การควบคุมราแป้งด้วยวิธีที่ปลอดภัย

เมล่อน เป็นพืชที่มีโรคเยอะมาก เจอทีไรก็ปวดหัวทันที

อย่างเช่น “ราแป้ง” ที่เจอทุกครั้งทุกรอบ

วิธีแก้ไขยอดฮิตคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพิษ แค่พ่นก็อันตรายต่อชาวสวนแล้ว

การดูแลเมล่อนที่ฟาร์มของเรา จะใช้วิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก ผู้บริโภค และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เราจะไม่ใช่สารเคมีเป็นพิษเด็ดขาด เพื่อยึดมั่นความตั้งใจเดิมคือ

“ใส่ใจ ไม่ใส่ยา”

Hiking Farm

Hiking Farm เป็นฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ชื่อคุณเฉิน อายุ 26 ปี มีพื้นที่จำนวน 8 เฮกตาร์ ซึ่งมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาของครอบครัวเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตร โดยเริ่มทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ระหว่างการสร้างที่พัก ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

IMG_0604.JPG

คุณเฉิน มีความสนใจในการทำการเกษตรและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สาเหตุที่เกษตรกรคนนี้มาทำการเกษตรเพราะเขาคิดว่า “ถ้าคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครริเริ่มมาทำการเกษตร ต่อไปประเทศไต้หวันก็จะไม่มีอะไรเหลือ”

การทำการเกษตรทำคนเดียว จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการผลิตและการจัดการที่ดี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ไผ่ มันเทศ

การปลูกไผ่ ปลูกแบบยกร่องสูงเพื่อให้รากลงลึก ถ้ามีรากขยายออกด้านข้างจะตัดออก เพื่อบังคับให้รากหยั่งลงลึก การให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด

สำหรับมันเทศทางฟาร์มจำหน่ายผลผลิตทางอินเตอร์เน็ต ราคากิโลกรัมละ 100 NTD ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และมีเกษตรกรมาฝากขายผลผลิตแต่ไม่รับฝาก เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพ การนำผลผลิตของคนอื่นมาจำหน่ายในแบรนด์ของตนเองอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสินค้าตนเองในอนาคต

IMG_0634.JPG

ในพื้นที่ของเกษตรกรมีค้างคาวมาอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว ค้างคาวเข้ามากินแมลงเป็นอาหาร ทางฟาร์มจึงใช้ค้างคาวเป็นจุดเด่นของฟาร์ม มีการนำมูลค้างคาวมาใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในฟาร์มมีอายุประมาณ 15 – 20 ปี ค้างคาวจะมีการคลอดลูกปีละครั้ง

IMG_0610.JPG

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ค้างคาวจะอพยพไปที่เมืองPingtung เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวจะอพยพกลับมาที่ฟาร์ม ในอนาคตจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ค้างคาว ให้เด็กนักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามาเรียนรู้

เกษตรกรคนนี้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ไล่ค้างคาว เนื่องจากคิดว่าค้างคาวมาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อน เวลากลางคืนค้างคาวออกไปหาอาหาร เกษตรกรจะเข้ามาเก็บมูลค้างคาว เพื่อจะได้ไม่รบกวนค้างคาวในเวลากลางวัน และเกษตรกรยังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ค้างคาว ในการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมของค้างคาว

IMG_0602.JPG

เกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้เป็นเกษตรกรที่รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ มีการนำจุดเด่นของค้างคาวที่มาอยู่อาศัยในพื้นที่ เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ