กลุ่มสหกรณ์ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

Guanxi Farmer’s Association, Hsinchu Country กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตและแปรรูปเฉาก๊วย

มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 100 เฮกตาร์ ในอดีตเกษตรกรปลูกเฉาก๊วยกันมากจนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด เกษตรกรจึงมีรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่แปรรูป คือ ชาเฉาก๊วย และต่อมาก็มีการแปรรูปเป็นวุ้นเฉาก๊วย

สหกรณ์ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 23 ปีแล้ว ปัจจุบันทางสหกรณ์ได้เปิดให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยว ภายในสหกรณ์มีการจัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเฉาก๊วยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีการบรรยายความเป็นมาของกลุ่มสหกรณ์ ข้อมูลข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเฉาก๊วย บรรยายสรรพคุณของเฉาก๊วย ให้คนทั่วไปได้รับรู้

มีการสอนทำวุ้นเฉาก๊วยจากผงสำเร็จรูป

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีการกระตุ้นให้แม่บ้านเข้ามาประกวดทำอาหารจากเฉาก๊วย รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์เฉาก๊วยด้วยการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเฉาก๊วย เฉาก๊วยของสหกรณ์มีตราสินค้าเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ

วิธีการปลูกเฉาก๊วย

ปลูกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 160 – 180 วัน ปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Famer) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ จำนวน 6 ราย การเก็บรักษาเฉาก๊วยนั้น จะนำเฉาก๊วยใส่ในถังเหล็กขนาดใหญ่ ต้มในน้ำเดือดประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จากนั้นจึงผ่านกระบวนการ Freeze Dry แล้วจึงนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า FGA  และ ISO ต่างๆ มากมาย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า

sweet potato processing

ชื่อบริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เป็นบริษัทที่ผลิตและแปรรูปมันเทศ

IMG_0426.JPG

ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจะเน้นจำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 65 – 70 เช่น ตลาด ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ ร้าน Fast food และส่งออกไปยังต่างประเทศร้อยละ 30 -35 เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์

บริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ประเทศไต้หวันมีพันธุ์มันเทศประมาณ 1,400พันธุ์ พันธุ์ที่บริษัทใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก คือ พันธุ์ Tainung 57 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง รสชาติหวาน ปริมาณเนื้อเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ระบบการปลูกมันเทศ จะปลูกพืชแบบหมุนเวียน โดยจะปลูกมันเทศเป็นเวลา 2 ปี และปลูกพืชผัก 1 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรค

IMG_0407.JPG

วิธีการปลูกและดูแลรักษา ขนาดความกว้างของแปลงปลูก 120 เซนติเมตร ใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 3,500 – 4,000 ต้นต่อพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์ ต้นพันธุ์มันเทศที่ใช้จะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร

ระบบน้ำที่ใช้สำหรับการปลูกมันเทศเป็นการปล่อยน้ำเข้าตามร่องทุกๆ 1 – 2 สัปดาห์ หรือพิจารณาตามความเหมาะสม การให้ปุ๋ยจะเน้นปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหวาน มันเทศเป็นพืชที่ต้องการความต่างกันของอุณหภูมิระหว่างเวลากลางวันและเวลากลางคืน จะส่งผลมันเทศให้มีรสชาติที่หวานอร่อย

 

IMG_0413.JPGอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมประมาณ 5 – 6 เดือน ในช่วงฤดูร้อนอายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นลงเหลือ 4.5 เดือน ในช่วงเดือน ตุลาคม – มีนาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวที่มันเทศจะมีรสชาติดีที่สุด สำหรับฤดูหนาวเป็นช่วงที่มันเทศจะให้ผลผลิตสูงที่สุด เกษตรกรจะปลูกมันเทศในช่วงฤดูหนาวคิดเป็นร้อยละ 90 และปลูกมันเทศนอกฤดูร้อยละ 10

มันเทศสามารถเก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ราคาขายผลผลิตสดราคากิโลกรัมละ 30 NTD เมื่อนำไปเผาจะจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 150NTD ราคาส่งออกมันเทศกิโลกรัมละ 200 – 300 NTD

ปัญหาที่พบในการผลิตมันเทศ คือ ปัญหาแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอย การจัดการ คือ ใช้กับดักที่มีสารฟิโลโมนล่อแมลง ในพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์จะใช้กับดักแมลงประมาณ 4 – 5 อัน และจะมีการขังน้ำท่วมแปลงปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการปลูกเพื่อกำจัดไส้เดือนฝอย

บริษัทมีพื้นที่ปลูกมันเทศในเมือง Taichung และ Hualien รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1,000 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่ของบริษัทร้อยละ 40 และร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ของเกษตรกรเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท บริษัทมีแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการแปลง ในแอพพลิเคชั่นจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับตารางเวลาการเพาะปลูกของแต่ละแปลง เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ตำแหน่งที่ตั้งแปลง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าไปดูแลและติดตามในแต่ละแปลง

บริษัทมีการแปรรูปผลผลิตและจำหน่ายมีร้านจำหน่ายของตนเองและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ลูกค้าได้ชมแปลงสาธิตการปลูกมันเทศ ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโรงงาน และซื้อสินค้าภายในบริษัทได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทางบริษัทจะมีการแปรรูปมันเทศทั้งเปลือกเพื่อลดการสูญเสียของผลผลิต เพื่อให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสีย (Zero waste)