สวนมะระขาวและแตงกวา

สวนมะระขาว ซึ่งเป็นพันธุ์พิเศษของไต้หวัน ผลมีสีขาวส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นสลัด และส่งออกไปจำหน่ายที่ฮ่องกง25600926_๑๗๑๐๐๙_0018

มะระขาวในแปลงนี้ปลูกภายในโรงเรือนตาข่าย (Net house) ความสูงของโรงเรือนประมาณ 2.50 เมตร ขนาดตาข่าย 24 mesh ระยะปลูกระหว่างแปลง 2 เมตร และระยะระหว่างต้น 2 เมตร

IMG_0246

ต้นมะระที่ปลูกใช้ต้นกล้าจากการเสียบยอด (grafting) โดยใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ จากนั้นจึงเสียบยอดด้วยยอดมะระพันธุ์ดี สาเหตุที่ใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ เนื่องจากต้นฟักทองมีรากที่แข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ทนต่อโรคพืชทางดิน

นี่คือรูป ลักษณะโคนต้นมะระที่เสียบยอดบนต้นฟักทอง

25600926_๑๗๑๐๐๙_0019

การให้น้ำเป็นระบบให้น้ำไล่ร่อง ทุก 10 วัน
การให้ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และเมื่อต้นมะระเริ่มติดดอกจะให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม

IMG_0253

ภายในโรงเรือนจะใช้ผึ้งในการผสมเกสร

IMG_0249

การดูแลรักษา จะมีการห่อผลมะระตั้งแต่ผลมีขนาดใหญ่เท่านิ้วโป้ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีดำ เพื่อลดการสังเคราะห์แสงทำให้ผลมะระมีสีขาว หลังจากห่อผลประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1วัน จะนำเอาถุงพลาสติกสีดำที่ห่อผลออก

IMG_0248

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ (1,280 กก. ต่อไร่)

ราคาจำหน่ายผลผลิตภายในประเทศประมาณกิโลกรัมละ 40 NTD (ประมาณ 42บาท)
ราคาส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงกิโลกรัมละ 60 NTD

ต่อจากนั้นเดินทางไปงานแปลงมะระเขียว ซึ่งผลผลิตมะระเขียวจะใช้สำหรับทำน้ำมะระ และส่งโรงแรมเพื่อประกอบอาหาร

IMG_0258.JPG

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะสังเกตจากตุ่มที่ผิวของผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อผล ราคาจำหน่ายมะระเขียวราคากิโลกรัมละ 50 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะระเขียวมากกว่ามะระขาว เนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน มีความต้องการของตลาดมากเพราะคนไต้หวันนิยมบริโภคมะระเขียวมากกว่ามะระขาว และมะระเขียวมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยกว่า การจัดการและการดูแลรักษาง่ายกว่า

ทั้งนี้เกษตรกรจะปลูกมะระสลับกับการปลูกแตงกวา โดยจะปลูกแตงกวาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และปลูกมะระในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สำหรับการปลูกแตงกวา จะใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 4 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง การย้ายปลูกในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุน้อย เป็นการประหยัดแรงงานในการดูแลต้นกล้า และทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ลำต้นจะไม่สูงจนเกินไปและมีข้อที่สั้น

IMG_0261

การดูแลรักษาจะมีการเด็ดยอดที่กิ่งแขนงเพื่อให้น้ำเลี้ยงไปเลี้ยงที่ลูกเท่านั้น โดยจะไว้ผลประมาณ 35 ผลต่อต้น เริ่มเก็บครั้งแรกหลังการย้ายกล้าปลูกไปแล้ว 35 วัน และเก็บผลผลิตได้จนถึงอายุ 60 วันหลังการย้ายปลูก ซึ่งจะเก็บผลผลิตทุกวัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

IMG_0256

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training