    • 3
  5. การตลาด

ก่อนจะปลูกอะไร ต้องคำนึงถึง
5.1 ความต้องการของตลาด
5.2 แนวทางการทำการตลาด ตลาดเป้าหมาย
5.3 Scaleที่ควรทำ ใหญ่แค่ไหนจึงจะเหมาะสม
5.4 ต้องมีผู้จัดการฟาร์มที่ดีเหมาะสม
5.5 มีเทคโนโลยีที่ดีและเหมาะสม
และที่สำคัญคือต้องมี connectionที่ดีกับ supplier, มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, support team

เมื่อถามถึงปัญหา ว่าเคยมีเหตุการณ์ที่ระบบมันErrorทำงานผิดพลาดบ่อยไหม ก็ได้รับคำตอบว่า

“มีทุกวัน ระบบต่างๆมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด ต้องโทรไปปรึกษาเนเธอแลนด์เสมอ แต่ความจริงแล้ว ถ้าจะใช้ระบบนี้ ควรมีการไปฝึกอบรมที่ประเทศเนเธอแลนด์อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ เมื่อมีปัญหาจะได้สามารถแก้ได้ด้วยตนเอง”

IMG_1733

“ถ้าทั้งโรงเรือนและระบบคอมพิวเตอร์พวกนี้เป็นรถยนต์ เราต้องเป็นคนขับ ต้องขับได้เอง ไม่ใช่แค่จ้างคนขับมาขับให้เรา”

เป็นคำเปรียบเปรยที่เห็นภาพชัดเจน อึ้งไปเลยทีเดียว
แม้เขาจะมีเงินซื้อระบบ จ้างคนมาดูแล แต่เขาก็คิดว่าตัวเขาเองนี่แหละ ต้องทำเองเป็นด้วย

อย่างไรก็ตาม เค้าก็บอกว่าระบบนี้มันเชื่อถือได้สูง ถ้ามีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น มันจะร้องเตือนให้เราเค้าไปตรวจสอบก่อนเสมอ เพื่อให้ไปแก้ไขได้ทันการ จะไม่ปล่อยให้ความมันเสียหายเกิดขึ้นกับต้นไม้ที่เราปลูก

ข้อเสียอย่างเดียวของระบบนี้ก็คือแพง

IMG_7458