Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน

Yulin Citong Township District Farmer’s Association กลุ่มสหกรณ์ผลิตผักบุ้งจีนในโรงเรือน เป็นกลุ่มที่ผลิตผักบุ้งจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน มีพื้นที่ปลูก 30 เฮกตาร์ ผลิตผักบุ้งจีนตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

IMG_0498

ปลูกผักบุ้งจีนมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ผักบุ้งจีนของทางกลุ่มจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 16 วัน สามารถปลูกผักบุ้งจีนได้ 15 รอบต่อปี พื้นที่ 1 เฮกตาร์ จะให้ผลผลิต 20 ตันต่อรอบการผลิต

ราคาจำหน่ายผลผลิตผักบุ้งจีนมาตรฐาน GAP ราคากิโลกรัมละ 25 NTD
ราคาจำหน่ายผักบุ้งอินทรีย์ราคากิโลกรัมละ 45 NTD

ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายที่โรงเรียน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกผลิตจากประเทศไทย จากบริษัทศรแดง

วิธีการปลูก 
ใช้เครื่องหวานเมล็ด และปล่อยให้น้ำขัง โดยจะขังน้ำ 3 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยขังน้ำเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีการให้น้ำทางใบ ซึ่งเป็นการลดการเกิดโรคราสนิมขาว การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยยูเรียพร้อมกับการให้น้ำ สำหรับ

การปลูกระบบอินทรีย์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (4 – 2 -6) ตอนไถกลบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาล
การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 1 คืน ลำต้นจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้ตาข่ายพยุงลำต้นผักบุ้งจีนที่มีความสูงมากกว่า 35 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการล้มของผักบุ้งผักบุ้งจะเก็บเกี่ยวที่ความสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร โรงเรือนขนาด 80 x 6 เมตร ราคาในการก่อสร้างโรงเรือนประมาณ 1.2 ล้านบาท ต่อโรงเรือน

IMG_0490

ภาพเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผักบุ้ง และหวีที่ใช้สางให้รากผักบุ้งหลุดออกมา ก่อนจะนำไปแพคส่งขาย

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

Organic vegetable garden เจียงเชียง

Organic vegetable garden บริษัทเจียงเชียง มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5 เฮกตาร์
พืชที่ปลูก คือ ผักกาดหอม ปลูกในโรงเรือนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

IMG_0310

IMG_0311

ที่นี่มีเครื่องจักรในการเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม เครื่องเพาะเมล็ดจะทำการเจาะหลุมลึก 0.5 เซนติเมตร และใช้ระบบลมดูดเมล็ดขึ้นมาหยอดลงหลุม เครื่องเพาะกล้าราคา 600,000 NTD วัสดุปลูกที่ใช้เป็น peat moss อัตราการงอกของเมล็ด 98 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน จะใช้ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อโรงเรือน (โรงเรือนขนาด 700 ตารางเมตร) คลุมดินด้วยผ้ากำมะหยี่

การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 14 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากย้ายปลูก 21 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการพักแปลงเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยเป็ดไก่เพื่อเข้าไปกินแมลงในแปลงปลูก

การตลาด ผลผลิตในแปลงจะส่งไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม จำนวน 130 โรงเรียน ในเมือง Pingtung โดยจะมีรถโรงเรียนมารับผลผลิตสัปดาห์ละครั้ง ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 50 NTD ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมโครงการกับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย รัฐบาลยังสนับสนุนเงิน 80,000 NTD ในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 20 ตัน

Environmental friendly Farm of Vegetable

ฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ปลูกผักอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ในเมือง Yilan เป็นจุดรวบรวมผักอินทรีย์จากสมาชิกอีก 35 ราย ก่อนจะนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆ

IMG_8579

รัฐบาลจะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยรับซื้อผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรไปให้เด็กในโรงเรียนรับประทาน และที่เมือง Yilan ในทุกเดือนจะกำหนดให้มีวันกินผักอินทรีย์เพื่อกระตุ้นและประชาสัมพันธ์การบริโภคผักอินทรีย์

9

การผลิตข้าวของเกษตรกรจะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นจึงมีการเก็บรักษาคุณภาพข้าวให้สามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และให้ข้าวมีความสดใหม่น่ารับประทานโดยการเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส

ที่นี่จะมีเครื่องสีข้าว สามารถสีข้าวแบบขัดผิวและไม่ขัดผิว มีเครื่องบรรจุสุญญากาศ

เกษตรกรมีการปลูกพืชแบบผสมผสานในโรงเรือน มีทั้งพืชผักและไม้ผล เช่น มีมะเดื่อฝรั่ง แก้วมังกร โดยมีแนวคิดว่าไม่ปลูกพืชชนิดเดียวปริมาณมาก แต่จะปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด

สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ในโรงเรือน หลังการเก็บเกี่ยวจะปล่อยให้ไก่เข้าไปกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช โดยระยะเวลาในการปล่อยให้ไก่อยู่ในโรงเรือนนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่และปริมาณอาหารที่ไก่สามารถกินได้ในโรงเรือน นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้จาก๘ไก่ ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้พืชผักด้วย สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้มาก

8

การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์และเข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล ทางรัฐบาลจะช่วยออกค่าปุ๋ยส่วนหนึ่ง สามารถซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ในราคากิโลกรัมละ 7 NTD จากราคาปกติกิโลกรัมละ 15 NTD (ถูกกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการ)

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0051

นอกจากการสนับสนุนเรื่องปุ๋ยอินทรีย์แล้ว รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เรื่องเครื่องจักรกลทางการเกษตร และค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

เกษตรกรท่านนี้ได้ให้แนวความคิดกับการผลิตพืชอินทรีย์ว่า

“การทำเกษตรอินทรีย์เราต้องทราบปริมาณความต้องการของตลาด และผลิตให้เพียงพอกับความต้องการไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ควรผลิตในปริมาณที่สม่ำเสมอ เมื่อใดที่ผลิตเกินความต้องการของตลาดผลผลิตจะล้นตลาดส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ”

 

สวนผักออแกนิก Taoyuan

เยี่ยมชมสวนผัก ที่เป็นหนึ่งในสวนผักออแกนิกที่ส่งผักให้ Taoyuan City Farm Association

เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่นี่เป็นทุ่งรกร้างมานาน จึงไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ เกาตรกรเจ้าของที่แห่งนี้คิดว่าเหมาะแก่การเพาะปลูกแบบออแกนิก จึงเริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน ต้นทุนในการสร้างโรงเรือน โรงละประมาณ 60,000บาท ใช้เงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด 10ล้าน และค่าเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆอีก 2 ล้าน

ขนาดโรงเรือน 5×20 เมตร (100ตร.ม.) มีทั้งหมด 86 โรงเรือน มีคนทำงาน 8 คน (รวมเจ้าของ)

มีแผ่นพลาสติก PEดำ กั้นด้านข้างโรงเรือนบริเวณพื้น เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก และป้องกันดินไม่ให้ไหลออกมาด้านนอก บริเวณด้านนอกโรงเรือน มีการปูพื้นด้วย PEสีดำป้องกันวัชพืชที่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงได้

การเพาะปลูก

25600914ออแกนนิก_๑๗๑๐๐๙_0039

ช่วงก่อนปลูกมีการกำจัดหญ้าวัชพืช โดยใช้ไฟเผาที่ความร้อน 700 องศา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะนำไก่เข้ามาช่วยเก็บกินเมล็ดพืชและแมลง ช่วยคุ้ยเขี่ยพรวนดิน แล้วยังได้ขี้ไก่มาเป็นปุ๋ยในดินด้วย

ที่นี่จะเพาะเมล็ดเอง เพราะไม่กล้าซื้อต้นกล้าจากที่อื่น เกรงว่าจะไม่ออแกนิกจริงๆ
ระบบน้ำเป็นแบบสเปรย์ด้านบน ไม่มีการให้น้ำบนพื้น
ในช่วงที่มีหญ้ารกร้าง จะใช้แรงงานคนมาถอนออก ไม่ใช้ยาใดๆ

IMG_8474

เครื่องให้ปุ๋ยที่สามารถจ่ายปุ๋ยได้ครั้งละ 100 กก.

1

ป้องกันและกำจัดแมลง

  • ใช้ BT
  • การปลูกพืชหมุนเวียนสลับไปในแต่ละโรง เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง ลดการสะสมโรค
  • ใช้กำดักกาวเหนียวในการดักแมลง

ผลผลิตของที่นี่จะขนส่งไปยังสหกรณ์(ซึ่งจะนำไปส่งต่อไปยังโรงเรียน)ด้วยรถเย็น และที่เหลือก็ส่งขายที่ Super Market ได้ราคากก.ละ 100 บาท

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์ให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้การปลูก สาธิตให้เด็กใช้เครื่องมือต่างๆ วิธีการลงปลูก และยังเป็นที่อบรมของกลุ่ม Young Farmer

IMG_8497IMG_8542

Taoyuan City Farm Association สหกรณ์ผักอินทรีย์เพื่อโรงเรียน

Taoyuan City Farm Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งให้โรงเรียน และจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน

IMG_8464

มีสมาชิก 46 ราย พื้นที่ปลูกผักจำนวน 32.2 เฮกตาร์ โรงเรือน จำนวน 3,220 โรงเรือน

ทางกลุ่มจะรวบรวมผักจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเข้ามาคัดแยก ทำความสะอาด และตัดแต่งก่อนส่งไปจำหน่าย โดยโรงงานจะรับผักจากเกษตรกร 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 45 ตันต่อสัปดาห์

ผักของทางกลุ่มมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำ ผักบุ้ง ผักขมผักกาดขาว ฟักทอง และแรดิช (Radish) ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะมีการปลูกผักพื้นบ้านแล้วแต่ฤดูกา สำหรับในช่วงไต้ฝุ่นเข้า จะมีการวางแผนการผลิตให้มีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นๆ

คนชอบกินผักหลายแบบ เขาจึงต้องรวบรวมผักหลายชนิดมาขาย ที่สหกรณ์จะมีการวางแผนการปลูก ตามความต้องการของโรงเรียนต่างๆ และกำหนดไปว่าจะให้เกษตรกรปลูกอะไร เมื่อไหร่บ้าง

ที่โรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 15 ราย แบ่งหน้าที่กันทำต่างๆกันไป ได้แก่

  • ควบคุมเกษตรกร ไปดูตามสวนต่าง 1 คน
  • จัดการเกี่ยวกับการส่งไปยังโรงเรียน 2 คน
  • ควบคุมpackaging 1คน
  • ตรวจสอบสารเคมี คุณภาพ 1 คน
  • ตัดแต่งผัก ล้างผัก ในโรงงาน 10 คน

ทุกๆสัปดาห์จะมีการสุ่มเช็ดคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรจำนวน 10 % จากเกษตรกรทั้งหมด

IMG_8459

ผลผลิตของทางกลุ่มได้รับมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรคนไหน

ผลผลิตที่เข้าโรงงานนี้จะส่งไปที่โรงเรียนเท่านั้น สำหรับผลผลิตจากแปลงเกษตรกรที่เหลือจะส่งไปจำหน่ายที่อื่น ถ้ามีการตรวจพบสารเคมีตกค้าง จะหยุดรับผลผลิตจากเกษตรกรคนนั้น จะไม่มีการปรับ แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการผลิตผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ขั้นตอนการจัดการผลผลิต

  1. นำผักที่มาจากเกษตรกรส่งเข้ามาในโรงงาน ใช้ตะกร้าสีน้ำเงิน และคัดคุณภาพโดยคน
    • IMG_8543
  2. นำมาเข้าเครื่องสับ
    • IMG_8446
  3. ล้างด้วยน้ำ 3 ขั้นตอนคือ ล้างดิน ล้างน้ำแรงๆเพื่อให้คราบที่ติดหนาแน่นออก และจึงล้างน้ำเย็น 4 องศา และพ่นด้วยน้ำคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้ออิโคไล และเป็นการลดกระบวนการออกซิเดชั่นของพืช
  4. เป่าลมและ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคน
    • 4
  5. นำใส่ตะกร้าสีเขียว มีถุงพลาสติกห่อหุ้มผัก เตรียมส่งไปยังโรงเรียน ตะกร้าละ 20 kg
  6. นำไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรอส่งในเช้าวันต่อไป ผลผลิตจะต้องถึงโรงเรียนก่อนตี 4 เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทำอาหารในเวลา 6 โมงเช้า

จะมีเครื่องล้างตะกร้า ที่อุณหภูมิ –7องศา หลังจากการใช้งาน โดยมีตะกร้าสีน้ำเงิน ใช้สำหรับขนผักจากแปลงเกษตรกรมายังโรงงาน และตะกร้าสีเขียวสำหรับขนผักจากโรงงานไปยังโรงเรียน

5

ทางกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายผลผลิตราคากิโลกรัมละ 75 NTD เกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 66 NTD จะจ่ายเงินให้เกษตรกรหลังจากรับผลผลิตมาแล้วประมาณ 7 – 10วัน ส่วนต่างของราคาจำหน่ายทางกลุ่มจะใช้ในการบริหารจัดการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งเข้าโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าผักให้โรงเรียนกิโลกรัมละ 60 NTD และโรงเรียนจ่ายเองกิโลกรัมละ 15 NTD โดยคิดเป็นมูลค่าที่รัฐบาลสนับสนุนปีละ 50 ล้าน NTD

นอกจากนั้นทางกลุ่มเกษตรกร ก็มีการสอนและให้ความรู้เรื่องการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนด้วย

 

ข้อดีของระบบนี้คือ

  • โรงเรียนได้ผักที่ส่งมานี้จะสะอาด พร้อมปรุง (ล้างและหั่นเรียบร้อยจากโรงงาน ประหยัดแรงงานในโรงครัว)
  • เด็กได้กินผักที่ดี ปลอดภัยและสะอาดจากสวน
  • แก้ปัญหาสุขภาพของเมือง
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย