การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Agricultural Engineering Division: TARI

Agricultural Engineering Division ของศูนย์วิจัย TARI เป็นที่วิจัยเรื่อง Plant Factory

ที่นี่กำลังวิจัยอะไรหลายๆอย่างให้เราดูกัน เช่น..
1. การทดสอบความแตกต่างระหว่างการใช้แสง LED และ Fluorescence ในการปลูกพืชระบบ Plant Factory พบว่าประสิทธิภาพของแสงทั้ง 2 ชนิด ไม่แตกต่างกันเนื่องจากมีต้นทุนและพลังงานที่ใช้ใกล้เคียงกัน แต่ LED จะดีกว่าตรงที่สามารถปรับความเข้มแสง และสีของแสงให้เหมาะสมกับชนิดพืชได้

IMG_7686

IMG_7693

 

2. ทางสถานีวิจัยได้ทดลองทำ Plant Factory ระบบรางเลื่อน โดยใช้กล้าพืชที่อายุ 14 วัน ย้ายปลูกในบนชั้น ระหว่างที่ต้นกล้าค่อยๆเติบโต รางก็จะค่อยๆเลื่อนไปจนถึงจุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี มีระบบไฮโดรลิคยกถาดออกมาด้านนอก สำหรับนำไปบรรจุใส่ถุงต่อได้
มีตัววัดค่า EC และ pH เสียบอยู่ที่ถาดปลูกเพื่อส่งข้อมูลไปประมวลที่คอมพิวเตอร์ และ pH ผักที่ปลูกจาก Plant Factory นี้สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องล้าง

DCIM101GOPROGOPR7111.

IMG_7695

3. ทดลอง Plant factory ในรูปแบบตู้กระจก Show Case สำหรับติดตั้งในร้านอาหาร เพื่อแสดงวิธีการปลูกพืชผักระบบนี้ให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลผลิต

DCIM101GOPROGOPR7107.

4. Mini Garden เป็นชุดปลูกพืชผักระบบ Plant factory 3ชั้น มีขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อยเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ถังน้ำและปุ๋ยตั้งอยู่ด้านล่าง โดยมีปั๊มส่งน้ำขึ้นไปข้างบน และไหลลงมาสู่ชั้นล่างๆ

ชุดปลูกสำหรับปลูกในบ้าน

Mini Garden

Plant Factory ในบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ CAL – COMP

CAL – COMPเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณต่างๆ (มีโรงงานในประเทศไทยอยู่หลายสาขาด้วย)
และได้มีธุรกิจย่อย ผลิตพืชผักระบบ Plant factory ภายในออฟฟิศบริษัทเอง และตึกเก่าของโรงงาน

ผลผลิตพืชผัก ของบริษัทจะส่งจำหน่ายโรงแรมและซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมืองไทเป

IMG_7362

ห้องปลูกผักใช้ระบบ Electronic production line คือชั้นปลูกผักที่จะเลื่อนถาดปลูกจากริมด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า โดยจะนำต้นกล้ามาปลูกที่ด้านนึง แล้วค่อยๆเลื่อนไปอีกฝั่งของชั้นเมื่อผักเริ่มโตขึ้น และจะถึงเวลาเก็บเกี่ยวพอดีเมื่อผักเลื่อนไปจนสุดอีกด้าน

IMG_7367

ที่นี่ผลิตผัก 11 ชนิด โดยจะเน้นที่ผักกินใบ เพราะต้นเตี้ยสามารถปลูกบนชั้นหลายๆชั้นได้ และไม่ต้องผสมเกสร

ได้ผลผลิตประมาณ 1000ต้นต่อวัน ส่งขายไปยังโรงแรมห้าดาว, Premium supermarket และบางส่วนขายออนไลน์
วิธีปลูกแบบนี้จะทำให้ปลูกได้ตลอดปี สภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ไม่มีผลต่อการผลิตใดๆ แต่มีปัญหาอย่างเดียวที่พบคือเมื่อไฟฟ้าดับ เพราะฟังก์ชั่นกรทำงานของระบบ Plant Factory ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งการควบคุมอากาศ แสง ระบบน้ำ ถ้าไฟดับเป็นระยะเวลานาน ผักจะเสียหาย ไม่แข็งแรง หยุดเจริญเติบโต

ราคาขายของที่นี่จะสูงกว่าผักที่ปลูกด้วยระบบ Plant Factoryอื่นๆ 3 เท่า เพราะควบคุมเชื้อโรคอย่างดี ผักสะอาดจนสามารถทนได้ทันที ไม่ต้องล้าง แม้ราคาจะสูงแต่ก็นับว่าคุ้มค่า เพราะ

  1. เมื่อซื้อไปแล้ว สามารถทานได้หมดเลยทุกส่วน ไม่มีใบที่เน่าเสีย
  2. ไม่มีแบคทีเรียอยู่ที่ผัก ทำให้ไม่เน่าเสียเร็ว ช่วยให้เก็บได้ยาวนานกว่าผักทั่วไป
  3. ลดขั้นตอนในการทำอาหารและแรงงานในการล้าง หรือเด็ดใบเสียทิ้ง เช่น พ่อครัวของโรงแรมห้าดาวต่างๆ สามารถแกะผักออกจากห่อแล้วนำไปประกอบอาหาร หรือประดับจานได้ทันที

สุดท้าย เขาอธิบายว่ามีหลายๆบริษัทพยายามมาศึกษาระบบการปลูกของที่นี่
แต่ที่จริงแล้วความยากไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่การขายอย่างไรต่างหากที่ยากกว่า

 

Successful business model of annual production in greenhouse

โดย Dennis Wang จากหน่วยงานTainan District Agricultural Research and Extension Station, COA

นำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในโรงเรือน ซึ่งรูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในช่วงฤดูร้อนจะปลูกพืชผัก และฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก ซึ่งในฤดูร้อนปลูกพืชผักเพราะเป็นพืชอายุสั้น ราคาสูง จะได้กำไร เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ในฤดูหนาวจะปลูกไม้ตัดดอก เช่น เบญจมาศ (Spray mums) Eustoma และมีการปลูกข้าว ข้าวโพด หรือพืชปุ๋ยสด ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว

IMG_7451

การปลูกมะเขือเทศนั้นจะเจริญเติบโตได้ดีในเดือนมีนาคม แต่ถ้าปลูกในช่วงเดือนเมษายนจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากผลผลิตขาดตลาด ราคาสูง สำหรับไม้ตัดดอกส่วนใหญ่จะส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

การปลูกพืชหมุนเวียนระบบนี้ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าปกติ และสามารถป้องกันการเกิดโรคพืชได้

1

ภาพที่ 11  รูปแบบการปลูกพืชหมุนเวียนในฤดูร้อนและฤดูหนาวของประเทศไต้หวัน

การให้น้ำผ่านท่อน้ำซึม Leaky-Pipe

โดย AgriGaia Social Enterprise ได้บรรยายเกี่ยวกับการให้น้ำพืชใต้ดิน (Bionic underground) ผ่านท่อน้ำซึมฝังดินที่บริษัทคิดค้นขึ้นมาโดยมุ่งไปที่การปลูกพืชอินทรีย์ น้ำที่ให้ผ่านท่อนี้จะค่อยๆซึมออกมาให้พืชดูดไปใช้ โดยประโยชน์ของการให้น้ำจากใต้ดิน จะทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชเจริญเติบโตได้ดี ลดการระเหยของน้ำ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหารพืชจากทางรากพืช ช่วยในการตรึงคาร์บอน พืชมีการดูดซึมน้ำจากรากโดยตรง

AgriGaia

ข้อดีของการให้น้ำระบบนี้คือ
ไม่แพง ประหยัดเวลาและแรงงานในการให้น้ำ ใช้ได้กับพืชหลายชนิด โดยให้น้ำร่วมกับธาตุอาหารพืชทุกวัน เป็นเวลา 3 นาทีต่อวัน เป็นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดินได้รับน้ำทั่วถึงทั้งที่ลึกและตื้น ผิวดินไม่ชื้นเกินไป ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช และนำไปใช้ช่วยในการปรับปรุงดินได้ด้วย โดยสารปนเปือนต่างๆ เช่น เกลือ ที่อยู่ในดิน จะค่อยๆระเหยขึ้นมาที่ผิวเพื่อให้เรากำจัดออกได้
ท่อน้ำซึมจะวางตัวเป็นครึ่งวงกลมโค้งตั้ง การวางแบบนี้ทำให้การกระจายตัวของน้ำดี

IMG_7230

Reference:  รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Organic farmer and system builder” ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

Mushroom industry of Taiwan and promotion in SEA

โดย Yunsheng Lu เจ้าหน้าที่จาก Taiwan Agricultural Research Institute Plant Pathology Division, Mushroom research Laboratory ได้บรรยายถึงอุตสาหกรรมการผลิตเห็ดในประเทศไต้หวันว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งในอดีตประเทศที่ผลิตเห็ดมากที่สุดคือประเทศจีน ปัจจุบันการผลิตเห็ดแพร่หลายมากขึ้นผลผลิตของประเทศทั่วโลกยกเว้นประเทศจีน สูงประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี เนเธอร์แลนด์ฝรั่งเศส เวียดนาม ไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ วิวัฒนาการด้านการผลิตเห็ดของประเทศไต้หวันได้เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ในปี ค.ศ. 1950 เริ่มมีการผลิตเห็ดฟาง (white button mushroom) ในปี ค.ศ. 1969 เริ่มมีการส่งออกเห็ดไปยังต่างประเทศ ปี ค.ศ.1972 ผลิตเห็ดฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1974 ผลิตเห็ดชิตาเกะ (shitake) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 จนถึงปัจจุบันนิยมผลิตเห็ดนางรมหลวง (King oyster mushroom) และในปี ค.ศ. 2000 เริ่มนิยมผลิตเห็ดที่มีสรรพคุณเป็นยามากขึ้น (Medicinal mushroom)

ปัจจุบันประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่มีการส่งออกเห็ดไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง จีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ปริมาณการส่งออกประมาณ 750,000 กิโลกรัมต่อปี และมูลค่าการส่งออกมากกว่า 57 ล้าน NTD

ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ดในประเทศไต้หวัน

mushroon

Reference:  รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Mushroom industry of Taiwan and promotion in SEA” ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

Plant Factory

DCIM101GOPROGOPR6879.

 

Plant factory industry of Taiwan โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director การปลูกพืชในโรงเรือน หรือ Net house ใช้พื้นที่เยอะ และใช้แสงพระอาทิตย์ แต่สำหรับ Plant factory เป็นการปลูกพืชโดยใช้พื้นที่น้อย และคุ้มค่า สามารถใช้อาคารร้างหรือตึกร้างเป็นสถานที่ปลูกพืชได้ พืชที่ปลูกได้ในระบบ Plant factory คือ พืชที่อายุสั้นและมีราคาสูง เช่น ผักสลัด ผักใบ เห็ด กล้วยไม้ พืชที่ไม่เหมาะกับการปลูกระบบ Plant factory ได้แก่ พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวสาลี เพราะใช้เวลานานและพื้นใช้ที่เยอะ

งานนำเสนอ1

เขาบอกว่าผัก มีมูลค่าสูงเพราะสามารถกินได้ทั้งต้น ยกเว้นราก แต่ข้าวกินได้แค่เมล็ดๆ เทียบอัตราส่วนส่วนที่กินได้กับพื้นที่ที่เสียไปในการปลูกแล้ว ผักจะคุ้มกว่าที่จะปลูกใน Plant Factory

ในประเทศไต้หวัน การปลูกพืชระบบ Plant factory สามารถปลูกได้ตลอดปี ลดปัญหาการนำเข้าในช่วงที่มีไต้ฝุ่น หรือสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสมได้ การปลูกระบบ Plant factory มีทั้งแบบใช้แสงไฟ LED ซึ่งอยู่ในระบบปิด ไม่สนใจอากาศ สภาพแวดล้อมเสถียรกว่า เหมาะกับผักและการเพาะต้นกล้า และการใช้แสงแดดธรรมชาติ เหมาะกับพืชที่ต้องการแดดมากๆ หรือต้นกล้าที่โตแล้วสามารถย้ายมาเจอแดดธรรมชาติได้

Plant Factory เป็นการปลูกแบบไฮโดรโปนิก(ไม่ใช้ดิน)ที่สามารถควบคุมความเข้มข้นของธาตุอาหารที่จำเป็นได้อย่างสม่ำเสมอ และไม่มีเชื้อโรคใดๆมาขัดขวางการเจริญเติบโต

แต่ระบบไฮโดรโปนิกนั้นก็มีหลายแบบ เหมาะกับความต้องการที่แตกต่าง และเหมาะกับพืชที่ต่างกันไป จึงต้องเลือกให้เหมาะสม  และยังมีระบบ sensor ในการควบคุม ความชื้น น้ำ แสง และคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถควบคุมปริมาณผลผลิต คุณภาพน้ำ และช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างแม่นยำ หลักการทำงานของระบบ Plant factory คือ 3C ได้แก่ Clean Cool Clear

น้ำที่พืชคายออกมา สามารถนำกลับใช้ใหม่ได้ด้วยเพราะในระบบPlant Factory มีเครื่องปรับอากาศ สามารถกรองน้ำจากความชื้นในอากาศในห้องกลับมาฆ่าเชื้อแล้วใช้ใหม่ได้ เป็นการลดของเสีย

ในไต้หวันมีผู้ผลิตอุปกรณ์ เครื่องคือ วัสดุต่างๆที่ใช้ทำ Plant Factory มากมายหลายเจ้า จึงไม่ยากเลยที่จะทำ และกำลังจะโปรโมทให้นำระบบ Plant Factory ไปใช้ในครัวเรือน สิ่งสำคัญคือการควบคุมความสะอาดปราศจากเชื้อโรค ถึงแม้ปุ๋ยที่ใช้จะราคาสูงกกว่าการปลูกพืชปกติ แต่ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ามาก

พื้นที่ที่ใช้ก็คุ้มกว่า ประหยัดพื้นที่กว่าแปลงเปิดที่ปลูกได้ชั้นเดียว Plant factory ปลูกได้หลายชั้น สามารถใช้พื้นที่รกร้างในไต้หวันที่ใดก็ได้มาแปลงเป็นที่ปลูกก็ได้ ตึกร้างที่ไม่ใช้แล้วก็ใช้ได้ เดี๋ยววันหลังๆเราจะได้ไปดูของจริง

แต่ก็ไม่อยากให้คนเข้าใจว่า Plant Factory จะมาทดแทนวิธีการปลูกแบบดั้งเดิม จุดประสงค์ของมันเพื่อลดการนำเข้าพืชผักที่ปลูกบางฤดูไม่ได้ ประชากรสามารถมีผักในประเทศกินเพียงพอตลอดปี ไม่ต้องนำเข้าเยอะ เพราะฉะนั้นการปลูกแบบดั้งเดิมก็ยังคงจำเป็นอยู่

ย้อนไปถึงความเป็นมาของมัน ญี่ปุ่นใช้ Plant Factory มานานแล้วตั้งแต่หลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แล้วใน NASA ก็คิดว่านักบินอวกาศที่ต้องไปอยู่ในอวกาศนานกว่า 4 ปี เหมาะที่จะหัดปลูกผักกินบนยานอวกาศ มีแหล่งอาหารบนนั้นเลย แถมการปลูกพืชยังช่วยฟอกอากาศได้ด้วย มีประโยชน์มากมาย

ชมVDO >> Plant factory industry of Taiwan

Reference:  รูปภาพและวิดีโอจากเอกสารประกอบการอบรม ” Plant factory industry of Taiwan” โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

Floral Industry of Taiwan

การบรรยายเรื่อง Floral industry of Taiwan โดย Ting En จาก Floriculture Research Center (FRC) Taiwan Agricultural Research Institute ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ Council of Agriculture, Executive Yuan ได้นำเสนอว่า Floriculture Research Center เป็นศูนย์วิจัยที่มีภารกิจในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ มีการใช้โรงเรือนสำหรับการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ประมาณ 10,000 ตารางเมตรพืชหลักที่สำคัญ มี 4 พืช คือ

  1. Cut Flowers, Cut leaves ไม้ตัดดอกและไม้ใบ เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ ลิลลี่ ซ่อนกลิ่นฝรั่ง (gladiolus)

ไม้ตัดดอกตัดใบ มักเอาไปประดับในพิธีกรรมทางศาสนา และตามวัด ทำช่อดอกไม้

  1. Pot plant, Foliage Ornament ต้นไม้กระถาง เช่น เฟิร์น, lucky bamboo, cattleya
  2. Ornamental tree ต้นไม้ใหญ่ไม้ยืนต้นสำหรับประดับสวน เป็นชนิดที่มีมากที่สุด สร้างเป็นที่พักผ่อน ทำกิจกรรมกรีนๆ
  3. Bedding Plant เช่น หญ้าสนาม คอสมอส ทานตะวัน ใช้ในสวน ที่สาธารณะ ตกแต่งพื้น บางทีก็เอาไปประดับกำแพงตึก เป็นสวนแนวตั้ง หรือทำเป็นรั้ว

 

Reference: รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ” Floral Industry of Taiwan” โดย Ting En จาก Floriculture Research Center (FRC) ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

งานนำเสนอ1

สำหรับอุตสาหกรรมไม้ดอกของไต้หวัน ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ประมาณ 590 ล้าน NTD ต่อปี มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ จำนวน 86 ประเทศ

ไม้ดอกเป็นไม้ที่เพิ่มมูลค่าได้มากที่สุด
และดอกที่มูลค่ามากที่สุดคือกล้วยไม้ ถูกเรียกว่าเป็น “Money Plant, but not easy money”
ก็คือไม่ได้ปลูกกันง่ายๆ ไม่ได้เงินมาง่ายๆ

Story of Greenhouse

การบรรยายเรื่อง Story of Greenhouse โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director

ภาพนิ่ง23

โรงเรือนปลูกพืช (Greenhouse) มี  2 แบบ คือ

  • Net house คือ โรงเรือนแบบมุ้งตาข่าย กันแมลง ลดความรุนแรงของลมและฝน ทางเข้าโรงสำคัญมากห้ามให้แมลงหลุดรอดเข้าไปได้เด็ดขาด บางทีใช้ๆไปนานวันเข้าแมลงอาจะมากขึ้นได้เพราะเมื่อเข้ามาแล้วก็ออกไม่ได้ ในโรงก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ก็อยู่สร้างลูกหลานต่อไปในนั้นเลย

ภาพนิ่ง59

สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ขนาดของรูตาข่าย ต้องเล็กพอที่จะกันแมลงศัตรูพืชเราได้ และไม่เล็กเกินไปจนทำให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไปสำหรับพืชที่ปลูก ประตูก็ควรเป็น Double door กันแมลงบินตามคนเข้าไปได้ดีกว่า

  • Greenhouse ทำจากพลาสติกหรือกระจก มีคุณสมบัติที่ Net houseมีทั้งหมด แต่มีดีกว่านั้นตรงที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้เกือบทุกสิ่ง ร้อนไปเย็นไปก็ปรับได้ กันลม กันแมลง กันฝน กันความร้อนจากแสงแดด เก็บรักษาพลังงานและน้ำได้ดี

พืชที่นิยมปลูกในโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นพืชที่อายุมากกว่า 1-2 เดือน และมูลค่าสูง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา เมล่อน มะเขือยาว พริกหวาน กล้วยไม้ เบญจมาศ เป็นต้น

ปัจจุบันโรงเรือนมีความสำคัญต่อการทำการเกษตรค่อนข้างมาก และใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศสเปน สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ทั้งนี้ การปลูกพืชในโรงเรือนถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง สิ่งที่ต้องคำนึงในการสร้างโรงเรือน คือ ความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ และชนิดพืชที่ปลูก รูปร่างโรงเรือนก็มีหลายทรง ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศนั้นๆ

และแม้กระทั่งแนวการปลูกพืชก็ต้องเอื้อกับทิศทางลมในโรงเรือนด้วย เพื่อให้ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง

ภาพนิ่ง43

มีการเอาหลักฐาน Annual Production/unit มาให้ดูเปรียบเทียบกันระหว่างโรงพลาสติกธรรมดากับโรงเรือนกระจก ว่าโรงเรือนกระจกที่ควบคุมสิ่งแวดรอบได้มากกว่านั้นจะเพิ่มผลผลิตได้ยังไง

และอย่างมะเขือเทศ ปกติในไต้หวันจะไม่สามารถปลูกได้ทั้งปี แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนก็จะปลูกได้ตลอด

ภาพนิ่ง7

Reference: รูปภาพจากเอกสารประกอบการอบรม ”Story of Greenhouse” โดย Wei Fang, Ph.D., Professor, Director ในงาน 2017 International Training Course of Value – Added Controlled Environment  Agriculture, Taipei, Taiwan

การผลิตฝรั่ง โดยกลุ่มเกษตรเมืองเกาชุง

การศึกษาดูงานเรื่องการผลิตฝรั่ง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่เมืองเกาชุง (Kaohsiung) สมาชิกกลุ่มเกษตรผู้ปลูกฝรั่งจำนวน 76 ราย พื้นที่ปลูก 66 เฮกตาร์ (412.50 ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,200 ตันต่อปี มูลค่าต่อปีประมาณ 45,000,000 NTD รายได้เฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรต่อรายประมาณ 600,000 NTD

IMG_7889

โดยทางกลุ่มเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ทุก 3 เดือน จากเจ้าหน้าที่ของ TARI และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะ และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของเกษตรกร

มีการแปรรูปผลผลิตฝรั่งเป็นฝรั่งอบแห้ง เบเกอรี่จากฝรั่ง น้ำฝรั่ง ฯลฯ ผลผลิตของทางกลุ่มเกษตรกรจะส่งไปจำหน่ายที่เมืองไทเป (Taipei) ราคาจำหน่ายประมาณ 50-70 NTD ผลผลิตฝรั่งของกลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพดี และมีความหวานมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (% Brix) เนื่องจากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม ดินมีความสมบูรณ์ ระบายน้ำและอากาศดี

IMG_7777

พันธุ์ฝรั่งที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง (Pearl Guava) 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีเมล็ด และพันธุ์ที่ไร้เมล็ด ระยะปลูก ความยาวระหว่างต้น 250 เซนติเมตร ความยาวระหว่างแถว 300 เซนติเมตร

ระบบน้ำที่ใช้ภายในแปลงเป็นระบบน้ำหยด การจัดการของกลุ่มเกษตรกรจะมีห่อผล 2 ชั้น ด้วยโฟมกัน กระแทก และพลาสติกใสเจาะรู จะห่อผลเมื่อผลมีขนาดตั้งแต่ 1 – 2 นิ้ว หลังจากห่อผล 3 เดือน จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ สาเหตุที่มีการห่อผลฝรั่งเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ การห่อผลจะใช้แรงงานคนในการห่อผลทั้งหมด แรงงาน 1 คน สามารถห่อผลฝรั่งได้ประมาณ 2,000 ผลต่อวัน

IMG_7784IMG_7789IMG_7787

รวมระยะเวลาตั้งแต่ระยะติดตาดอกจนถึงระยะเก็บเกี่ยวประมาณ 2 เดือน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะยาวนานกว่าฤดูร้อนประมาณ 3 เดือน

การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง อัตรา 6 – 7 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับการให้ปุ๋ยโดยจะขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในระยะรอบทรงพุ่ม หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง

ฝรั่ง 90917_๑๗๑๐๐๙_0024ฝรั่ง 90917_๑๗๑๐๐๙_0052

ผลผลิตทั้งหมดจะขนส่งไปยังโรงคัดบรรจุของกลุ่มเกษตรกร โดยจะมีการคัดเกรดผลผลิตโดยใช้แรงงานคน ในการเลือกผลที่เสียหรือมีตำหนิออก ผลที่มีคุณภาพจะถูกส่งไปที่รางเลื่อนเพื่อคัดเกรดผลผลิตตามน้ำหนัก โดยแบ่งออกเป็น 6 เกรด ตามน้ำหนัก ดังนี้

  • เกรด 1 น้ำหนักไม่น้อยกว่า 450 กรัม
  • เกรด 2 น้ำหนัก 400 – 450 กรัม
  • เกรด 3 น้ำหนัก 350 – 400 กรัม
  • เกรด 4 น้ำหนัก 300 – 350 กรัม
  • เกรด 5 น้ำหนัก 250 – 300 กรัม
  • เกรด 6 ขนาดน้อยกว่า 200 กรัม

IMG_7780IMG_7782

หลังจากคัดเกรดผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วบรรจุใส่กล่อง ขนาด 12 กิโลกรัม (เกรด 1) และขนาด 20 กิโลกรัม (เกรด 2 – 6) พร้อมราดน้ำเปล่าประมาณ 0.5 ลิตรลงไปในกล่องก่อนปิดฝากล่อง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง เนื่องจากผลผลิตทั้งหมดจะขนส่งโดยรถบรรทุกไปยังเมืองไทเป รายละเอียดข้างกล่องจะระบุเกรดของฝรั่ง เครื่องหมาย QR code และบาร์โค้ดแสดงข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิต ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลิตให้แก่ผู้บริโภคในการตรวจสอบย้อนกลับได้

IMG_7793IMG_7786

Reference: รายงานการฝึกอบรม On the Job Training.pdf