สวนมะระขาวและแตงกวา

สวนมะระขาว ซึ่งเป็นพันธุ์พิเศษของไต้หวัน ผลมีสีขาวส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นสลัด และส่งออกไปจำหน่ายที่ฮ่องกง25600926_๑๗๑๐๐๙_0018

มะระขาวในแปลงนี้ปลูกภายในโรงเรือนตาข่าย (Net house) ความสูงของโรงเรือนประมาณ 2.50 เมตร ขนาดตาข่าย 24 mesh ระยะปลูกระหว่างแปลง 2 เมตร และระยะระหว่างต้น 2 เมตร

IMG_0246

ต้นมะระที่ปลูกใช้ต้นกล้าจากการเสียบยอด (grafting) โดยใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ จากนั้นจึงเสียบยอดด้วยยอดมะระพันธุ์ดี สาเหตุที่ใช้ต้นฟักทองเป็นต้นตอ เนื่องจากต้นฟักทองมีรากที่แข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ทนต่อโรคพืชทางดิน

นี่คือรูป ลักษณะโคนต้นมะระที่เสียบยอดบนต้นฟักทอง

25600926_๑๗๑๐๐๙_0019

การให้น้ำเป็นระบบให้น้ำไล่ร่อง ทุก 10 วัน
การให้ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และเมื่อต้นมะระเริ่มติดดอกจะให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม

IMG_0253

ภายในโรงเรือนจะใช้ผึ้งในการผสมเกสร

IMG_0249

การดูแลรักษา จะมีการห่อผลมะระตั้งแต่ผลมีขนาดใหญ่เท่านิ้วโป้ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีดำ เพื่อลดการสังเคราะห์แสงทำให้ผลมะระมีสีขาว หลังจากห่อผลประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1วัน จะนำเอาถุงพลาสติกสีดำที่ห่อผลออก

IMG_0248

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ (1,280 กก. ต่อไร่)

ราคาจำหน่ายผลผลิตภายในประเทศประมาณกิโลกรัมละ 40 NTD (ประมาณ 42บาท)
ราคาส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงกิโลกรัมละ 60 NTD

ต่อจากนั้นเดินทางไปงานแปลงมะระเขียว ซึ่งผลผลิตมะระเขียวจะใช้สำหรับทำน้ำมะระ และส่งโรงแรมเพื่อประกอบอาหาร

IMG_0258.JPG

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะสังเกตจากตุ่มที่ผิวของผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อผล ราคาจำหน่ายมะระเขียวราคากิโลกรัมละ 50 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะระเขียวมากกว่ามะระขาว เนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน มีความต้องการของตลาดมากเพราะคนไต้หวันนิยมบริโภคมะระเขียวมากกว่ามะระขาว และมะระเขียวมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยกว่า การจัดการและการดูแลรักษาง่ายกว่า

ทั้งนี้เกษตรกรจะปลูกมะระสลับกับการปลูกแตงกวา โดยจะปลูกแตงกวาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และปลูกมะระในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สำหรับการปลูกแตงกวา จะใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 4 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง การย้ายปลูกในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุน้อย เป็นการประหยัดแรงงานในการดูแลต้นกล้า และทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ลำต้นจะไม่สูงจนเกินไปและมีข้อที่สั้น

IMG_0261

การดูแลรักษาจะมีการเด็ดยอดที่กิ่งแขนงเพื่อให้น้ำเลี้ยงไปเลี้ยงที่ลูกเท่านั้น โดยจะไว้ผลประมาณ 35 ผลต่อต้น เริ่มเก็บครั้งแรกหลังการย้ายกล้าปลูกไปแล้ว 35 วัน และเก็บผลผลิตได้จนถึงอายุ 60 วันหลังการย้ายปลูก ซึ่งจะเก็บผลผลิตทุกวัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

IMG_0256

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Nice Green Plant Factory

nicegreen

เป็นการปลูกพืชระบบ Plant factory ในตึกร้างที่ไม่ใช้งานแล้ว มีจำนวนห้องสำหรับปลูกพืชผัก จำนวนทั้งหมด 20 ห้อง (ห้องขนาด 70 ตารางเมตร) พื้นที่ 1 ห้อง สามารถปลูกได้ 8,000 ต้น แบ่งการดูแลเป็นโซนละ 6 ห้อง และในแต่ละโซนจะมีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ในการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ อากาศ คาร์บอนไดออกไซด์

ข้อดีของการแบ่งปลูกเป็นห้องเล็กๆ คือง่ายต่อการจัดการ การเก็บเกี่ยวผลผลิต และประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในส่วนที่ไม่ได้ปลูกก็ปิดไฟทั้งหมด

IMG_7408

พืชที่ปลูก ได้แก่ กรีนโอ๊ค (Green Oak) เรดโอ๊ค (Red Oak) เรดคอรอล (Red Coral) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว จะมีการตัดแต่งใบที่ไม่สมบูรณ์ออก และบรรจุในถุงพร้อมส่งผู้บริโภค

IMG_7409

แนวคิดของ Plant Factory คือ “Local to Local” หมายความว่า ผลผลิตพืชผักที่ได้จาก Plant Factory จะส่งขายภายในประเทศเท่านั้น อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สร้าง Plant Factory ก็จะผลิตในประเทศทั้งหมด

ในเมืองไทเป ยังมีร้านอาหาร Nice green เป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ขายพืชผักที่ผลิตจากระบบ Plant factory มีชุดตัวอย่างแสดงการผลิตผักภายในร้านอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่าผักที่ทานเข้าไปผลิตมาด้วยวิธีใด

Environmental friendly Farm of Vegetable

ฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ปลูกผักอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ในเมือง Yilan เป็นจุดรวบรวมผักอินทรีย์จากสมาชิกอีก 35 ราย ก่อนจะนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆ

IMG_8579

รัฐบาลจะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยรับซื้อผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรไปให้เด็กในโรงเรียนรับประทาน และที่เมือง Yilan ในทุกเดือนจะกำหนดให้มีวันกินผักอินทรีย์เพื่อกระตุ้นและประชาสัมพันธ์การบริโภคผักอินทรีย์

9

การผลิตข้าวของเกษตรกรจะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นจึงมีการเก็บรักษาคุณภาพข้าวให้สามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และให้ข้าวมีความสดใหม่น่ารับประทานโดยการเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส

ที่นี่จะมีเครื่องสีข้าว สามารถสีข้าวแบบขัดผิวและไม่ขัดผิว มีเครื่องบรรจุสุญญากาศ

เกษตรกรมีการปลูกพืชแบบผสมผสานในโรงเรือน มีทั้งพืชผักและไม้ผล เช่น มีมะเดื่อฝรั่ง แก้วมังกร โดยมีแนวคิดว่าไม่ปลูกพืชชนิดเดียวปริมาณมาก แต่จะปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด

สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ในโรงเรือน หลังการเก็บเกี่ยวจะปล่อยให้ไก่เข้าไปกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช โดยระยะเวลาในการปล่อยให้ไก่อยู่ในโรงเรือนนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่และปริมาณอาหารที่ไก่สามารถกินได้ในโรงเรือน นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้จาก๘ไก่ ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้พืชผักด้วย สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้มาก

8

การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์และเข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล ทางรัฐบาลจะช่วยออกค่าปุ๋ยส่วนหนึ่ง สามารถซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ในราคากิโลกรัมละ 7 NTD จากราคาปกติกิโลกรัมละ 15 NTD (ถูกกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการ)

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0051

นอกจากการสนับสนุนเรื่องปุ๋ยอินทรีย์แล้ว รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เรื่องเครื่องจักรกลทางการเกษตร และค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

เกษตรกรท่านนี้ได้ให้แนวความคิดกับการผลิตพืชอินทรีย์ว่า

“การทำเกษตรอินทรีย์เราต้องทราบปริมาณความต้องการของตลาด และผลิตให้เพียงพอกับความต้องการไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ควรผลิตในปริมาณที่สม่ำเสมอ เมื่อใดที่ผลิตเกินความต้องการของตลาดผลผลิตจะล้นตลาดส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ”

 

Green Onion Production การปลูกต้นหอมใน Yilan

Yilan เป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่มีชื่อเสียงและพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไต้หวัน

IMG_8628

ที่นี่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอม (Green onion) และมีศูนย์จำหน่ายผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร โดยวิธีการปลูกของกลุ่มเกษตรกร Yilan จะปลูกแบบยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเนื่องจากมีความต้านทานเชื้อราได้ดี โดยจะปลูกต้นหอมลึกลงไปในดินประมาณ 15 เซนติเมตร

การปลูกต้นหอมลึกจะทำให้ลำต้นของต้นหอมมีสีขาวและยาวกว่าปกติ เนื่องจากคนไต้หวันนิยมบริโภคส่วนของลำต้นสีขาว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่นิยมบริโภคส่วนใบสีเขียว
ที่ Yilan เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน เนื่องจากได้ต้นที่ส่วนสีขาวยาวกว่าที่อื่นๆ

Oganic+Onion150917_๑๗๑๐๐๙_0026

ในการปลูกต้นหอมจะใช้ฟางข้าวคลุมบนแปลง ปกติเกษตรกรจะปลูกต้นหอมได้ 4 ครั้งต่อปี และสลับกับการปลูกข้าวอย่างละปี และนำฟางข้าวมาคลุมแปลงต้นหอมในรอบการผลิตถัดไป

IMG_8640

การปลูกต้นหอมในเมือง Yilan มีทั้งปลูกในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ปลูกในโรงเรือนเพื่อกันลมและแมลง บางโรงเรือนจะมีแค่มุ้งด้านข้างเพื่อป้องกันลมอย่างเดียว เพราะที่ไต้หวันมีไต้ฝุ่นบ่อยๆ (ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เพราะไม่มีไต้ฝุ่น)

ผลผลิตที่ได้ประมาณ 30 ตันต่อเฮกตาร์ (4.8 ตัน ต่อไร่) การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้แรงงานคน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแปลงจะนำต้นหอมมาล้างน้ำและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 1 – 5 องศาเซลเซียส โดยจะมัดต้นหอมมัดละ 1 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายทั่วประเทศไต้หวันราคากิโลกรัมละ 200 NTD

สวนผักออแกนิก Taoyuan

เยี่ยมชมสวนผัก ที่เป็นหนึ่งในสวนผักออแกนิกที่ส่งผักให้ Taoyuan City Farm Association

เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่นี่เป็นทุ่งรกร้างมานาน จึงไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ เกาตรกรเจ้าของที่แห่งนี้คิดว่าเหมาะแก่การเพาะปลูกแบบออแกนิก จึงเริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน ต้นทุนในการสร้างโรงเรือน โรงละประมาณ 60,000บาท ใช้เงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด 10ล้าน และค่าเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆอีก 2 ล้าน

ขนาดโรงเรือน 5×20 เมตร (100ตร.ม.) มีทั้งหมด 86 โรงเรือน มีคนทำงาน 8 คน (รวมเจ้าของ)

มีแผ่นพลาสติก PEดำ กั้นด้านข้างโรงเรือนบริเวณพื้น เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก และป้องกันดินไม่ให้ไหลออกมาด้านนอก บริเวณด้านนอกโรงเรือน มีการปูพื้นด้วย PEสีดำป้องกันวัชพืชที่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงได้

การเพาะปลูก

25600914ออแกนนิก_๑๗๑๐๐๙_0039

ช่วงก่อนปลูกมีการกำจัดหญ้าวัชพืช โดยใช้ไฟเผาที่ความร้อน 700 องศา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะนำไก่เข้ามาช่วยเก็บกินเมล็ดพืชและแมลง ช่วยคุ้ยเขี่ยพรวนดิน แล้วยังได้ขี้ไก่มาเป็นปุ๋ยในดินด้วย

ที่นี่จะเพาะเมล็ดเอง เพราะไม่กล้าซื้อต้นกล้าจากที่อื่น เกรงว่าจะไม่ออแกนิกจริงๆ
ระบบน้ำเป็นแบบสเปรย์ด้านบน ไม่มีการให้น้ำบนพื้น
ในช่วงที่มีหญ้ารกร้าง จะใช้แรงงานคนมาถอนออก ไม่ใช้ยาใดๆ

IMG_8474

เครื่องให้ปุ๋ยที่สามารถจ่ายปุ๋ยได้ครั้งละ 100 กก.

1

ป้องกันและกำจัดแมลง

  • ใช้ BT
  • การปลูกพืชหมุนเวียนสลับไปในแต่ละโรง เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง ลดการสะสมโรค
  • ใช้กำดักกาวเหนียวในการดักแมลง

ผลผลิตของที่นี่จะขนส่งไปยังสหกรณ์(ซึ่งจะนำไปส่งต่อไปยังโรงเรียน)ด้วยรถเย็น และที่เหลือก็ส่งขายที่ Super Market ได้ราคากก.ละ 100 บาท

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์ให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้การปลูก สาธิตให้เด็กใช้เครื่องมือต่างๆ วิธีการลงปลูก และยังเป็นที่อบรมของกลุ่ม Young Farmer

IMG_8497IMG_8542

Taoyuan City Farm Association สหกรณ์ผักอินทรีย์เพื่อโรงเรียน

Taoyuan City Farm Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งให้โรงเรียน และจำหน่ายภายในประเทศไต้หวัน

IMG_8464

มีสมาชิก 46 ราย พื้นที่ปลูกผักจำนวน 32.2 เฮกตาร์ โรงเรือน จำนวน 3,220 โรงเรือน

ทางกลุ่มจะรวบรวมผักจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเข้ามาคัดแยก ทำความสะอาด และตัดแต่งก่อนส่งไปจำหน่าย โดยโรงงานจะรับผักจากเกษตรกร 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 45 ตันต่อสัปดาห์

ผักของทางกลุ่มมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำ ผักบุ้ง ผักขมผักกาดขาว ฟักทอง และแรดิช (Radish) ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะมีการปลูกผักพื้นบ้านแล้วแต่ฤดูกา สำหรับในช่วงไต้ฝุ่นเข้า จะมีการวางแผนการผลิตให้มีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นๆ

คนชอบกินผักหลายแบบ เขาจึงต้องรวบรวมผักหลายชนิดมาขาย ที่สหกรณ์จะมีการวางแผนการปลูก ตามความต้องการของโรงเรียนต่างๆ และกำหนดไปว่าจะให้เกษตรกรปลูกอะไร เมื่อไหร่บ้าง

ที่โรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 15 ราย แบ่งหน้าที่กันทำต่างๆกันไป ได้แก่

  • ควบคุมเกษตรกร ไปดูตามสวนต่าง 1 คน
  • จัดการเกี่ยวกับการส่งไปยังโรงเรียน 2 คน
  • ควบคุมpackaging 1คน
  • ตรวจสอบสารเคมี คุณภาพ 1 คน
  • ตัดแต่งผัก ล้างผัก ในโรงงาน 10 คน

ทุกๆสัปดาห์จะมีการสุ่มเช็ดคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรจำนวน 10 % จากเกษตรกรทั้งหมด

IMG_8459

ผลผลิตของทางกลุ่มได้รับมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรคนไหน

ผลผลิตที่เข้าโรงงานนี้จะส่งไปที่โรงเรียนเท่านั้น สำหรับผลผลิตจากแปลงเกษตรกรที่เหลือจะส่งไปจำหน่ายที่อื่น ถ้ามีการตรวจพบสารเคมีตกค้าง จะหยุดรับผลผลิตจากเกษตรกรคนนั้น จะไม่มีการปรับ แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการผลิตผักให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ขั้นตอนการจัดการผลผลิต

  1. นำผักที่มาจากเกษตรกรส่งเข้ามาในโรงงาน ใช้ตะกร้าสีน้ำเงิน และคัดคุณภาพโดยคน
    • IMG_8543
  2. นำมาเข้าเครื่องสับ
    • IMG_8446
  3. ล้างด้วยน้ำ 3 ขั้นตอนคือ ล้างดิน ล้างน้ำแรงๆเพื่อให้คราบที่ติดหนาแน่นออก และจึงล้างน้ำเย็น 4 องศา และพ่นด้วยน้ำคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้ออิโคไล และเป็นการลดกระบวนการออกซิเดชั่นของพืช
  4. เป่าลมและ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคน
    • 4
  5. นำใส่ตะกร้าสีเขียว มีถุงพลาสติกห่อหุ้มผัก เตรียมส่งไปยังโรงเรียน ตะกร้าละ 20 kg
  6. นำไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรอส่งในเช้าวันต่อไป ผลผลิตจะต้องถึงโรงเรียนก่อนตี 4 เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทำอาหารในเวลา 6 โมงเช้า

จะมีเครื่องล้างตะกร้า ที่อุณหภูมิ –7องศา หลังจากการใช้งาน โดยมีตะกร้าสีน้ำเงิน ใช้สำหรับขนผักจากแปลงเกษตรกรมายังโรงงาน และตะกร้าสีเขียวสำหรับขนผักจากโรงงานไปยังโรงเรียน

5

ทางกลุ่มสหกรณ์จำหน่ายผลผลิตราคากิโลกรัมละ 75 NTD เกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 66 NTD จะจ่ายเงินให้เกษตรกรหลังจากรับผลผลิตมาแล้วประมาณ 7 – 10วัน ส่วนต่างของราคาจำหน่ายทางกลุ่มจะใช้ในการบริหารจัดการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์เพื่อส่งเข้าโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าผักให้โรงเรียนกิโลกรัมละ 60 NTD และโรงเรียนจ่ายเองกิโลกรัมละ 15 NTD โดยคิดเป็นมูลค่าที่รัฐบาลสนับสนุนปีละ 50 ล้าน NTD

นอกจากนั้นทางกลุ่มเกษตรกร ก็มีการสอนและให้ความรู้เรื่องการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนด้วย

 

ข้อดีของระบบนี้คือ

  • โรงเรียนได้ผักที่ส่งมานี้จะสะอาด พร้อมปรุง (ล้างและหั่นเรียบร้อยจากโรงงาน ประหยัดแรงงานในโรงครัว)
  • เด็กได้กินผักที่ดี ปลอดภัยและสะอาดจากสวน
  • แก้ปัญหาสุขภาพของเมือง
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

โรงงานเห็ด Refung Mushroom farm

เป็นฟาร์มเห็ดที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงาน TARI (Taiwan Agricultural Research Institute)

ทำการเพาะเห็ดมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี เห็ดที่ผลิตปัจจุบัน คือ เห็ด King Oyster ทางฟาร์มจะจำหน่ายเห็ดสด ก้อนเห็ดพร้อมเปิดดอก และจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดที่เปิดดอกแล้วสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์

 

การผลิตเห็ด

วัสดุที่ใช้ทำก้อนเห็ด ประกอบด้วย ขี้เลื่อย รำข้าว แกนข้าวโพดป่น ปูนขาวเพื่อปรับ pH

IMG_8394

ขั้นตอน

  1. ตากแดดขี้เลื่อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงจะนำมาใช้ได้ และนำมาผสมในถังผสมขนาด 1 ตัน ต่อรอบกันผสม ผสมครั้งละ 50 นาที ใช้ขี้เลื่อย 70% มีการปรับ pH ให้เหมาะสม ซึ่ง King Oyster ชอบ pH =5.6
  2. นำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว นำมาบรรจุใส่ถุง ถุงละ 2 kg โดยใช้เครื่องมือแบบกึ่งอัติโนมัติ เมื่อกรอกขี้เลื่อยลงถุงแล้ว จะใช้แรงงานในการปิดฝาถุง จากนั้นจึงนำไปใส่ตะกร้า 10 ถุงต่อตะกร้าหนึ่งใบ หลังจากนั้นก็ผ่านเครื่องเจาะรูสำหรับใส่สปอร์ เจาะลงไปถึงกลางถุง จากนั้นจึงอุดด้วยสำลี และปิดตะกร้าด้วยแผ่นพลาสติกสีดำ นำไปวางบนชั้นเพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายเข้าสูงถังอบไอน้ำ
    • IMG_8400
  3. อบไอน้ำ ในถังี่มีท่อต่อมาจากเครื่องทำไอน้ำ อบที่อุณหภูมิมากกว่า 120องศา อบได้ครั้งละ 2ตัน  2,400 ถุง แล้วทิ้งไว้ให้เย็นลงมาที่ 25 องศา ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 ชม.
  4. ย้ายมาอีกห้องสำหรับเขี่ยเชื้อ
  5. ย้ายมาเก็บที่ห้องบ่มเชื้อ อุณหภูมิ 22 องศา ระยะเวลา 1 เดือน
    • IMG_8404
  6. ย้ายมาที่ห้องเปิดดอก อุณหภูมิ 20 องศา ความชื้นต่ำประมาณ 70% มีการตรวจสอบการเดินของเส้นใยต้องเต็มถุง ต้องมีคุณภาพที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ถ้าติดเชื้อจะมีสีเขียวหรือดำก็จะนำออกไปทำลาย ระยะเวลา 1 อาทิตย์จึงจะออกดอก ในช่วงนี้จะมีการขายด้วย ก้อนเห็ดของที่นี่จะได้คุณภาพดีไม่มีการปนเปื้อน 95%
    • การวางก้อนเห็ด จะวางที่มุม 45องศาจากพื้น
    • IMG_8405
  7. ย้ายมาอีกห้อง ที่ลดอุณหภูมิลงมาที่ 16องศา ความชื้อสัมพัทธ์ 80% ปรับความชื้อโดยการสเปรน้ำจากด้านบน เก็บไว้ในห้องนี้ประมาณ 10 วัน ที่นี่ไม่มีปัญหาในการติดเชื้ออื่นด้านนอก เพราะมีการควบคุมความสะอาดอย่างดีทั่วบริเวณ และเห็ดของที่นี่จะแข็งแรง ไม่ติดเชื้อได้ง่ายๆ
    • IMG_8416
  8. ย้ายมาที่ห้องเก็บผลผลิตอีก 1 อาทิตย์ อุณหภูมิ 16 องศา ความชื้น 90% และเก็บผลผลิดเพียงแค่ครั้งเดียว 1 ก้อนสามารถเก็บผลผลิตได้ 250-280g ขนาดที่ได้จะยาวประมาณ 15 ซม.
  9. ย้ายมาที่ห้องคัดเกรด ซึ่งแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
  10. ตัดแต่ง
  11. แยกขนาด แบ่งเป็น 4 เกรด A,B,C,D โดยเกรด A,B นำไปขายที่ Super market ส่วน C,Dขายตามโรงแรมและร้านอาหาร ตลาดทั่วไป
  12. บรรจุถุงให้ได้น้ำหนักถุงละ 1 กก.

ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่บรรจุก้อนจนถึงเก็บเกี่ยว ระยะเวลา 2เดือน

หลังจากศึกษาดูงานที่ฟาร์มเห็ด Refung Mushroom farm ได้ศึกษาดูงานกลุ่มงานรับผิดชอบเรื่องการผลิตเห็ด ของหน่วยงาน TARI ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เห็ด แสดงตัวอย่างเห็ดชนิดต่างๆ พร้อมอธิบายสรรพคุณและการใช้ประโยชน์

IMG_8429

ในปี 2016 ประเทศไต้หวันมีการส่งออกเห็ดและมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 430 ล้าน NTD เห็ดที่สำคัญของประเทศไต้หวัน ได้แก่

  1. เห็ดชิตาเกะ
  2. King Oysters
  3. เห็ดเข็มทอง
  4. Oyster
  5. เห็ดหูหนู

ภายในศูนย์วิจัยของ TARI มีการวิจัยการเพาะเห็ด แบบ Plant factory โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีระบบควบคุมและมี Sensor ควบคุมสภาพอากาศภายในตู้ เชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปที่โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ ด้านบนตู้คอนเทนเนอร์จะมีแผงโซล่าเซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้ภายในตู้

DCIM101GOPROGOPR7482.

ข้อดีของการเพาะเห็ดแบบนี้ คือ สามารถเคลื่อนย้ายนำไปเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้

IMG_8539

การควบคุมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน TARI

ที่ TARI (Taiwan Agricultural Research Institute) มีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรือนสำหรับปลูกพืชอยู่หลายๆแบบ และที่เราได้ไปดูกันมีดังนี้

โรงเรือนที่  1:

แบบหลังคาเปิดสองด้านระบายลม มีเครื่องวัดความเร็วลม เป็นการทดลองใช้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเพื่อใช้ในโรงรือน มีท่อสายไฟฝังดินรอไว้ สำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รอบๆโรงเรือนเพื่อการทดลองในอนาคต

โรงเรือนมีหลังคาสองชั้น ชั้นนอกเป็นหลังคาจั่วคลุมด้วยพลาสติก เปิดปิดระบายอากาศแบบใช้มอเตอร์ เปิดได้กว้างตามต้องการ ชั้นในเป็นตาข่ายปรับแสง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ซึ่งมีสองชั้น คือ

  1. ตาข่ายพลางแสงในฤดูร้อน ไม่ให้แสงเข้าโรงเรือนมากไป
  2. ตาข่ายสีขาวสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มแสงในโรงเรือน

IMG_8114

ภายในมีพัดลมติดไว้เป็นช่วงๆ เพื่อเป่าระบายอากาศ ด้านข้างเป็นตาข่าย 32 mesh

IMG_8300

รอบโรงเรือนมีกำแพงมุ้งสองชั้น เพื่อให้ลมไหลเวียน เมื่อมีแมลงตามเข้ามาชั้นแรก จะไม่ตามเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

IMG_8279

มีประตู 2 อัน ประตูแรกสำหรับเครื่องจักรเข้าไปทำงาน ส่วนอีกประตูเอาไว้ให้คนเดินเข้าไป ประตูนี้จะมีทางเดินคดเคี้ยวเข้าไปหลายรอบก่อนจะถึงภายในโรงเรือน โดยด้านข้างจะคลุมด้วยแสลนสีดำ เพื่อไม่ให้แมลงบินตามคนเข้ามา แมลงจะไปเกาะตามแสลนสีดำด้านข้างแทน

IMG_8091

 

โรงเรือนที่2: โรงทดลองปลูกพืชต้านทานไวรัส เป็นพืชตระกูลแตงต่างๆ เช่น เมล่อน ฟักทอง

IMG_8308

วัสดุปลูกใช้พีทมอส ใส่บนกระบะเหล็กที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้น และใช้กำมะหยี่เป็นวัสดุคลุมวัสดุปลูกอีกชั้น

การให้น้ำ ผ่านท่อน้ำวางใต้กระบะปลูก แล้วมีท่อเล็กๆสีดำต่อน้ำจากท่อหลักขึ้นมารดบนกำมะหยี่ เพื่อให้ชื้นทั่วถึง

IMG_8312

การปลูกเมล่อนคุณภาพ ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพฯ

วันที่ 28/2/2561 ได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการปลูกเมล่อนที่โรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักพัฒนาสังคม


ใช้เวลาประมาณ 3 ชม. รวมถึงการบรรยาย ถามตอบ และโชว์การเพาะเมล็ดลงถาดให้ดู

มีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 50 คน ได้รับความสนใจมากเกินกว่าที่คาดไว้
มีการแอดไลน์กันไว้ เพื่อถามรายละเอียดการปลูกนอกรอบทีหลัง ซึ่งเราก็ยินดีมากๆ
บางท่านถามละเอียดมาก คงจะตั้งใจไปทดลองปลูกจริงๆ
อยากรู้เหมือนกันว่ามี Feedback ยังไง ฟังเข้าใจมั้ย หรือเราต้องปรับปรุงอะไรเพิ่มมั้ย

ดีใจที่ได้แชร์ประสบการณ์ที่มี มันอาจจะไม่ใช่วิธีปลูกที่ถูกต้องที่สุด หรือดีที่สุด
แต่มันก็คือวิธีของเรา ที่เราพยายามปรับปรุงทุกครั้ง ทุกรอบ

ถ้าได้ไปบรรยายครั้งหน้า ก็อาจจะไม่ใช่วิธีนี้แล้ว
แต่มันก็คงเป็นวิธีที่ดีกว่าเดิมแน่นอน

เอกสารประกอบการบรรยายวันนั้น Download ได้ที่นี่ค่ะ

  1. เทคนิกการปลูกเมล่อนคุณภาพ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. บันทึกการปลูกเมล่อน โดย For Love & Melon Farm