การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Cactus Farm

Fu Hsiang Cactus Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) อายุ 31 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ และปริญญาโท สาขา MBA เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นแรกของประเทศไต้หวัน

IMG_0972.JPG

ได้สืบถอดธุรกิจมาจากครอบครัว พื้นที่ปลูกจำนวน 5 เฮกตาร์ มีแคคตัสมากกว่า 8,000 สายพันธุ์ มีคนงานจำนวน 7 คน ปัจจุบันทำโรงเรือนอัตโนมัติ หลังคาโรงเรือน 2 ชั้น มีระบบเปิดปิดหลังคาอัตโนมัติเพื่อควบคุมแสง

IMG_0960.JPG
มีการใช้สารฟีโรโมนล่อแมลง ใช้ผึ้งในการผสมเกสรพันธุ์ผึ้งนำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ แคคตัสเป็นพืชที่ไม่ชอบความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 37 องศาเซลเซียส

มีการศึกษาผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์
ในการประเมินความชอบของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลจากอายุ ประเทศ สี โดยใช้การจัดนิทรรศการเป็นเป็นเก็บข้อมูล ทางรัฐบาลได้ส่งไปศึกษาดูงานในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศฮอลแลนด์ เยอรมนี อิสราเอล หลังจากไปศึกษาดูงานกลับมาเกษตรกรจะต้องถ่ายทอดให้เกษตรกรไต้หวันอย่างน้อย 100 ราย

ปัจจุบันทางฟาร์มได้ปรับปรุงฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเก็บพันธุ์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือประเทศไทย และญี่ปุ่น เกษตรกรมีการนำความรู้จากการเรียนมหาวิทยาลัยมาปรับใช้ในการแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการจะมอง 5 ด้าน คือ การผลิต การตลาด ทรัพยากรบุคคล วิจัยและพัฒนาสินค้า และการเงิน

Gao Ping Tomato Farm

ศึกษาดูงาน Gao Ping Tomato Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)

IMG_0879.JPG

ทำการปลูกมะเขือเทศเป็นเวลา 20 ปี มีการใช้โรงเรือนเป็นร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นสถานที่บรรยายถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ

วัสดุปลูกที่ใช้เป็นพีท มอส นำเข้ามาจากประเทศฮอลแลนด์ (ขนาด 225 ลิตร ราคา 450 NTD) จะเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จะเริ่มปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0040.jpg

การปลูกมะเขือเทศจะปลูกในตะกร้าที่วางสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงไต้ฝุ่น ตะกร้า 1 ใบ สามารถปลูกมะเขือเทศได้ 4 ต้น ก้นตะกร้าจะปูด้วยผ้าขาว 1 ชั้น

มะเขือเทศ10917_๑๗๑๐๐๙_0071.jpg

การให้ปุ๋ยทางน้ำพีเอช (pH) ประมาณ 6 – 7 ค่า EC ในระยะแรกปรับค่า EC ที่ 1.5 ในฤดูหนาวจะปรับค่า EC 2 – 3 การให้น้ำวันละ 8 – 10 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำผ้าขาวที่รองตะกร้าออก และล้างตะกร้าด้วยน้ำคลอรีน ราคาจำหน่ายมะเขือเทศผลเล็กราคากิโลกรัมละ 200 NTD มะเขือเทศผลใหญ่ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

Yun – Ze Organic Farm

Yun – Ze Organic Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer)
เดิมประกอบอาชีพวิศวกร มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง หันมาทำการเกษตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ปลูกพืชระบบอินทรีย์ในโรงเรือน ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก พืชสมุนไพร และเฉาก๊วย พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 เฮกตาร์

IMG_0826.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืช จำนวน 22 โรงเรือน คนงาน จำนวน 5 คน เงินลงทุนทั้งหมดเป็นของตนเอง ซึ่งในอดีตรัฐบาลยังไม่มีนโยบายในการสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันมีโครงการกระตุ้นให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาทำเกษตรมากขึ้น

ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 NTD ทางฟาร์มมีการทำเกษตรแบผสมผสาน มีการเลี้ยงไก่ ผลผลิตในฟาร์มจะจำหน่ายให้แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และส่งขายตามโรงเรียน

การปลูกพืชผักในโรงเรียน จะมีการหมักดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นจะทำการพลิกกลับหน้าดินและบำรุงดินก่อนการปลูก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองและปุ๋ยที่รัฐบาลรับรอง

ผักออแกนนิก10917_๑๗๑๐๐๙_0012.jpg

การให้น้ำแบบสเปรย์ด้านบน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำมาจากภูเขา โดยมีถังเก็บน้ำอยู่
บนเขาขนาด 20 ตัน น้ำที่ไหลลงมาจะมีความดันประมาณ 2 บาร์ ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งจะพิจารณาจากความชื้นของดิน จะให้น้ำนานครั้งละ 2 – 3 นาที

หน้าโรงเรือนจะมีท่อน้ำเพื่อระบายน้ำที่ค้างท่อออก เนื่องจากน้ำที่ค้างในท่อนั้นจะมีความร้อนไม่สามารถให้น้ำพืชได้ บริเวณหน้าโรงเรือนจะมีแผ่นกระจกสำหรับเขียนรายละเอียดของแต่ละโรงเรือน ด้านบนของหลังคาโรงเรือนจะมีช่องเปิดแนวยาว เพื่อระบายความร้อนภายในโรงเรือน

ทางฟาร์มจะมีการเพาะต้นกล้าและจำหน่ายต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล

หัวใจสำคัญของการปลูกพืชของฟาร์มนี้ คือ ความสมบูรณ์ของดิน ดินที่ดีจะมีปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) ร้อยละ 5 จะส่งผลให้พืชผักมีคุณภาพดี เกษตรกรจะมีการพัฒนาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกพืชผักอินทรีย์

 

สำหรับแรงบันดาลใจในการกันมาทำเกษตรอินทรีย์ คือ ต้องการทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่ดี ต้องการให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีเหมือนเดิม ปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนคือ ปัญหาตะไคร่เกาะรอบโรงเรือนเนื่องจากมีความชื้น และปัญหาดินบริเวณด้านข้างโรงเรือนทรุด

การประชาสัมพันธ์ของทางฟาร์มจะเน้นเรื่อง การทานผักอินทรีย์จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดสารเคมี และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

IMG_0912.JPG

Hiking Farm

Hiking Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ชื่อคุณเฉิน อายุ 26 ปี มีพื้นที่จำนวน 8 เฮกตาร์ ซึ่งมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาของครอบครัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตร โดยเริ่มทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ระหว่างการสร้างที่พัก ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

IMG_0604.JPG

คุณเฉิน มีความสนใจในการทำการเกษตรและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สาเหตุที่เกษตรกรคนนี้มาทำการเกษตรเพราะเขาคิดว่า “ถ้าคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครริเริ่มมาทำการเกษตร ต่อไปประเทศไต้หวันก็จะไม่มีอะไรเหลือ”

การทำการเกษตรทำคนเดียว จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการผลิตและการจัดการที่ดี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ไผ่ มันเทศ

การปลูกไผ่ ปลูกแบบยกร่องสูงเพื่อให้รากลงลึก ถ้ามีรากขยายออกด้านข้างจะตัดออก เพื่อบังคับให้รากหยั่งลงลึก การให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด

สำหรับมันเทศทางฟาร์มจำหน่ายผลผลิตทางอินเตอร์เน็ต ราคากิโลกรัมละ 100 NTD ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีเกษตรกรมาฝากขายผลผลิตแต่ไม่รับฝาก เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพ การนำผลผลิตของคนอื่นมาจำหน่ายในแบรนด์ของตนเองอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสินค้าตนเองในอนาคต

IMG_0634.JPG

ในพื้นที่ของเกษตรกรมีค้างคาวมาอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว ค้างคาวเข้ามากินแมลงเป็นอาหาร ทางฟาร์มจึงใช้ค้างคาวเป็นจุดเด่นของฟาร์ม มีการนำมูลค้างคาวมาใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในฟาร์มมีอายุประมาณ 15 – 20 ปี ค้างคาวจะมีการคลอดลูกปีละครั้ง

IMG_0610.JPG

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ค้างคาวจะอพยพไปที่เมืองPingtung เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวจะอพยพกลับมาที่ฟาร์ม ในอนาคตจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ค้างคาว ให้เด็กนักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามาเรียนรู้

เกษตรกรคนนี้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ไล่ค้างคาว เนื่องจากคิดว่าค้างคาวมาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อน เวลากลางคืนค้างคาวออกไปหาอาหาร เกษตรกรจะเข้ามาเก็บมูลค้างคาว เพื่อจะได้ไม่รบกวนค้างคาวในเวลากลางวัน และเกษตรกรยังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ค้างคาว ในการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมของค้างคาว

IMG_0602.JPG

เกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้เป็นเกษตรกรที่รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ มีการนำจุดเด่นของค้างคาวที่มาอยู่อาศัยในพื้นที่ เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ

 

กลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

Tainan Hsiaying District Farmer’s Association เป็นกลุ่มสหกรณ์ที่ผลิตซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ทางกลุ่มสหกรณ์ได้มีศูนย์นักท่องเที่ยวเพื่อแสดงของดีประจำท้องถิ่น โดยในท้องถิ่นมีของดี จำนวน 3 คือห่าน ถั่วดำ หม่อนเลี้ยงไหม

จุดประสงค์ที่ก่อตั้งศูนย์ท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ภายในศูนย์จะมีการจัดนิทรรศการต่างๆ ของท้องถิ่น แสดงประวัติและสภาพพื้นที่ทั่วไป สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในท้องถิ่น อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเกษตร ผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของยุวเกษตรกร และมีการสาธิตการทำผ้าห่มจากใยไหม ซึ่งศูนย์ท่องเที่ยวนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และเป็นส่งเสริมลูกหลานของเกษตรกรให้เป็นยุวเกษตรกร

วิธีการทำซอสปรุงรสจากถั่วดำ

ใช้ถั่วดำที่ผ่านกระบวนการหมักที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนเย็นในถังให้ตกตะกอน เปิดก้นถังเพื่อเอากากถั่วดำทิ้ง จะเหลือน้ำด้านบนนำมากรองอีกครั้ง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวด ปิดฝา ฆ่าเชื้อ ติดฉลากที่บรรจุภัณฑ์ ซอสปรุงรสจากถั่วจะใช้ในการประกอบอาหารเช่นเดียวกับซอสถั่วเหลือง แต่ซอสถั่วดำจะมีคุณค่าทางอาหารดีกว่าซอสถั่วเหลือง

sweet potato processing

ชื่อบริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เป็นบริษัทที่ผลิตและแปรรูปมันเทศ

IMG_0426.JPG

ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจะเน้นจำหน่ายภายในประเทศร้อยละ 65 – 70 เช่น ตลาด ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ ร้าน Fast food และส่งออกไปยังต่างประเทศร้อยละ 30 -35 เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์

บริษัท Sweet Potato Kua Kua Yuan เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ประเทศไต้หวันมีพันธุ์มันเทศประมาณ 1,400พันธุ์ พันธุ์ที่บริษัทใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก คือ พันธุ์ Tainung 57 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง รสชาติหวาน ปริมาณเนื้อเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ระบบการปลูกมันเทศ จะปลูกพืชแบบหมุนเวียน โดยจะปลูกมันเทศเป็นเวลา 2 ปี และปลูกพืชผัก 1 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรค

IMG_0407.JPG

วิธีการปลูกและดูแลรักษา ขนาดความกว้างของแปลงปลูก 120 เซนติเมตร ใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 3,500 – 4,000 ต้นต่อพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์ ต้นพันธุ์มันเทศที่ใช้จะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร

ระบบน้ำที่ใช้สำหรับการปลูกมันเทศเป็นการปล่อยน้ำเข้าตามร่องทุกๆ 1 – 2 สัปดาห์ หรือพิจารณาตามความเหมาะสม การให้ปุ๋ยจะเน้นปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหวาน มันเทศเป็นพืชที่ต้องการความต่างกันของอุณหภูมิระหว่างเวลากลางวันและเวลากลางคืน จะส่งผลมันเทศให้มีรสชาติที่หวานอร่อย

 

IMG_0413.JPGอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมประมาณ 5 – 6 เดือน ในช่วงฤดูร้อนอายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นลงเหลือ 4.5 เดือน ในช่วงเดือน ตุลาคม – มีนาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวที่มันเทศจะมีรสชาติดีที่สุด สำหรับฤดูหนาวเป็นช่วงที่มันเทศจะให้ผลผลิตสูงที่สุด เกษตรกรจะปลูกมันเทศในช่วงฤดูหนาวคิดเป็นร้อยละ 90 และปลูกมันเทศนอกฤดูร้อยละ 10

มันเทศสามารถเก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ราคาขายผลผลิตสดราคากิโลกรัมละ 30 NTD เมื่อนำไปเผาจะจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 150NTD ราคาส่งออกมันเทศกิโลกรัมละ 200 – 300 NTD

ปัญหาที่พบในการผลิตมันเทศ คือ ปัญหาแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอย การจัดการ คือ ใช้กับดักที่มีสารฟิโลโมนล่อแมลง ในพื้นที่ 0.1 เฮกตาร์จะใช้กับดักแมลงประมาณ 4 – 5 อัน และจะมีการขังน้ำท่วมแปลงปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการปลูกเพื่อกำจัดไส้เดือนฝอย

บริษัทมีพื้นที่ปลูกมันเทศในเมือง Taichung และ Hualien รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1,000 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่ของบริษัทร้อยละ 40 และร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ของเกษตรกรเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท บริษัทมีแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการแปลง ในแอพพลิเคชั่นจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับตารางเวลาการเพาะปลูกของแต่ละแปลง เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ตำแหน่งที่ตั้งแปลง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าไปดูแลและติดตามในแต่ละแปลง

บริษัทมีการแปรรูปผลผลิตและจำหน่ายมีร้านจำหน่ายของตนเองและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ลูกค้าได้ชมแปลงสาธิตการปลูกมันเทศ ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโรงงาน และซื้อสินค้าภายในบริษัทได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทางบริษัทจะมีการแปรรูปมันเทศทั้งเปลือกเพื่อลดการสูญเสียของผลผลิต เพื่อให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสีย (Zero waste)

Facilities for organic vegetable

ที่นี่เป็นฟาร์มของคุณ Lee Fahsien เกษตรกร Young Farmer ทำการเกษตรปลูกผักในโรงเรือนมาเป็นเวลา 6 ปี

IMG_0380.JPG

มีโรงเรือนปลูกพืชผักทั้งหมด 15 โรงเรือน คนงาน จำนวน 2 คน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก 6 – 7 เมตร

คุณ Lee Fahsien เป็นผู้นำการผลิตพืชอินทรีย์ โดยมีแนวความคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำการเกษตร มีการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้ผู้สนใจ เช่น เด็กๆ ในชุมชน นักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน และเกษตรกรที่เริ่มทำการเกษตร

การทำเกษตรอินทรีย์ต้องคำนึงถึงสถานที่ สำหรับฟาร์มที่ศึกษาดูงานนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไต้หวัน พื้นที่ใกล้ทะเล เป็นที่ราบ มีดินที่ดี และมีอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก

IMG_0384.JPG

ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักส่งให้โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักอินทรีย์ ช่วยในการพัฒนา EQ ของเด็กนักเรียน อีกทั้งการปลูกพืชผักอินทรีย์เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดินและน้ำ และรักษาระบบนิเวศทางอ้อมอีกด้วย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเชิญชวนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

สำหรับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ รัฐบาลจะไม่เพียงแต่ตรวจสารตะค้างเท่านั้น แต่จะตรวจทั้งวงจร ตั้งแต่ แหล่งที่มา ตรรกะความคิดของเกษตรกรที่ปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก รวมไปถึงการขนส่งจนไปถึงมือผุ้บริโภค

ตอนแรกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย แต่ได้ไปอบรมจากรัฐบาลมา พวกเทคนิกการปลูกมันไม่สำคัญ เพราะเมื่อมีปัญหาเขาจะมีที่ปรึกษาเสมอ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในบางกรณีจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และรัฐบาลมีโครงการให้เกษตรกรรุ่นเก่าที่ปลูกพืชคล้ายๆกัน มาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นการส่วนตัว

คำว่าอินทรีย์สำหรับเขา ไม่ใช่แค่การงดใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ยังคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบ เช่น ดิน ระบบน้ำด้วย และผู้บริโภคที่ได้ผลิตภัณฑ์จากเขาไปก็จะได้ปลอดภัยจริงๆ

คุณ Lee Fahsien เป็น Young Farmer ปี ค.ศ. 2014 โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเงินค่าโรงเรือนหนึ่งในสามของเงินลงทุนทั้งหมด และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2017  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่กับรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด

สาเหตุที่เกษตรกรบริเวณนี้ปลูกพืชผักในโรงเรือนเพราะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นทุกปี โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชผักมีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 5.5 เมตร โดยความสูงของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ โรงเรือนที่สูงจะระบายอากาศได้ดี แต่ในพื้นที่ที่มีไต้ฝุ่นมากจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้

สิ่งที่สำคัญของการสร้างโรงเรือน คือ การวางตำแหน่งของโรงเรือนต้องให้แสงส่องเสมอกันทั้งโรงเรือน ต้นทุนการสร้างโรงเรือนของประเทศไต้หวันจะคิดตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 1,000 บาท

IMG_0372.JPG

ปัญหาโรคแมลงที่พบ เขาจะไม่เข้าไปกำจัดอะไรมากเพื่อปล่อยให้เป็นระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ถ้าระบาดจริงๆถึงเข้าไปจัดการ เช่นหอยทาก จะใช้กากชาควบคุม และปล่อยกบเข้าไปเพื่อกินแมลงต่างๆ ถ้ารุนแรงมาก จะรีบเก็บผลผลิตเลย
หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะทำการไถพลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และปล่อยน้ำให้ท่วมขัง เพื่อกำจัดแมลงและหนอนให้หมดในดิน จากนั้นจึงตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์
พืชผักที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุสั้น เน้นการส่งจำหน่ายไปที่โรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน
ต้นทุนในการปลูกผักอินทรีย์จะสูงตรงที่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเก็บวัขพืชเยอะ

การส่งผักจำหน่ายให้โรงเรียนทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอน สามารถวางแผนปริมาณการผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

ราคาจำหน่ายให้โรงเรียนประมาณกิโลกรัมละ 50 NTD และตลาดอื่นๆ ราคากิโลกรัมละ 100 NTD

IMG_0370.JPG

คุณ Lee Fahsien ได้กล่าวว่า

“คนทั่วไปอาจไม่ยอมรับและไม่เชื่อในคุณภาพของพืชผักอินทรีย์ ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นเกษตรกรที่ผลิตพืชอินทรีย์เขาจะพยายามอธิบายและเปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาชมฟาร์ม เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ผู้บริโภคจะได้มีความเชื่อใจเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทำการเกษตรโดยไม่หวังกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้ทำการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และทำเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป”

สวนไม้ตัดใบ

Cut leaves garden เป็นกลุ่มรวบรวมไม้ตัดใบ มีสมาชิกจำนวน 300 คน โดยรัฐบาลได้จัดหาพื้นที่และสนับสนุนโรงเรือนในการรวบรวมไม้ตัดใบ และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มสมาชิกเกษตรผู้ผลิตไม้ตัดใบ

IMG_0328.JPG

ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 20 ปี มูลค่าการจำหน่ายไม้ตัดใบต่อปีประมาณ 10,000,000 NTD

ทางกลุ่มเกษตรกรจะเน้นตลาดภายในประเทศร้อยละ 80 และตลาดส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นร้อยละ 20

สาเหตุที่เน้นจำหน่ายภายในประเทศ เนื่องจากตลาดในประเทศมีความมั่นคง แน่นอน ส่วนการส่งออกไปยังต่างประเทศจะได้ราคาจะสูงกว่าจำหน่ายภายในประเทศ 1 – 2 เท่า ทั้งนี้การส่งออกไปยังต่างประเทศจะเพิ่มต้นทุนเรื่องค่าขนส่ง การส่งออกนั้นจะช่วยดึงราคาไม้ตัดใบภายในประเทศไม่ให้มีราคาตกต่ำ

ทางกลุ่มเกษตรกรจะมีการหักเงินค่าบริหารจัดการร้อยละ 2.50 เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในกลุ่ม

ประเภทของไม้ตัดใบที่ทางกลุ่มเกษตรกรผลิตมีทั้งหมด 20 ประเภท โดยไม้ตัดใบที่สำคัญ คือ หมากเหลือง กวนอิม

IMG_0330

การจัดการไม้ตัดใบหลังการเก็บเกี่ยว ขนส่งไม้ตัดใบจากแปลงเกษตรกรมายังจุดรวบรวมโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำคลุมไม้ตัดใบ เมื่อถึงจุดคัดแยกนำไม้ตัดใบมาแช่น้ำเป็นเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นคัดขนาดตามความยาวของใบและคัดใบที่มีตำหนิหรือเสียออก ตัดก้านเพื่อให้สั้นลงและล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง

IMG_0332

จากนั้นจึงตรวจสอบโรคแมลงและตำหนิด้วยสายตา หากมีตำหนิหรือมีโรคแมลงจะไม่สามารถส่งออกต่างประเทศได้จะจำหน่ายภายในประเทศ หลังจากตรวจสอบไม้ตัดใบอย่างละเอียดแล้วนำใบจุ่มในกรด มัดเป็นกำด้วยยางวงโดยใช้สีของยางวงเป็นตัวจำแนกขนาด (Color Management)

927organicFarm_๑๗๑๐๐๙_0034

และนำไม้ตัดใบเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิประมาณ 12 – 17 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 1 สัปดาห์ คลุมด้วยผ้าเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นออกจากใบ เพื่อรอการขนส่งไปจำหน่ายต่อไป

IMG_0326

 

ที่มา รายงานการฝึกอบรม On the Job Training

Organic vegetable garden เจียงเชียง

Organic vegetable garden บริษัทเจียงเชียง มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5 เฮกตาร์
พืชที่ปลูก คือ ผักกาดหอม ปลูกในโรงเรือนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

IMG_0310

IMG_0311

ที่นี่มีเครื่องจักรในการเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม เครื่องเพาะเมล็ดจะทำการเจาะหลุมลึก 0.5 เซนติเมตร และใช้ระบบลมดูดเมล็ดขึ้นมาหยอดลงหลุม เครื่องเพาะกล้าราคา 600,000 NTD วัสดุปลูกที่ใช้เป็น peat moss อัตราการงอกของเมล็ด 98 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน จะใช้ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อโรงเรือน (โรงเรือนขนาด 700 ตารางเมตร) คลุมดินด้วยผ้ากำมะหยี่

การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 14 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากย้ายปลูก 21 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการพักแปลงเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยเป็ดไก่เพื่อเข้าไปกินแมลงในแปลงปลูก

การตลาด ผลผลิตในแปลงจะส่งไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม จำนวน 130 โรงเรียน ในเมือง Pingtung โดยจะมีรถโรงเรียนมารับผลผลิตสัปดาห์ละครั้ง ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 50 NTD ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมโครงการกับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย รัฐบาลยังสนับสนุนเงิน 80,000 NTD ในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 20 ตัน